แก้เกมโจรออนไลน์! ‘ดีอี’ ฉีดยาแรงแก้กฎหมายคืนเงินเหยื่อ

Loading

    กระทรวงดีอี ออกโรงเร่งแก้กม.ปราบโจรออนไลน์ คลอดกฎหมายใหม่ โหดขึ้น 5 เท่า ฟันคนขายข้อมูล เช็กบิลแบงก์-ค่ายมือถือ ยันเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่กับประชาชน   วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึง การแก้ไขกฎหมายเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาภัยออนไลน์ ว่า กระทรวงดีอี ได้เสนอร่างกฎหมาย ที่แก้ไขเพิ่มเติมของ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 เพื่อให้ การแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ซึ่งจะมีการเร่งรัดคืนเงินให้ผู้เสียหาย โดยเฉพาะกรณีที่มีการระงับหรืออายัดบัญชีม้าที่มีเงินในธนาคาร และการเพิ่มโทษ การซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล โดยถือว่า เป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อประชาชน เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะเพิ่มอัตราโทษจำคุกเพิ่มขึ้นจาก 1 ปี เป็น 5 ปี นอกจากนี้ ยังเพิ่มความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในความเสียหายของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงออนไลน์ หากผู้ประกอบการละเลย หรือไม่ดูแลระบบอย่างดีพอ รมวถึงและมีการการป้องกันการโอนเงินแบบผิดกฎหมายของคนร้ายโดยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลด้วย   “รองนายกฯ…

การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

27 พ.ค. ดีเดย์! ตรวจโมบายแบงก์กิ้ง “ชื่อไม่ตรงซิม” มีขั้นตอนอย่างไร? คนใช้ต้องทำอะไรบ้าง คลิก!

Loading

เริ่มเดินหน้าตรวจสอบโมบายแบงก์กิ้ง ที่ “ชื่อบัญชีไม่ตรงซิม” แล้วในวันที่ 27 พ.ค .จะมีขั้นตอนอย่างไร ในกรณีชื่อไม่ตรงต้องอย่างไรบ้าง วันนี้มีตำตอบ

‘ดีอี’ ขันน็อตเร่งปราบไซเบอร์ร่าย 6 มาตรการหลัง ‘เศรษฐา’ ออกโรงจี้

Loading

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ทางเทคโนโลยี และผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) มาหารือร่วมกันเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายนนี้

‘แบงก์ชาติ’ผุด BAHTNET Lite ทำแผนฉุกเฉิน รับมือคุกคามไซเบอร์

Loading

  ธปท.ผุดแผนฉุกเฉินรับมือ โดนเจาะคุมคามไซเบอร์ หากต้องปิดระบบบาทเนต ใช้บาทเนตไลท์สำรองแทน ป้องกันระบบโอนเงิน-ชำระเงินถูกกระทบ   “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พิธีปฏิบัติ เรื่อง การดำเนินการกรณีระบบบาทเนตไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BAHTNET Offline : BNO) ผ่านระบบ BAHTNET Lite สำหรับผู้ใช้บริการบาทเนต และ (ร่าง) แนวปฏิบัติ เรื่อง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ลูกข่าย BAHTNET Lite ของผู้ใช้บริการบาทเนต โดยทั้ง 2 เรื่องจะเปิดรับฟังจนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2566   ทั้งนี้ รายละเอียดเบื้องต้น ธปท.ได้จัดทำแผนฉุกเฉินกรณีระบบบาทเนต หรือโอนเงินระหว่างสถาบันการเงินไม่สามารถให้บริการได้โดยสิ้นเชิง (BNO) โดยได้ทำระบบบาทเนตไลท์ (BAHTNET Lite) ซึ่งเป็นเครื่องมือการปฏิบัติงานในช่วงที่ ธปท. ประกาศใช้ BNO ที่รองรับมาตรฐานข้อความทางการเงิน ISO 20022 เพื่อให้การชำระเงินระหว่างสถาบันสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เกิดผลกระทบในวงกว้าง…

ธปท. แนะวิธีสแกน QR code – โอนเงินอย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะวิธี สแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking อย่างไร? ให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ซึ่งหากเราเผลอกรอกข้อมูลสำคัญหรือกด download จะโดนดูดเงินในบัญชีออกไป   ในปัจจุบัน “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” หรือมิจฉาชีพได้พัฒนารูปแบบการหลอกลวง ให้ผู้เสียหายสแกน QR code – โอนเงินผ่านแอป Mobile Banking เพื่อเข้าถึงข้อมูลและควบคุมโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ซึ่งหากคนร้ายสามารถรู้รหัสผ่านในการใช้งานแอปพลิเคชันธนาคาร คนร้ายก็จะสามารถทำการถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของเหยื่อจนหมด   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้โพสต์แนะนำวิธีสแกน QR code อย่างไรให้ปลอดภัยจาก #มิจฉาชีพ โดยระบุว่า   การสแกนจ่ายหรือโอนเงินผ่านแอป Mobile Banking ต้องตรวจสอบชื่อผู้รับโอนและยอดเงินทุกครั้ง ถ้าจะจ่ายหรือโอนเงินให้หน่วยงาน เช่น มูลนิธิ ราชการ ชื่อผู้รับควรเป็นชื่อหน่วยงานนั้นโดยตรง หากสแกนแล้วเป็นชื่อบุคคล ควรตรวจสอบหรือโทรถามให้แน่ใจก่อนกดโอน     หากสแกนเพื่อจุดประสงค์อื่น เช่น…