จรวด Delta 4-Heavy ส่งดาวเทียมลับของสหรัฐฯ ขึ้นสู่อวกาศ

Loading

  ความสำเร็จของจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) ในครั้งนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการทำภารกิจของจรวดรุ่นนี้   วันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา บริษัท ยูแอลเอ (ULA) หรือยูไนเต็ด ลัน อลิอันซ์ (United Launch Alliance) ประสบความสำเร็จส่งจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) พร้อมดาวเทียมสอดแนมของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จากบริเวณฐานปล่อยจรวดฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย ชายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา   ข้อมูลรายละเอียดของดาวเทียมสอดแนมดวงใหม่นี้ถูกเก็บเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนมากนัก นักวิเคราะห์เชื่อว่าอาจเป็นภารกิจ NROL-91 เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวเทียม KH-11 มีลักษณะเป็นดาวเทียมกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่หันกลับมายังโลกสามารถตรวจจับเฝ้าระวังไฟฟ้าแบบออปติคัลความละเอียดสูงจากระดับวงโคจรของโลก   ความสำเร็จของจรวดเดลต้า โฟร์ เฮฟวี (Delta 4-Heavy) ในครั้งนี้ถือเป็นช่วงท้าย ๆ ของการทำภารกิจของจรวดรุ่นนี้ เนื่องจากเป็นจรวด 3 ลำสุดท้ายของบริษัท ยูแอลเอ (ULA) โดยจรวดอีก 2 ลำ…

รัสเซียโรงงานสร้างเลเซอร์ ใช้ทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียม

Loading

“รัสเซียสร้างโรงงานเลเซอร์ชื่อ “คาลินา” ใช้ส่งลำแสงเลเซอร์พลังงานสูงไปยังดาวเทียมสอดแนม เพื่อทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียมนั้น ๆ” จากรายงานของเดอะ สเปซ รีวิว (The Space Review) เผยว่า รัสเซียกำลังสร้างโรงงานที่มีชื่อว่าคาลินา (Kalina) อันเป็นโรงงานเลเซอร์ภาคพื้นดิน เพื่อรบกวนการทำงานของดาวเทียมในวงโคจร โดยเป็นแนวคิดพื้นฐานในการรบกวนเซ็นเซอร์ออปติคัลของดาวเทียมสอดแนมของประเทศอื่น ๆ ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ส่อง ซึ่งหากรัฐบาลรัสเซียสามารถสร้างเลเซอร์ได้สำเร็จ ก็จะสามารถป้องกันประเทศส่วนใหญ่จากมุมมองการมองเห็นของดาวเทียมด้วยเซ็นเซอร์ออปติคัลได้ แต่ทั้งนี้ การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จำเป็นต้องส่งแสงเลเซอร์ในปริมาณที่เพียงพอไปยังเซ็นเซอร์ดาวเทียมอย่างแม่นยำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เมื่อพิจารณาจากระยะทางที่ไกลมาก และความจริงที่ว่าลำแสงเลเซอร์ต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกก่อน โดยคาลินาสามารถผลิตเลเซอร์ชนิดพัลซิ่ง (Pulsed laser) ได้ที่ 1,000 จูลต่อตารางเซนติเมตร นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยอีกว่า คาลินาสามารถกำหนดเป้าหมายดาวเทียมเหนือศีรษะได้เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ ซึ่งจะสามารถป้องกันการมองเห็นพื้นที่ขนาดใหญ่ได้มากประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับรัฐเคนตักกี้ ในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว ไม่เพียงแต่ความสามารถในการทำให้ดาวเทียมสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว เซนเซอร์ที่มีระดับพลังงานสูง อาจนำไปสู่การทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนดาวเทียมเสียหายถาวร อย่างไรก็ตามในขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีเลเซอร์กำลังมุ่งไปในทิศทางนั้น มีการพิจารณานโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลเซอร์ในลักษณะนี้โดยนานาชาติ การทำลายอย่างถาวรของเซ็นเซอร์ตามอวกาศโดยประเทศอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในปี 2019 รัสเซียเคยออกมายอมรับการมีอยู่ของเพอเรสเวท (Peresvet) ซึ่งเป็นอาวุธเลเซอร์ของรัสเซียสำหรับการป้องกันทางอากาศและการทำสงครามต่อต้านดาวเทียม แต่ไม่มีการยืนยันว่าอาวุธดังกล่าวถูกใช้สำเร็จหรือไม่ ข้อมูลจาก…

“เซเลนสกี” จะปราศรัยต่อรัฐสภาญี่ปุ่น ขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรบรัสเซีย

