มารู้จัก “โอเรชนิค (Oreshnik)” ขีปนาวุธรุ่นใหม่ที่รัสเซียยิงใส่ยูเครนเป็นครั้งแรก

Loading

    ในตอนแรกไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับโอเรชนิค (Oreshnik) ขีปนาวุธที่โจมตีเมืองดนีโปรของยูเครนในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 21 พ.ย. ที่ผ่านมา หรือไม่รู้แม้กระทั่งว่ามันคือขีปนาวุธชนิดใด   พาเวล อัคเซนอฟ ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารจากสำนักข่าวบีบีซี แผนกภาษารัสเซีย กำลังตรวจสอบหลักฐานเกี่ยวกับขีปนาวุธดังกล่าว พร้อมกับสัญญาณอะไรที่ทำให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียพยายามจะส่งไปยังยูเครนและชาติตะวันตก จากการการตัดสินใจใช้ขีปนาวุธดังกล่าว   ประธานาธิบดีปูตินกล่าวว่า การโจมตีเมืองดนีโปรทางตะวันออกของยูเครนเกิดขึ้นโดยใช้ “ขีปนาวุธพิสัยกลางแบบใหม่” ที่มีชื่อรหัสว่า “โอเรชนิค”   ยูเครน แม้ว่าจะโต้แย้งเรื่องนี้ โดยบอกว่าน่าจะเป็นขีปนาวุธ Ked (Cedar) แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ไม่มากที่อาวุธชนิดนี้จะเป็นได้   การยิงขีปนาวุธในระยะไกลดังกล่าวไม่สามารถมองข้ามไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่มีหน่วยข่าวกรองหลายแห่งติดตามอย่างใกล้ชิด   ขีปนาวุธดังกล่าวสามารถตรวจจับได้ชัดเจนในระหว่างทำการบิน โดยเฉพาะเปลวไฟที่ลุกไหม้ซึ่งไหลออกมาจากเครื่องยนต์จรวด ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยดาวเทียมและเครื่องบินลาดตระเวน   โดยหลักฐานสามารถเรียนรู้ได้มากมายจากไอเสียของขีปนาวุธ ซึ่งมักพบเห็นได้ในระหว่างการทดสอบหรือการฝึกซ้อม และคุณลักษณะของขีปนาวุธต่างๆ ก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว   ด้วยการศึกษาข้อมูลการยิงจากขีปนาวุธใหม่ นักวิเคราะห์สามารถอนุมานได้มากขึ้น   แม้ว่าหน่วยข่าวกรองของชาติตะวันตกไม่ได้เผยแพร่ผลสรุปการตรวจสอบดังกล่าว แต่พวกเขาน่าจะมีความคิดที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทของขีปนาวุธ   นักวิจารณ์ในสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญต่างคิดทฤษฎีของตนเองโดยอิงจากเบาะแสอื่น ๆ ด้วย  …

IAEA ห่วงเรื่องความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองซาโปริซเซียในยูเครน

Loading

สำนักงานพลังงานปรมาณูสากล ระบุในแถลงการณ์ แสดงความกังวลเรื่องสถานการณ์ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองซาโปริซเซีย ทางภาคใต้ของยูเครน

จิตวิทยานิวเคลียร์

Loading

  เกาหลีเหนือ และอิหร่าน อาจกำลังผลักดันแผนนิวเคลียร์ของพวกเขา และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ข่มขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์อันทรงพลัง กระนั้น ผู้สันทัดกรณีระดับสูงกล่าวว่า มันยังไม่มีความเสี่ยง ที่จะเกิดเหตุการณ์อันตรายแต่อย่างใด   “ระเบียบนิวเคลียร์อาจถูกโจมตี มีความสั่นคลอน หรือเป็นที่โต้แย้ง แต่รากฐานของมันยังมั่นคง และองค์ประกอบสำคัญที่สุดยังคงมีอยู่” นายบรูโน แตร์เตรส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ และรองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (เอฟอาร์เอส) ซึ่งเป็นคลังสมองของฝรั่งเศส กล่าวในการให้สัมภาษณ์ “เกาหลีเหนือ, จีน, อินเดีย และปากีสถาน ยังคงมุ่งมั่นที่จะสถาปนาตนเองเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ และไม่สนใจคำร้องขอ หรือแม้แต่การปลดอาวุธ”   ขณะเดียวกัน เกาหลีเหนือยกระดับสถานะของตัวเองเมื่อปีที่แล้ว ด้วยการระบุในรัฐธรรมนูญ ว่าเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ และทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) หลายครั้ง ซึ่งเป็นการละเมิดมติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น)   แตร์เตรส์ กล่าวว่า ท่าทีก้าวร้าวของเกาหลีเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของ “นโยบายป้องปราม” พร้อมกับชี้ว่า รัฐบาลเปียงยางต้องการย้ำเตือนโลก เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของตนเอง หลังประเทศมหาอำนาจของโลก หันไปให้ความสนใจกับความขัดแย้งในยูเครน และฉนวนกาซา  …

