แนะนำ 6 วิธีรับมือ เมื่อรู้ตัวว่ามือถือโดนแฮ็ก!
เปิด 6 แนวทางรับมือ เมื่อรู้ตัวว่ามือถือของเราโดนแฮ็ก ปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ป้องกันผู้อื่นติดกับดักจากมือถือเรา!
เปิด 6 แนวทางรับมือ เมื่อรู้ตัวว่ามือถือของเราโดนแฮ็ก ปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ป้องกันผู้อื่นติดกับดักจากมือถือเรา!
CardX ส่งอีเมลแจ้งเตือนลูกค้า พบบริษัทผู้ให้บริการ Outsource เข้าถึงข้อมูลใบสมัครสินเชื่อบุคคลและบัตรกดเงินสด โดยไม่ได้รับอนุญาต ยืนยันไม่กระทบข้อมูลการเงินลูกค้า เร่งยกระดับการป้องกัน แนะแนวทางรับมือข้อมูลรั่ว
แบงก์ชาติ เร่งธนาคารเอกชน อัปเกรดระบบสแกนใบหน้า รวมทั้งเร่งอัปเดตระบบแอปพลิเคชั่น ให้สามารถตรวจสอบตัวตนภายในเดือนพ.ค.-มิ.ย.นี้ หากมีการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เพื่อป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ จากกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ มีนโยบายให้ธนาคารทุกแห่งที่ให้บริการโมบายแบงก์กิ้งแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมบนแอปธนาคาร เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับมิจฉาชีพ ได้ใช้ช่องทางดังกล่าว หลอกให้ประชาชนโอนเงิน โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องยืนยันตัวตนเมื่อทำธุรกรรมตามกำหนด ถือว่าเป็นนโยบายการบริหารจัดการปัญหาการทุจริตและหลอกลวง ผ่านการใช้บัญชีเงินฝากหรือบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนทุกครั้ง สำหรับธุรกรรมที่ต้องยืนยันตัวตนสแกนใบหน้า เมื่อใช้บริการผ่านแอปธนาคาร โมบายแบงก์กิ้ง ดังนี้ 1.โอนเงินเกิน 50,000 บาทต่อครั้ง 2.โอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน 3.ปรับเปลี่ยนวงเงินโอน โดยแบงก์ชาติกำหนดให้ทุกธนาคารเริ่มดำเนินการได้ภายในเดือนมิถุนายน 2566 แต่หากทำธุรกรรมโอนเงินไม่ถึงวงเงินดังกล่าว ก็ยังสามารถโอนเงินใช้บริการได้ตามปกติเช่นเดิม โดยทางธนาคารเอกชนต่างก็อัปเกรดระบบแอปพลิเคชั่นทางการเงินและทยอยให้ผู้ใช้งานอัปเดตการสแกนใบหน้าบ้างแล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ ไทยพาณิชย์ แจ้งลูกค้าเตรียมความพร้อมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า เมื่อทำธุรกรรม ผ่านแอปพลิเคชัน…
ภาพโดย TheInvestorPost หลังจากมีข่าวเจ้าของบัญชีถูกถูกมิจฉาชีพหลอกส่งลิงก์ผ่าน LINE จนกระทั่งเงินถูกโอนออกจากบัญชี 1.4 ล้านบาท ทางธนาคารไทยพาณิชย์ก็แถลงชี้แจงว่าการถอนเงินไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของธนาคาร แต่ผู้ถูกหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมซึ่งอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของธนาคาร ทางธนาคารไทยพาณิชย์ระบุว่าธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความผ่านทาง SMS, อีเมล, LINE, หรือช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวหรือรหัสผ่านลูกค้า แถลงของธนาคารไม่ได้บอกรายละเอียดของเหตุการณ์ครั้งนี้โดยตรง แต่แนะนำ 3 ประเด็น ได้แก่ 1. คนร้ายสามารถให้ข้อมูลเหยื่อได้มากขึ้น สามารถบอกชื่อ, นามสกุล, หมายเลขประจำตัว, ชื่อร้านค้า ฯลฯ ทำให้เหยื่อหลงเชื่อ 2. คนร้ายอาจจะหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งโปรแกรม remote desktop และหลอกให้เหยื่อบอก PIN สำหรับเข้าควบคุมหน้าจอ 3. คนร้ายอาจจะอาศัยการแชร์หน้าจอระหว่างวิดีโอคอล แล้วหลอกให้เหยื่อเข้าแอปธนาคาร การใช้ซอฟต์แวร์ remote desktop ตามปกติเพื่อหลอกควบคุมเครื่องของเหยื่อนั้นเป็นปัญหาที่มีต่อเนื่อง โปรแกรมยอดนิยมเช่น Team Viewer มีรายงานอยู่เนือง ๆ ว่าคนร้ายพยายามหลอกให้เหยื่อลงโปรแกรมเพื่อเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อ ช่วงปี…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว