คุมเข้มความปลอดภัยบ้านพัก’โดนัลด์ ทรัมป์’ ล้ำ!’สุนัขหุ่นยนต์’เดินลาดตระเวน24ชม.

Loading

8 พฤศจิกายน 2567 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หลังจากที่ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ คว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธนาาธิบดีสหรัฐฯ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ได้อยู่ที่บ้านพักตากอากาศหรู มาร์-อา-ลาโก เมืองปาล์มบีช ในรัฐฟลอริดา ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดยิ่งขึ้น โดยมีเรือยามติดอาวุธลาดตระเวนทางน้ำรอบบ้านหรู

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 : มิชิแกนจับหนุ่มคลั่ง ขู่โจมตีชาวคริสต์หากทรัมป์ชนะ

Loading

ตำรวจในรัฐมิชิแกนจับกุมตัวชายหนุ่มคนหนึ่ง หลังจากเขาโพสต์ส่งข้อความข่มขู่ว่า จะโจมตีชาวชาวคริสต์สายอนุรักษ์นิยม หากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะเลือกตั้ง

ชี้ชะตาเลือกตั้งสหรัฐวันนี้ จับตาการเปลี่ยนขั้ว ‘สภาสูง – สภาล่าง’

Loading

    จับตาผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สภาล่าง) และวุฒิสภา (สภาสูง) ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลขั้วอำนาจของฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ หรือเกิดเซอร์ไพรส์ของการกวาดเสียงทั้งหมดขึ้นในครั้งนี้ หรือไม่   กฤษฎา บุญเรือง นักวิชาการอิสระจากสหรัฐ และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เปิดเผยว่า “สภาผู้แทนราษฎร” ของสหรัฐมีสมาชิกทั้งหมด 435 คน ทุกคนจะต้องแข่งขันในการเลือกตั้งทุกสองปี และครั้งนี้ก็เช่นกันในวันที่ 5 พ.ย.2024 ซึ่งจะเลือกตั้งทั้งหมด 435 ที่นั่ง   ปัจจุบัน “พรรครีพับลิกัน” ครองเสียงข้างมากในสภาล่าง แต่ก็มากกว่าพรรคเดโมแครตเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นที่ 221 ต่อ 214 เสียง   หากเดโมแครตสามารถชนะได้เพียง 5 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นจากเดิม ก็จะคว้าเสียงข้างมากมาครอบครองในทันที เป็นที่คาดว่าพรรครีพับลิกันจะได้รับที่นั่งเพิ่มมา 3 ที่นั่ง แต่เดโมแครตก็จะชิงมาได้ 2 ที่นั่ง ทำให้คาดว่าพรรครีพับลิกันได้เปรียบ 1 ที่นั่ง   รีพับลิกันต้องต่อสู้หนักเพื่อป้องกัน 21 ที่นั่ง…

รู้จัก ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตาศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

Loading

    เปิดรายชื่อ ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตา ใครจะชนะในศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ปี 2567 ระหว่างรองปธน.คามาลา แฮร์ริส และอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังรุดเข้าสู่ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ดุเดือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันสมัยใหม่ โดยเฉพาะใน “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันมีคะแนนสูสีกันมาก   ภายใต้รัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้ก่อตั้งประเทศกำหนดให้รัฐทั้ง 50 รัฐมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีของตนเอง แต่ภายใต้ “ระบบคณะผู้เลือกตั้ง” ที่ซับซ้อน ทำให้แต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้งจำนวนหนึ่ง โดยอ้างอิงจากจำนวนประชากร เป็นตัวแทนลงคะแนนเลือกตั้งปธน. ซึ่งรัฐส่วนใหญ่มีระบบผู้ชนะได้คะแนนทั้งหมด (winner-take-all system) หมายถึง คณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดของรัฐนั้น ๆ จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุด   แคนดิเดตจะต้องมีเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งให้ได้อย่างน้อย 270 เสียง จาก 538 เสียง จึงจะชนะ เลือกตั้งสหรัฐ และการเลือกตั้งมักจะตัดสินจากรัฐที่มีการแข่งขันสูงหรือ “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตมักสลับกันครองเสียงส่วนใหญ่…

สรุปสั้น ทำไม ‘เลือกตั้งสหรัฐ’ จัดขึ้นตรง ‘วันอังคาร’ แรกของเดือนพฤศจิกายน

Loading

  ทุกๆ สี่ปี สหรัฐจะจัดลงคะแนนเสียง “เลือกตั้งประธานาธิบดี” ในวันอังคารแรกของเดือนพฤศจิกายน แล้วทำไมต้องเลือก “วันอังคาร” จัดเลือกตั้งสืบทอดนานกว่า 2 ศตวรรษ   ในปีนี้ก็เช่นกัน ชาวอเมริกันเตรียมตัวไปลงคะแนนเสียงที่หน่วยเลือกตั้งในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันอังคาร จนเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีวันเลือกตั้งสืบทอดกันมา ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 1800   สำหรับประเทศในละตินอเมริกา มักจัดเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ ส่วนอินเดียจัดในวันเสาร์อาจกินเวลาหลายสัปดาห์ เพราะประเทศกว้างใหญ่   ขณะที่อีกสองวัน ชาวอเมริกันหลายล้านคนจะได้ออกไปลงคะแนนเสียงให้กับรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต หรือคู่แข่งคืออดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน   สหรัฐมีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดชิงชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีที่มีขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แล้วเหตุใดต้องเป็นวันอังคารและประเพณีดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างไร   ตามคำบอกเล่าจากนักประวัติศาสตร์ “เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเกษตรกรชาวเมริกัน”   แต่ก่อนที่จะไปถึงตรงนั้น ต้องรู้ก่อนว่า สหรัฐใช้ระบบใดอยู่ก่อนหน้าที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ จะจัดขึ้นในวันเดียวกันทั่วประเทศ   ก่อนหน้าจนถึงกลางปี 1800 พบว่า วันเลือกตั้งจะแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ซึ่งได้กำหนดวันเลือกตั้งมีขึ้นในสัปดาห์ก่อนที่จะมีการประชุมในเดือนธันวาคม   ตัวอย่างเช่นในปี 1844 การเลือกตั้งประธานาธิบดีจัดขึ้นนานเป็นเวลาหนึ่งเดือนนั่นคือ ระหว่างต้นเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม…

อิหร่านชุมนุมหน้าสถานทูต เผาธงชาติสหรัฐฯ

Loading

ผู้ชุมนุมเผาธงชาติสหรัฐฯ และ ล้อเลียนประธานาธิบดีโจ ไบเดน และ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยอ้างว่า สองคนนี้ไม่ต่างกัน เหมือนลากับช้างที่ใช้นโยบายเดียวกัน ผู้ชุมนุมต้องการรำลึกถึงวิกฤตตัวประกันปี1979 หลังการปฏิวัติอิสลามที่นำโดยอดีตผู้นำสูงสุด อยาตอลเลาะห์ รูฮอลเลาะห์ โคไมนี ที่ได้ขับไล่พระเจ้าชาห์ โมฮัมเหม็ด เรซา ปาห์ลาวี ผู้ที่ประเทศตะวันตกให้การสนับสนุน ออกนอกประเทศ