กอ.รมน.ภาค 4 สน.เผยคนร้ายที่ลอบยิงผู้ประสานงานกลุ่มด้วยใจในพื้นที่อ.ยะรัง จ.ปัตตานีเชื่อมโยงหลายคดีในพื้นที่ชายแดนใต้

Loading

รายงานผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานจากวัตถุพยานที่ตรวจยึดได้ จากกรณีเหตุการณ์ คนร้ายใช้อาวุธปืนสงครามลอบยิง นายรอนิง ดอเลาะ ผู้ประสานงานกลุ่มด้วยใจ เป็นเหตุให้เสียชีวิต

แจง “โอไอซี” มีขบวนการบิดเบือนอ้างศาสนาจุดไฟใต้

Loading

แม่ทัพ 4 แจงคณะทูตสมาชิกโอไอซี ผู้ไม่หวังดีฉวยโอกาสนำความต่างศาสนาเป็นเงื่อนไข บิดเบือน ปลุกเร้าให้เกิดการต่อสู้ด้วยวิธีรุนแรง ยก 3 เหตุการณ์ จนท.มุสลิมถูกสังหาร ไม่เว้นแม้ผู้หญิง

เหตุใดสงครามกาซาถึงทำให้โลกออนไลน์น่าเชื่อถือน้อยลง

Loading

  ในช่วง 2-3 เดือนมานี้ การถกเถียงบนโซเชียลมีเดียในเรื่องความขัดแย้งอิสราเอลและกลุ่มฮามาสดูจะตึงเป็นพิเศษ   หลายคนกังวลว่าการต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้ผู้บริสุทธิ์บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ว่าอิสราเอลทำถูกแล้วเพราะเป็นการป้องกันตัวเอง ขณะที่บางส่วนก็เห็นใจชาวปาเลสไตน์และประณามอิสราเอล   ท่ามกลามความเห็นเหล่านี้ มีบางส่วนที่โพสต์เนื้อหาที่เป็นการบิดเบือนความจริง ที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ     ข่าวที่กลุ่มชาวนาฝรั่งเศสนำมูลวัวมาทิ้งหน้าร้าน McDonald’s ถูกนำเสนอว่าเป็นการประท้วงอิสราเอล   ตั้งแต่การบิดเบือนตัวเลขผู้เสียชีวิต การโจมตีเนื้อหาข่าวด้วยข้อมูลเท็จ ใช้เนื้อหาจากเหตุการณ์ในอดีต หรือเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาปะปน หรือแม้แต่การ ‘สร้าง’ เหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้น   สงครามกาซาทำให้ข้อมูลเท็จเพิ่มขึ้น   ภายหลังจากที่สงครามกาซาเริ่มขึ้น การปล่อยเท็จก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในจำนวนนี้มีทั้งการใช้ภาพจากวิดีโอเกมมาอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ และยังมีการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI เข้ามาบิดเบือนร่วมด้วย       Bohemia Interactive ผู้สร้าง ARMA 3 อธิบายว่าภาพจากเกมถูกนำไปบิดเบือนอย่างไรบ้าง   นี่ไม่ใช่คำกล่าวลอย ๆ แต่ยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง พิปปา แอลเลน คินรอสส์ (Pippa Allen-Kinross) บรรณาธิการข่าวของ…

จีนออกมาตรการคุมเทคโนโลยี “ดีพเฟค” เริ่มบังคับใช้ ม.ค. นี้

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน ระบุว่า กฎใหม่ของจีน สำหรับผู้ให้บริการเนื้อหาที่มีการแก้ไขข้อมูลใบหน้าและเสียง จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2566 โดยหน่วยงานมุ่งหวังที่จะตรวจสอบเทคโนโลยีและบริการที่เรียกว่า “ดีพเฟค” อย่างเข้มงวดมากขึ้น   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า กฎระเบียบใหม่จากซีเอซี ซึ่งออกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา กำหนดให้บุคคลได้รับการคุ้มครองจากการถูกแอบอ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม อันมาจากเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ภาพเสมือนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นฉบับจนแยกไม่ออก และถูกนำไปใช้เพื่อการบิดเบือน หรือการให้ข้อมูลเท็จได้โดยง่าย   China's rules for "deepfakes" to take effect from Jan. 10 https://t.co/faLf9KG1gj pic.twitter.com/52XnzO89iw — Reuters (@Reuters) December 12, 2022   ซีเอซี กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวข้างต้นมีเป้าหมายเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้บริการโดยแพลตฟอร์มดังกล่าว…