บริษัทเยอรมัน ผลิต “เซนเซอร์ตรวจจับไฟป่า” ทำงานด้วยระบบ AI

Loading

  บริษัทสินค้าโทรคมนาคมจากเยอรมนี ผลิต “เซนเซอร์ตรวจจับไฟป่า” ช่วยให้แจ้งดับเพลิงได้ทันเวลา ทำงานด้วยระบบ AI   Dryad Networks บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมจากประเทศเยอรมนี ผลิตเครื่องมือเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับไฟป่าได้อย่างรวดเร็วผ่านการทำงานด้วยระบบเอไอ (AI) โดยใช้พลังงานจากธรรมชาติอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งรวบรวมพลังงานไว้ที่แผงโซล่าเซลล์ จากนั้นจึงแจ้งเตือนไปยังสถานีดับเพลิงโดยตรง เพื่อให้พนักงานดับเพลิงสามารถมาดับไฟได้ทันเวลา ก่อนที่ไฟป่าจะลุกลามเป็นวงกว้าง     โดยตัวเครื่องมือหลักการทำงานคือ ตัวเครื่องจะมีระบบเซนเซอร์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เก็บไว้ ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของก๊าซในอากาศบริเวณที่ติดตั้ง โดยอาศัยการฝึกระบบเอไอให้รับรู้ความเปลี่ยนแปลงและปริมาณของก๊าซจากการเผาไหม้ของต้นไม้ใบหญ้าและพืชพรรณชนิดต่าง ๆ ในป่าที่แตกต่างกัน   เมื่อเซนเซอร์สามารถตรวจจับปริมาณก๊าซที่เปลี่ยนไปผ่านการประมาลผลของเอไอได้แล้ว จะแจ้งเหตุไฟป่าไปยังนักดับเพลิงผ่านสัญญาณดาวเทียม พร้อมระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุ ซึ่งขอบเขตการทำงานของเซนเซอร์ 1 เครื่อง จะเท่ากับสนามฟุตบอล 1 สนาม (ประมาณ 90 x 120 เมตร) จึงต้องใช้เซนเซอร์จำนวนมากในการติดตั้งบริเวณพื้นที่ป่า 1 ผืน     นอกจากนี้ ตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้กันน้ำ และเก็บพลังงานไว้ที่ตัวเก็บประจุ จึงมีประสิทธิภาพและความทนทานสูง ต่างจากการใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งไม่ทนน้ำและสามารถติดไฟได้ง่าย   โดยเซนเซอร์ของ Dryad…

ไม่ง้อดาวเทียม ใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับไฟป่า ติดกล้อง AI เตือนภัยน้ำท่วม

Loading

  น้ำท่วม และไฟป่า ยังคงเป็นโจทย์ปัญหาที่ทั่วโลกต้องรับมือ ที่ผ่านมาเทคโนโลยีดาวเทียมถูกนำมาใช้ช่วยระบุตำแหน่งจุดเกิดเหตุ และประเมินความเสียหายของพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มากกว่าการป้องกัน   แต่ล่าสุดในเวทีการแข่งขันนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของอิสราเอล ได้เกิดแนวคิดใหม่ในการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้เฝ้าระวังภัยธรรมชาติก่อนเกิดเหตุ   Eversense บริษัทสตาร์ทอัพอิสราเอล ได้พัฒนาเซ็นเซอร์กระตุ้นความร้อนที่ใช้ตรวจจับไฟป่าได้ในระยะเริ่ม โดยออกแบบโซลูชันให้ใช้งานง่ายได้ในทุกสภาพอากาศ โดยไม่ต้องบำรุงรักษา   จากเดิมที่ต้องอาศัยกล้องจากดาวเทียม และเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายในการทำงาน โซลูชันสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่จากแผงโซลาร์เซลล์ หรือแหล่งพลังงานภายนอก อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของการเกิดเพลิงไหม้ได้อีกด้วย   โซลูชันนี้กำลังถูกนำไปทดสอบติดตั้งในสถานที่จริง เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงาน และกลายเป็นความหวังที่จะช่วยแก้ปัญหาผลกระทบจากไฟป่าตามฤดูกาลที่จัดการได้ยาก อย่างไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย   ขณะที่บริษัท SighBit ได้ใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อตรวจสอบระดับน้ำ โดยอาศัยกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจจับสถานการณ์น้ำที่ในพื้นที่อยู่ในความเสี่ยง และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น   ระบบของ SightBit เป็นระบบเดียวที่ใช้ฟุตเทจจากกล้องเพื่อตรวจจับรูปแบบน้ำในแบบเรียลไทม์ และคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมา   โดยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น จะถูกนำไปใช้ในพื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอลที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดน้ำท่วมในช่วงฤดูหนาวที่มีฝนตกชุก และจัดการปัญหาได้ยากลำบาก   หากทั้ง 2 โครงการผ่านทดสอบการใช้งานจริงแล้วได้ผลดี โอกาสที่จะมีเทคโนโลยีใหม่ จาก AI จัดการกับภัยธรรมชาติก็เป็นไปได้สูงครับ…