ประท้วงเดือดในเอเธนส์ เหตุประชาชนไม่พอใจกรณีรถไฟชนกันทำให้มีผู้เสียชีวิต 38 ราย

Loading

    ประชาชนกรีซรวมตัวเดินประท้วงในกรุงเอเธนส์ หลังไม่พอใจเหตุรถไฟ 2 ขบวนชนกันจนมีผู้เสียชีวิต 38 ราย แต่รัฐบาลบอกว่าเป็นความผิดพลาดส่วนบุคคล   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 กล่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมชาวกรีกหลายร้อยคน เดินขบวนประท้วงไปตามท้องถนนในกรุงเอเธนส์ โดยกล่าวโทษว่าเป็นความบกพร่องของรัฐบาล หลังเกิดเหตุรถไฟ 2 ขบวนชนกันจนตกรางใกล้เมืองลาริสซาในคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และมีผู้เสียชีวิต 38 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน   ขณะที่รัฐบาลกำลังหาสาเหตุที่แท้จริงของโศกนาฏกรรมทางรถไฟที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของประเทศกรีซ โดยชี้ว่าเป็นความผิดส่วนบุคคลของนายสถานีรถไฟวัย 59 ปี ที่ถูกอัยการเรียกสอบสวนเพื่ออธิบายว่ารถไฟโดยสารที่มีผู้โดยสารมากกว่า 350 คนได้รับอนุญาตให้วิ่งบนเส้นทางเดียวกับรถไฟบรรทุกสินค้าเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรได้อย่างไร พร้อมตั้งข้อหากระทำการโดยประมาทอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและอาจเผชิญโทษจำคุกตลอดชีวิตหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง   นายกรัฐมนตรีคีรีอาคอส มิตโซทาคิส ของกรีซ ลงพื้นที่เกิดเหตุด้วยตัวเอง และกล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกิดอุบัติเหตุแบบนี้จากความผิดพลาดของบุคคล พร้อมประกาศไว้อาลัยทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน และให้สัญญาว่าจะทำการสอบสวนอย่างเต็มที่   อย่างไรก็ดี สหภาพแรงงานการรถไฟกล่าวว่า นายสถานีน่าจะตกเป็นแพะรับบาป เนื่องจากข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยของเส้นทางรถไฟสายเอเธนส์-เทสซาโลนิกิเป็นที่รู้กันมานานหลายปีแล้ว   ในจดหมายเปิดผนึกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ บรรดาพนักงานรถไฟแจกแจงว่า…

ศาลฮ่องกงเปิดพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่

Loading

สมาชิกสันนิบาตโซเชียลเดโมแครตฮ่องกงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกันออกจากพื้นที่ หลังจากถือป้ายประท้วงและพยายามตะโกนนอกศาลในฮ่องกง ขณะมีการพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้ถูกกล่าวหา 47 คน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ (Photo by Peter PARKS / AFP)   การพิจารณาคดีด้านความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่สุดของฮ่องกงเปิดฉากขึ้นในวันจันทร์ โดยมีบุคคลผู้ฝักใฝ่ประชาธิปไตยหลายสิบคนถูกกล่าวหาว่าพยายามโค่นล้มรัฐบาลและอาจได้รับโทษประหนึ่งอาชญากร   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า ศาลฮ่องกงเปิดพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้ถูกกล่าวหาถูกไต่สวน 47 คน และอาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหากถูกตัดสินว่ามีความผิด   ผู้เห็นต่างในดินแดนของจีน ซึ่งรวมถึงนักเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยที่มีชื่อเสียงในเกาะฮ่องกง ถูกเรียกมาขึ้นศาลเพื่อไต่สวน โดยมีการเปิดเผยภายหลังว่า ผู้ถูกดำเนินคดี 16 คนปฏิเสธความผิดในข้อหา “สมรู้ร่วมคิดในการกระทำเพื่อโค่นล้มรัฐบาลจากการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นอย่างไม่เป็นทางการ”   ขณะที่อีก 31 คนสารภาพผิดตามข้อกล่าวหาและจะถูกตัดสินโทษหลังกระบวนการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น   ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งทำการชุมนุมประท้วงเล็ก ๆ บริเวณหน้าศาลฮ่องกง ท่ามกลางการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ   ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การพิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นว่าระบบกฎหมายถูกใช้เพื่อบดขยี้ฝ่ายตรงข้ามด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคง ทั้ง ๆ ที่การต่อต้านเผด็จการไม่ใช่อาชญากรรม   ผู้ถูกดำเนินคดีต้องเผชิญกับการพิจารณาคดีที่คาดว่าจะใช้เวลานานกว่า 4…

