80% ของคดีฆาตกรรมในสหรัฐฯ เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ

Loading

  องค์กรสิทธิมนุษยชนเผย 80% ของคดีฆาตกรรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรงในสหรัฐฯ ปี 2022 เกิดจากแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ   ปี 2022 ที่ผ่านมา เป็นอีกหนึ่งปีที่เกิดเหตุฆาตกรรมจำนวนมากในสหรัฐฯ โดยเฉพาะความรุนแรงจากอาวุธปืน ซึ่งเกิดบ่อยจนแทบจะกลายเป็นเหตุการณ์ปกติที่ไม่ควรปกติในดินแดนแห่งเสรีภาพไปแล้ว และหนึ่งในรากเหง้าของปัญหานี้ ก็คือรากเหง้าเชิงทัศนคติความเชื่อ   สมาคมต่อต้านการหมิ่นประมาท (ADL) เปิดเผยว่า ในปี 2022 สหรัฐฯ มีเหตุฆาตกรรมที่ถูกจัดประเภทว่า “เกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวรุนแรง” อยู่ทั้งหมด 25 คดี และมีมีหลายคดีที่ “มีมูลเหตุทั้งหมดหรือบางส่วนมาจากแนวคิดความเชื่อ”   และแนวคิดความเชื่อที่นำไปสู่ความรุนแรงมากที่สุดในสหรัฐฯ คือแนวคิดเหยียดเพศ และแนวคิดเหยียดเชื้อชาติที่เชื่อว่าคนผิวขาวเป็นผู้ที่มีสถานะสูงสุดในสหรัฐฯ หรือ White Supremacy นั่นเอง   ตัวอย่างเช่น เหตุกราดยิงในเดือน พ.ค. 2022 ที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ซึ่งผู้ที่มีความเชื่อ White Supremacy ก่อเหตุยิงคนผิวสีเสียชีวิต 10 คน และอีกเหตุการณ์ในเดือน พ.ย. 2022 ที่โคโลราโดสปริงส์…

ศาลฮ่องกงเปิดพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่

Loading

สมาชิกสันนิบาตโซเชียลเดโมแครตฮ่องกงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกันออกจากพื้นที่ หลังจากถือป้ายประท้วงและพยายามตะโกนนอกศาลในฮ่องกง ขณะมีการพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้ถูกกล่าวหา 47 คน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ (Photo by Peter PARKS / AFP)   การพิจารณาคดีด้านความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่สุดของฮ่องกงเปิดฉากขึ้นในวันจันทร์ โดยมีบุคคลผู้ฝักใฝ่ประชาธิปไตยหลายสิบคนถูกกล่าวหาว่าพยายามโค่นล้มรัฐบาลและอาจได้รับโทษประหนึ่งอาชญากร   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า ศาลฮ่องกงเปิดพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้ถูกกล่าวหาถูกไต่สวน 47 คน และอาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหากถูกตัดสินว่ามีความผิด   ผู้เห็นต่างในดินแดนของจีน ซึ่งรวมถึงนักเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยที่มีชื่อเสียงในเกาะฮ่องกง ถูกเรียกมาขึ้นศาลเพื่อไต่สวน โดยมีการเปิดเผยภายหลังว่า ผู้ถูกดำเนินคดี 16 คนปฏิเสธความผิดในข้อหา “สมรู้ร่วมคิดในการกระทำเพื่อโค่นล้มรัฐบาลจากการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นอย่างไม่เป็นทางการ”   ขณะที่อีก 31 คนสารภาพผิดตามข้อกล่าวหาและจะถูกตัดสินโทษหลังกระบวนการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น   ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งทำการชุมนุมประท้วงเล็ก ๆ บริเวณหน้าศาลฮ่องกง ท่ามกลางการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ   ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การพิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นว่าระบบกฎหมายถูกใช้เพื่อบดขยี้ฝ่ายตรงข้ามด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคง ทั้ง ๆ ที่การต่อต้านเผด็จการไม่ใช่อาชญากรรม   ผู้ถูกดำเนินคดีต้องเผชิญกับการพิจารณาคดีที่คาดว่าจะใช้เวลานานกว่า 4…

นักวิเคราะห์ชี้ จีนขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมในแอฟริกาด้วย ‘สถาบันขงจื๊อ’

Loading

Confucius Institute’s presence at University of the Western Cape, South Africa   เป็นเวลาเกือบสองทศวรรษแล้วที่รัฐบาลจีนได้ขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรม หรือ soft culture ผ่าน “สถาบันขงจื๊อ” ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สถาบันดังกล่าวในมหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกอื่น ๆ ได้ปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นแต่ในแอฟริกาที่มีการเปิดสถาบันขงจื๊อเพิ่มมากขึ้น   สถาบันขงจื๊อแห่งใหม่ล่าสุดในเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นหนึ่งในสถาบันขงจื๊อประมาณ 60 แห่งที่ตั้งในทวีปแอฟริกา โดยสถาบันเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และนักเรียนจะได้เรียนภาษาจีน วัฒนธรรม รวมถึงชั้นเรียนต่าง ๆ อย่างเช่น ศิลปะการป้องกันตัว “ไทเก็ก” และการแพทย์แผนจีน อีกทั้งนักเรียนยังมีโอกาสที่จะเดินทางไปยังประเทศจีนด้วย   เจเดน บิทเทอร์บอส นักศึกษาวัย 20 ปี ที่เรียนภาษาจีนมาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่จะได้เดินทางไปต่างประเทศมาก   Jaden Bitterbos,…

เหตุจลาจลในสวีเดน กับชายผู้สร้างความเกลียดชัง/บทความต่างประเทศ

Loading

Counter-protesters set fire to a police bus ahead of a demonstration planned by Danish anti-Muslim politician Rasmus Paludan and his Stram Kurs party, in the park Sveaparken in Orebro, Sweden, April 15, 2022. Kicki Nilsson/ TT News Agency/via REUTERS ATTENTION EDITORS – THIS IMAGE WAS PROVIDED BY A THIRD PARTY. SWEDEN OUT. NO COMMERCIAL OR…

สหรัฐฯ ตั้งข้อหาชาวรัสเซีย 13 รายแทรกแซงการเลือกตั้ง ปธน.

Loading

นายโรเบิร์ต มุลเลอร์ ที่ปรึกษาพิเศษผู้ดำเนินการสอบสวนกรณีที่เชื่อว่ารัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ได้ประกาศตั้งข้อหาดำเนินคดีกับชาวรัสเซีย 13 คน ซึ่งมีส่วนพัวพันกับคดีดังกล่าวแล้ว เอกสารแจ้งข้อหาระบุว่า ชาวรัสเซียกลุ่มนี้พยายามสร้างความปั่นป่วนในแวดวงการเมืองของสหรัฐฯ โดยใช้ข้อมูลปลอมแสดงตัวเป็นชาวอเมริกันเข้ามาเปิดบัญชีและทำธุรกรรมทางการเงินจำนวนมาก เพื่อซื้อพื้นที่ลงโฆษณาทางการเมืองเป็นเงินหลายพันดอลลาร์สหรัฐฯในแต่ละเดือน และซื้อพื้นที่ใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สหรัฐฯ เพื่อปกปิดความเกี่ยวข้องที่มีกับรัสเซียอีกด้วย ทางการเชื่อว่าชาวรัสเซียกลุ่มนี้เคยปลอมแปลงตนเป็นชาวอเมริกัน และเดินทางเข้าสหรัฐฯมาเพื่อเตรียมการเรื่องแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2014 โดยอยู่เบื้องหลังการชุมนุมทางการเมืองในสหรัฐฯหลายครั้ง และโพสต์ข้อความเรื่องการเมืองในสื่อสังคมออนไลน์โดยแอบอ้างว่าเป็นชาวอเมริกัน ทั้งยังส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลที่สร้างความเสียหายแก่นางฮิลลารี คลินตัน โดยใช้เงินทุนในการนี้ถึงเดือนละราว 1.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 40 ล้านบาท) นอกจากผู้ที่ถูกตั้งข้อหาดำเนินคดี 13 รายแล้ว ทางการสหรัฐฯยังระบุว่ามีบริษัทของรัสเซียอีก 3 แห่งพัวพันกับกรณีดังกล่าวด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือบริษัท Internet Research Agency ในนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในการสร้างความแตกแยกไม่ลงรอยในระบบการเมืองอเมริกัน ซึ่งรวมถึงการเข้าแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2016 ด้วย อย่างไรก็ตาม นายร็อด โรเซนสไตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แถลงว่า ไม่พบว่ามีชาวอเมริกันคนใดรู้เห็นเป็นใจหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยเจตนา และย้ำว่าแผนการแทรกแซงดังกล่าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้ชนะแต่อย่างใด ผู้นำสหรัฐฯได้ทวีตข้อความหลังรับทราบข่าวการแจ้งข้อหาชาวรัสเซีย 13 รายว่า…