รู้จัก แอปทางรัฐ คืออะไร พร้อมวิธีลงทะเบียน เพื่อรับเงินดิจิทัล และติดต่องานราชการ

Loading

แอปทางรัฐ เปรียบเสมือนผู้ช่วยคนใหม่ที่รวบรวมบริการภาครัฐกว่า 149 รายการไว้บนมือถือของคุณ เพียงดาวน์โหลดแอปและลงทะเบียนใช้งาน ก็สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน่วยงาน ไม่ต้องรอคิว ไม่ต้องเสียเวลา

ปลัดมท. เตือน!อย่าหลงเชื่อเพจรับทำบัตรประชาชนออนไลน์

Loading

‘บัตรประชาชนไม่ใช่ใครอ้างจะทำก็ทำได้’ ปลัด มท. ย้ำเตือนสังคมอย่าหลงเชื่อแฟนเพจรับทำบัตรประชาชน หรือใครก็ตามที่มาแอบอ้างช่วยทำบัตรประชาชน พร้อมย้ำ สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และประสานให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อบัตรประชาชนใบเดียวถูกแอบอ้าง นำไปเปิดซิมการ์ดมากกว่า 30 เบอร์!

Loading

  ในวันที่ 25 มิถุนายน 2566 ผู้ใช้งาน Facebook รายหนึ่งได้ออกมาโพสต์เรื่องราวที่ตนเองได้ไปลงทะเบียนเพื่อใช้งานสิทธิพิเศษของเบอร์มือถือกับผู้ให้บริการเครือข่ายคือ AIS ก่อนพบว่าบัตรประชาชนของตนถูกลงทะเบียนซิมการ์ดไปแล้วถึง 34 เบอร์ โดยเกิดจากการลงทะเบียนของตนเองเพียง 2 เบอร์เท่านั้น     ส่วนอีก 32 เบอร์นั้นที่เหลือ ถูกลงทะเบียนโดยผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัตรประชาชนตัวจริง! ซึ่งแบไต๋ได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ AIS แล้ว ก็ได้คำตอบว่า “เอไอเอสประสานงานกับลูกค้าเพื่อตรวจสอบกรณีนี้แล้ว” ซึ่งหากมีความคืบหน้าจากทาง AIS เราจะนำเสนอข่าวต่อไป   คนโดนสวมรอยอาจซวยได้ เบอร์ที่จดทะเบียนด้วยบัตรประชาชนของคนอื่นอาจถูกนำไปใช้แอบอ้างหรือก่ออาชญากรรมได้สารพัดวิธีอย่างการเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ การส่ง SMS ต้มตุ๋น ไปจนถึงการนำเบอร์ไปใช้ในการติดต่อประสานงานเพื่อก่ออาชญากรรม หรือไปจนถึงการก่อการร้าย   ซึ่งเมื่อกระบวนการสืบสวนเริ่มต้นขึ้นแล้ว คนที่จะซวยหนักที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเจ้าของเลขประจำตัวประชาชนที่ถูกนำไปใช้ในการจดเบอร์เถื่อนนั่นเอง   การถูกแอบอ้างนำข้อมูลส่วนตัวไปลงทะเบียนซิมการ์ด นอกจากต้นเรื่องแล้ว ยังมีอีกหลายคนที่โดน บางคนโดนตั้งแต่ 1 เบอร์ ไปจนถึง 50 กว่าเบอร์เลยทีเดียว!   นี่ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีการสวมรอยใช้ข้อมูลส่วนตัวไปลงทะเบียนหรือไม่ และเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อการลงทะเบียนจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนตัว…

แอป ThaID (ไทยดี) แสดงบัตรประชาชนผ่านแอปได้ แอป ThaiD เปลี่ยนชื่อมาจากแอป D.DOPA

Loading

    แอป ThaID (ไทยดี) แสดงบัตรประชาชนผ่านแอปได้ หน่วยงานภาครัฐประกาศยกระดับการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกรรมและอำนวยความสะดวกการให้บริการภาครัฐเพื่อประชาชน โดยในเช้าวันนี้ 14 มีนาคม 2566 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง และคณะ นำเสนอนิทรรศการผลการพัฒนาระบบรับรองการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชัน “ThaID” หรือ “ไทยดี”   พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขอขอบคุณกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ตอบรับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องรัฐบาลดิจิทัล โดยกระทรวงมหาดไทยคิดแพลตฟอร์มไทยดี (ThaID) เป็นการแสดงตัวตนออกมา เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนที่สามารถนำไปใช้ในการลงทะเบียน การแสดงตัวตนในสนามบินรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนต่าง ๆ แทนการใช้บัตรประชาชนและเอกสารทะเบียนบ้าน     การที่มหาดไทยได้พัฒนาการแสดงตัวตนและยืนยันตัวตนทางดิจิทัลนั้นสร้างประโยชน์อย่างมากในยุคสมัยนี้ เพราะการแสวงหาประโยชน์ การทุจริต…

สิงคโปร์เปิดให้ใช้แอป SingPass เพื่อติดต่อราชการแทนบัตรประชาชนตัวจริงแทบทุกกรณี

Loading

  สิงโปร์ประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบบัตรประชาชนจากหน้าจอแอป SingPass แทนการขอตรวจสอบบัตรประชาชนตัวจริงได้แทบทุกกรณี เหลือเพียงบางกรณีที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าต้องใช้บัตรประชาชนตัวจริง เช่น การจดทะเบียนสมรส หรือการลงทะเบียนเข้าพักโรงแรมที่ต้องรอการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป มีผลวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป ประกาศครั้งนี้มีผลทำให้แอป SingPass ใช้งานกับบริการออฟไลน์ได้ด้วย จากเดิมที่แอปมีหน้าที่ยืนยันตัวตนสำหรับบริการออนไลน์เท่านั้น และสิงคโปร์พยายามย้ายบริการภาครัฐหลายอย่างเป็นบริการออนไลน์ล้วนมาแล้ว เช่น บริการแจ้งเกิด หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎร์ทั้งหลาย การแสดงตัวที่จุดบริการภาครัฐ, การเข้ารับบริการทางการแพทย์, และการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดจะสามารถแสดงหน้าจอ SingPass ได้แทนทันที โดยหน้าจอ SingPass เวอร์ชั่นใหม่จะมีหน้าจอแสดงข้อมูลพื้นฐานเฉพาะ ชื่อ-นามสกุล, หมายเลขบัตรประชาชน, และรูปถ่าย และหน้าจอแสดงข้อมูลเต็ม ที่เพิ่มข้อมูล เพศ, สัญชาติ, วันเกิด, ที่อยู่ หรือหากเป็นผู้พำนักแบบถือใบอนุญาตทำงานก็จะมีชื่อนายจ้างด้วย ตัวหน้าจอป้องกันการปลอมแปลงด้วยโลโก้แบบภาพเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการจับภาพหน้าจอไปปลอมแปลง ตอนนี้มีการใช้งาน SingPass ครอบคลุม 97% ของประชากรและผู้พำนักถาวรในสิงคโปร์ รวม 3.2 ล้านคนและมีการทำธุรกรรมทั้งแบบบุคคลและนิติบุคคลถึงปีละ 300 ล้านครั้ง   ที่มา – GovTech —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :…

เตือนภัย!! มิจฉาชีพ ทำทีเป็นหมอดู ขอเลขท้ายบัตรประชาชนไปทำธุรกรรมการเงิน

Loading

  เตือนภัย!! มิจฉาชีพ ทำทีเป็นหมอดู ขอเลขท้ายบัตรประชาชนไปทำธุรกรรมการเงิน โดยมิจฉาชีพจะสอบถามข้อมูลดังนี้ 1.ชื่อ-นามสกุล 2.เบอร์โทรศัพท์ 3.วัน-เดือน-ปีเกิด เลขบัตรประชาชน 5-6 หลักท้าย คำเตือน ถึงจะขอเลขบัตรประชาชน 5-6 หลักท้าย แต่เนื่องจากเลขบัตรประชาชนแต่ละหลักจะบ่งบอกถึงข้อมูล ถ้าได้ ที่อยู่ ก็อาจทำให้เดา เลขบัตรประจำตัวทั้ง 13 หลักได้ หลัก 1 หมายถึง ประเภทบุคคล ซึ่งมี 8 ประเภท (กรณีคนไทย ส่วนใหญ่จะเป็นเลข 3) หลักที่ 2 – 3 รหัสจังหวัด หลัก 4-5 รหัส อำเภอ/เขต/เทศบาล/เมืองพัทยา หลัก 6-10 หมายถึงกลุ่มบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก หรือ หมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร หลัก 11-12 ใบที่ของสูติบัตรแต่ละเล่ม หลัก 13 ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของ เลข 12…