Loading

  ยูเครนร้องขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านการรุกรานของรัสเซีย และประธานาธิบดีจะขอกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่รัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อเรียกร้องการสนับสนุน   รัฐบาลยูเครนได้แจ้งต่อกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ขอให้นายโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปราศรัยต่อรัฐสภาญี่ปุ่นผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ เพื่อขอการสนับสนุนยูเครนจากนานาชาติ หลังจากเขาได้ปราศรัยต่อรัฐสภาของสหรัฐฯ และหลายชาติยุโรปมาแล้วรัฐบาลญี่ปุ่นมีท่าทีตอบรับข้อเสนอของยูเครน คณะกรรมมาธิการกิจการรัฐสภาจากทั้งพรรครัฐบาล และฝ่ายค้านกำลังดำเนินการเพื่อจัดเตรียมระบบออนไลน์ โดยแทบจะไม่เคยมีผู้นำต่างชาติที่ได้ปราศรัยต่อที่ประชุมใหญ่รัฐสภาญี่ปุ่น   คาดว่าเรื่องสำคัญที่ผู้นำยูเครนจะร้องขอต่อญี่ปุ่น คือ ขอใช้ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากดาวเทียมญี่ปุ่น เพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซีย     ญี่ปุ่นมีดาวเทียมหลายดวงที่ใช้เทคโนโลยี synthetic aperture radar (SAR) สามารถจับภาพได้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ในทุกสภาพอากาศ และยังจับภาพได้แม้มีสิ่งบดบังในชั้นบรรยากาศ ดาวเทียมเหล่านี้มีทั้งที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชนญี่ปุ่น หน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูง คือ สำนักงานสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น หรือจั๊กซา   ส่วนการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของเอกชนมีกฎหมายที่กำหนดว่าการขายภาพให้ลูกค้าในต่างประเทศสามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง และต้องเข้ารหัสข้อมูลเพื่อป้องกันการถูกใช้โดยกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น   สื่อต่างชาติรายงานว่า ยูเครนได้ขอใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากชาติตะวันตกและสหรัฐฯ เช่นเดียวกัน   รัฐบาลญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าจะให้ยูเครนใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหรือไม่ เนื่องจากการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารอาจสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่น และอาจขยายความขัดแย้งระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย   ก่อนหน้านี้ กระทรวงการป้องกันประเทศของญี่ปุ่นได้มอบเสื้อเกราะกันกระสุน หมวกเหล็ก และอุปกรณ์สนามหลายอย่างให้ยูเครน และถูกมองว่าเป็นการมอบ…

รัฐบาลทหารเมียนมาชี้ทีวีดาวเทียม “เป็นภัยความมั่นคง”

Loading

  การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมาแล้ว ผู้ใดฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษจำคุกนานถึง 1 ปี และปรับเงินมากกว่า 10,000 บาท สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ว่า สถานีโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมา ( เอ็มอาร์ทีวี ) ประกาศว่า นับจากนี้เป็นต้นไป โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นบริการผิดกฎหมายในประเทศ การรับชมโทรทัศน์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 จ๊าด ( ราว 10,025.65 บาท )   Yup, you heard it right. 1 year imprisonment and 500,000 MMK fine for having a satellite dish/receiver! 'စေတနာကောင်း' ဖြင့်အသိပေးခြင်းတဲ့ pic.twitter.com/WAcVQeBn23 — M…

จีนสร้างฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฝึก “AI” รู้จักรุ่นเครื่องบิน ตรวจจับเรือรบ

Loading

  กลุ่มสื่อต่างประเทศ รายงาน (1 พ.ค.) สภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) เปิดเผยว่า “FAIR1M” ฐานข้อมูลภาพการสำรวจระยะไกลความละเอียดสูงชุดใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าชุดข้อมูลที่คล้ายกันที่ใช้ในประเทศอื่น ๆ หลายสิบหรือหลายร้อยเท่า ศาสตราจารย์ฟู่ คุน Fu Kun นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยข้อมูลการบินและอวกาศของสถาบันในปักกิ่งได้รับเงินทุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ในการใช้ดาวเทียมสังเกตการณ์ “Gaofen” สร้างฐานข้อมูลที่มีภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงมากกว่า 15,000 ภาพ โดยมีฉากประกอบข้อมูล 1 ล้านภาพ ซึ่งเทียบกับฐานข้อมูล VEDAI ของฝรั่งเศสซึ่งมีเพียงประมาณ 3,600 ภาพ ฐานข้อมูล FAIR1M มีข้อมูลโดยละเอียดของสถานที่มากกว่าล้านแห่งในประเทศจีน และสามารถรู้จักข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพ เช่น ลักษณะเครื่องบินแต่ละรุ่น และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเรือรบกับเรือโดยสาร ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ทหารใช้ดาวเทียมสอดแนมเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ จนเมื่อในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคเอกชนสามารถนำข้อมูลดาวเทียมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น การนับจำนวนรถบรรทุกสินค้าบนท้องถนนในเมือง หรือแม้แต่ในระดับประเทศ ก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานได้…

กระทรวงดิจิทัลฯ เตรียมหารือไทยคม-อินทัช เคลียร์ปมหุ้นต่างชาติ

Loading

  “ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส เชิญผู้บริหารไทยคม และอินทัช เคลียร์ปมปัญหา-ขยับสัดส่วนถือหุ้นไทย-หุ้นต่างชาติในไทยคม ไม่ต่ำกว่า 51% หวังเร่งให้จบดันวาระเข้า ครม. ทันก่อนหมดอายุสัมปทานในเดือน ก.ย. 64 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการดาวเทียมไทยคม 4 และ 6 ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในเดือนกันยายน 2564 ว่า อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดรอบด้าน ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เร็วที่สุด ก่อนวันครบอายุสัมปทาน เพื่อเดินหน้าการโอนถ่ายการบริหารจัดการดาวเทียมไทยคม ให้กับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ซึ่งเกิดจากการควบรวมกิจการของวิสาหกิจสื่อสารทั้ง 2 แห่งของรัฐ คือ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เพื่อให้สามารถเดินหน้าให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีประเด็นสำคัญบางข้อ ที่จำเป็นต้องได้ข้อสรุป คือ โครงสร้างผู้ถือหุ้นในปัจจุบันของ บมจ.ไทยคม ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียดเชิงลึกแล้วบริษัทแม่ของไทยคม คือ…