สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

แนวทางบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  ความท้าทายสำคัญในการรับมือกับ ภัยไซเบอร์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นความท้าทายของทุกประเทศทั่วโลกนั่นคือ ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญ แม้ว่าจะมีความพยายามแก้ปัญหานี้โดยการเร่งผลิตทรัพยากรบุคคล   เรียกว่าแทบทุกมหาวิทยาลัยจะมีหลักสูตรด้านนี้ รวมถึงศูนย์ฝึกอบรมระยะสั้น ตลอดจนการเรียนผ่าน online ฯลฯ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี จากผลสำรวจของ (ISC)2* พบว่าในปีพ.ศ. 2565 มีตำแหน่งงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ว่าง ยังไม่สามารถหาคนมาลงได้ถึง 3.4 ล้านตำแหน่งทั่วโลก   ความท้าทายนี้เริ่มตั้งแต่การสรรหา การพัฒนา ตลอดจนการรักษาบุคลากรที่มีประสบการณ์ให้ทำงานอยู่กับเรา สู้กับการแย่งชิงตัวพนักงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงขึ้นอย่างมาก   นอกจากนี้ปัญหาที่แทรกซ้อนขึ้นมาคือ แม้จะมีความก้าวหน้าของเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการป้องกันภัยไซเบอร์ แต่หากเราไม่สามารถสรรหาบุคลากรเก่ง ๆ มาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ การลงทุนนั้นก็ไม่คุ้มค่าและไม่สามารถลดความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ลงไปได้   ผลของการขาดแคลนบุคลากร ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ตกอยู่ในความเสี่ยง และกำลังเดินเข้าสู่วังวนแห่งหายนะ (vicious cycle) กล่าวคือ เมื่อมีบุคลากรไม่เพียงพอ ทำให้บุคลกรที่มีอยู่ต้องรับภาระทำงานยาวขึ้นในแต่ละวัน ไม่สามารถหาวันลาพักผ่อนหรือวันหยุดได้   ประกอบกับภัยคุกคามที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นแรงกดดันให้เกิดภาวะ burnout หมดพลัง หมดไฟ และหมดแรงจูงใจให้สู้กับงาน จึงทยอยลาออกจากงานไป…

เร่งเครื่องยกระดับ“รัฐ-เอกชน”รับศึกหนัก”ภัยไซเบอร์”

Loading

  ทุกวันนี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เกิดขึ้นทุกวัน ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายของแฮกเกอร์ เห็นได้จากข่าว มีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนถูก “แฮก” ระบบจนข้อมูลรั่วไหลอย่างต่อเนื่อง!!   การเตรียมพร้อมรับมือป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ จึงเป็นวิถีทางที่ดีกว่า การแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุ จึงเป็นเรื่องปลายเหตุที่อาจจะทำได้ยาก เมื่ออาจส่งผลความเสียหายในวงกว้างไปแล้ว!!   สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานกับกับดูแลภัยไซเบอร์ของชาติ ก็เร่งทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแก้ปัญหา การขาดแคลนบุคลากรด้านนี้!!   พลอากาศตรีอมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  บอกว่า การโจมตีภัยไซเบอร์ในไทยเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งก็มีเหตุการณ์ที่เป็นข่าว และไม่เป็นข่าว ซึ่งที่ผ่านมา สกมช. เร่งทำโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ในระดับผู้ปฎิบัติงานกว่า 5,000 คน ซึ่งยังต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะภัยไซเบอร์ฯ มีการพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ เสมอ   พลอากาศตรีอมร ชมเชย   อย่างไรก็ตามเมื่อมองด้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ฯ ที่สอบผ่านและได้รับใบประกาศนียบัตร CISSP (Certified Information Systems Security Professional) ของ ไอเอสซีสแควร์ สถาบันที่ทำงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก ในไทยยังถือว่ามีน้อย เพียง 270 คนเท่านั้น   ซึ่งตัวเลขนี้ ไม่ขยับมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว!!   ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ อย่างมาเลเซียมี 370 คน ขณะที่สิงคโปร์ มีถึง 2,804 คน…

‘สกมช.’ จับมือ ‘เทรนด์ไมโคร’ ปั้นนักรบไซเบอร์อุดช่องโหว่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ

Loading

  เมื่อมีการใช้งานออนไลน์มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ของตนเอง จึงกลายเป็นการเพิ่มโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือ สร้างภัยหลอกลวงต่างๆ ถึงผู้คนได้ง่าย ดังนั้นคนทุกกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันภัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทว่า ปัญหาที่สำนักงานและประเทศไทยกำลังเผชิญคือบุคลากรที่จะเข้ามารับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์นั้นไม่เพียงพอ   ***ไทยขาดบุคลากรป้องกันภัยไซเบอร์หลักแสนคน ‘พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์’ เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่บุคลากรไซเบอร์ขาดแคลนเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิครอบด้าน ดังนั้น กว่าจะสร้างบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลานานและต้องมีการวางแผนระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อมาสนับสนุนการทำงานด้านนี้ของประเทศได้ ขณะที่ สกมช.เป็นสำนักงานที่มีอัตราโครงสร้างพนักงาน 480 คน แต่เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณและการสนับสนุนด้านบุคลากร ทำให้ในปัจจุบันบุคลากรของ สกมช.มีเพียง 40 คนโดยประมาณ บวกกับลูกจ้างอีกประมาณ 20 คน ทำให้สำนักงานประสบปัญหาด้านการดำเนินงาน สกมช.จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ ที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์มีการขยายตัวมากขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีมองเห็นโอกาสในการคุกคามความปลอดภัยตามช่องทางเหล่านี้กันมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้านซิเคียวริตี หรือความมั่นคงปลอดภัยตามหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ กันอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องเร่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ และมีแนวทางและกระบวนการในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ สำนักงานจึงได้มีการหารือกับบริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับโลก…