นักวิจัยญี่ปุ่นพัฒนา “แมลงสาบไซบอร์ก” หวังช่วยผู้ประสบภัยพิบัติ

Loading

    หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นในอนาคตอันใกล้ และมีผู้รอดชีวิตติดอยู่ใต้เศษซากของอาคาร สิ่งตอบสนองอย่างแรกที่จะระบุตำแหน่งของพวกเขาคือ ฝูงแมลงสาบไซบอร์ก   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากเมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่า “แมลงสาบไซบอร์ก” เป็นการประยุกต์ใช้ที่มีศักยภาพของการพัฒนาล่าสุดโดยกลุ่มนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ซึ่งสาธิตความสามารถในการติดตั้ง “กระเป๋าสะพายหลัง” ของโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนตัวแมลง และควบคุมการเคลื่อนไหวของพวกมันด้วยรีโมตคอนโทรล   นักวิจัยสาธิตการส่งสัญญาณเข้าสู่อุปกรณ์ ที่อยู่บนหลังของแมลงสาบมาดากัสการ์   นายเคนจิโร่ ฟุคุดะ และทีมของเขา จากห้องปฏิบัติการอุปกรณ์ชนิดฟิล์มบาง ของบริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น “ริเคน” ทำการพัฒนาฟิล์มโซลาร์เซลล์แบบยืดหยุ่น ซึ่งมีความหนา 4 ไมครอน, กว้างประมาณ 1 ส่วน 25 ของเส้นผมมนุษย์ และสามารถใส่ได้พอดีกับท้องของแมลง โดยฟิล์มดังกล่าวจะทำให้แมลงสาบเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ในขณะที่โซลาร์เซลล์จะผลิตพลังงานที่เพียงพอต่อการประมวลผล และส่งสัญญาณบอกทิศทางไปยังอวัยวะรับความรู้สึก ที่อยู่ส่วนหลังของแมลง   นักวิจัยกำลังทำการติดตั้งอุปกรณ์บนตัวแมลงสาบมาดากัสการ์   อนึ่ง การวิจัยนี้จัดทำขึ้นจากการทดลองควบคุมแมลงของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ ซึ่งทีมวิจัยของฟุคุดะ คาดหวังว่าในอนาคต แมลงไซบอร์กจะสามารถเข้าไปในพื้นที่อันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าหุ่นยนต์อีกด้วย   If…