เกาหลีใต้ชี้นิวเคลียร์เกาหลีเหนือ “ไม่ใช่เรื่องไกลตัว” ขออาเซียนร่วมมือ

Loading

  ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เรียกร้องกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มพูนความร่วมมือกับรัฐบาลโซล เพื่อยับยั้งภัยคุกคามจากอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ว่า หนังสือพิมพ์ คอมพาส ของอินโดนีเซีย เผยแพร่บทสัมภาษณ์ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ผู้นำเกาหลีใต้ ว่าการยิงขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ “ยังคงเป็นภัยคุกคามภายนอกโดยตรง” ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเพียงเกาหลีใต้ แต่ยังรวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นพันธมิตรของรัฐบาลโซลด้วย   Yoon says N. Korea poses direct threats to ASEAN https://t.co/gVAYddAaB9 — Yonhap News Agency (@YonhapNews) September 5, 2023   ดังนั้น เกาหลีใต้และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) “ต้องตอบสนองอย่างเด็ดขาด” และ “ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด” เพื่อนำไปสู่การปลดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี อาเซียนและเกาหลีใต้ ต้องยกระดับความร่วมมือ เพื่อให้ระเบียบโลกที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ สามารถฝังรากได้อย่างลึกซึ้งและเข็งแกร่ง ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก…

6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลร้ายแรงที่สุดในโลก

Loading

    มองย้อนรอย 6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่โลกนี้เคยมีมา พบทั้งในอดีตสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และญี่ปุ่น     โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีข้อดีหลายอย่างและถูกใช้งานในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้เคยเกิดข้อผิดพลาดและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในอดีต   หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างความร้อนมหาศาลไปทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอและหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้   เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในโลกนี้ TNN Tech ขอหยิบยกมานำเสนอทั้งหมด 6 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่   ปี 1986 นิคมเชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นเคียฟ, ยูเครน) สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 4,000 คน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลได้ถูกปิดจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมชมส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน   ปี 1957 คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ สารที่รั่วไหลไอโอดีน-131 ผู้เสียชีวิต 240 คน   ปี 1957 คิสตีม สหภาพโซเวียต…

พม่าจับมือรัสเซียตั้งศูนย์ข้อมูลนิวเคลียร์ในย่างกุ้ง เซ็น MOU กับ ผอ.ใหญ่ ROSATOM

Loading

  พิธีเซ็น MOU ระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพม่า กับผู้อำนวยการใหญ่ ROSATOM ต่อหน้า พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย (ภาพจาก Popular News Journal)   MGR Online – รัฐบาลทหารพม่าเอาจริง เซ็น MOU รอบที่ 3 กับ ROSATOM จากรัสเซีย เพื่อเปิดศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง มินอ่องหล่ายไปเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามด้วยตัวเอง   เช้าวันนี้ (6 ก.พ.) พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และนายกรัฐมนตรีพม่า เป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอู มิวเตงจ่อ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับอเล็กซี ลีคาเชฟ ผู้อำนวยการใหญ่ ROSATOM หน่วยงานด้านพลังงานปรมาณู ของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง   พิธีเซ็น MOU จัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง โดยเอกสาร MOU ได้ถูกจัดพิมพ์เป็น…