ประท้วงต่อต้านเผาอัลกุรอาน ลุกลามทั่วตะวันออกกลาง

Loading

    การตัดสินใจของสวีเดนที่อนุญาตให้นักการเมืองขวาจัดจากเดนมาร์ก จัดกิจกรรมเผาคัมภีร์อัลกุรอานที่ด้านหน้าสถานทูตตุรกีในกรุงสตอกโฮล์มเมื่อวันเสาร์ที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่อตุรกี   และกำลังส่งผลต่อการเข้าเป็นสมาชิก “นาโต” ของสวีเดน เนื่องจากตุรกีสามารถใช้สิทธิ์ในการโหวตคัดค้านได้ และเมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี เรเจป เทย์ยิป เออร์โดอัน ผู้นำตุรกีออกมาประกาศจุดยืนเรื่องนี้แล้ว โดยระบุชัดเจนว่าตุรกีจะไม่ยกมือสนับสนุนให้สวีเดน   นอกจากนี้ยังเกิดการประท้วงในหลายเมืองของประเทศตุรกี และกำลังขยายเป็นวงกว้างทั่วตะวันออกกลาง   การจุดไฟเผาธงชาติสวีเดนของกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของทางการสวีเดนที่อนุญาตให้ราสมุส ปาลูดาน นักการเมืองชาวเดนมาร์กเชื้อสายสวีเดนซึ่งมีจุดยืนต่อต้านผู้อพยพ จัดกิจกรรมเผาคัมภีร์อัลกุรอานบริเวณด้านหน้าสถานทูตตุรกีในกรุงสตอกโฮล์มเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา   นอกจากที่จอร์แดนแล้ว ยังมีรายงานการประท้วงเกิดขึ้นตามท้องถนนในกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก และกรุงซานาของเยเมนด้วย   โดยกลุ่มผู้ประท้วงชูป้ายที่มีเนื้อหาประณามรัฐบาลสวีเดน พร้อมตะโกนข้อความต่อต้านการเผาคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้ประท้วงหลายคนระบุว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้   ขณะที่รัฐบาลสวีเดนยังคงยืนยันปกป้องการตัดสินใจของตัวเองที่อนุญาตให้จัดกิจกรรมเผาคัมภีร์อัลกุรอาน โดยระบุว่านี่คือการเคารพเสรีภาพในการแสดงออกตามหลักการประชาธิปไตย   กิจกรรมการเผาคัมภีร์อัลกุรอานของนักการเมืองฝ่ายขวาในสวีเดนคราวนี้ มีจุดประสงค์เพื่อประท้วงต่อประธานาธิบดีเออร์โดอัน ผู้นำตุรกีที่พยายามกดดันสวีเดนให้กวาดล้างกลุ่มเคลื่อนไหวชาวเคิร์ดพลัดถิ่นในสวีเดนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ตุรกีจะไม่ขัดขวางสวีเดนในการขอเข้าเป็นสมาชิกนาโต ทำไมตุรกีต้องการให้สวีเดนกวาดล้างชาวเคิร์ดพลัดถิ่น   เคิร์ดคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรอยู่ 40 ล้านคน ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในตุรกีมากที่สุดถึง 20 ล้านคน หรือคิดเป็น…

เปรูปิด ‘มาชูปิกชู’ ไม่มีกำหนด ประท้วงต้านผู้นำลามทั่วประเทศ

Loading

    ทางการเปรูสั่งปิดมาชูปิกชู สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างไม่มีกำหนด ท่ามกลางการประท้วงรุนแรงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ ทำให้มีผู้บาดเจ็บเพิ่มอีกกว่า 50 รายในวันเสาร์   เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ม.ค. 2566 รัฐบาลของประเทศเปรูประกาศปิด มาชูปิกชู หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของประเทศ อย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องนักท่องเที่ยวและพลเมืองของตัวเอง หลังจากการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีลุกลามไปในหลายเมืองทั่วประเทศ   คำสั่งปิดมาชูปิกชูเกิดขึ้นหลังจากบริการรถไฟมายังมรดกโลกแห่งนี้ถูกระงับ เนื่องจากรางรถไฟถูกผู้ประท้วงสร้างความเสียหาย ทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนหลายร้อยคนติดค้าง โดยแถลงการณ์จากกระทรวงวัฒนธรรมเปรู ระบุว่า นักท่องเที่ยวที่ซื้อตั๋วแล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้ 1 เดือนหลังการการชุมนุมสิ้นสุด หรือจะขอเงินคืนก็ได้   เมื่อเดือนก่อน การประท้วงก็ทำให้เจ้าหน้าที่ของเปรูต้องช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหลายร้อยคนออกจากพื้นที่ใกล้เคียงมาชูปิกชู หลังจากติดค้างอยู่ที่นั่นนานหลายวัน   ทั้งนี้ เปรูเผชิญการประท้วงรุนแรงมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคมปี 2565 หลังประธานาธิบดีคนก่อนถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 50 ศพ โดยผู้ประท้วงเรียกร้องให้ นางดีนา โบลูอาร์เต ผู้นำคนใหม่ลาออกจากตำแหน่ง แต่จนถึงตอนนี้เธอยังคงปฏิเสธที่จะทำตามข้อเรียกร้อง   ในการปะทะที่เกิดขึ้นล่าสุด ถนนหลายสายในกรุงลิมาถูกปิดกั้น ตำรวจต้องยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่ขว้างปาก้อนหินเข้าใส่เจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า…

อังกฤษเล็งเพิ่มอำนาจตำรวจเพื่อยุติการประท้วง หวั่นส่งผลกระทบประชาชน

Loading

    รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูนัค จะประกาศข้อเสนอใหม่ ๆ เพื่อปราบปรามการประท้วง ในวันนี้ (16 ม.ค.) โดยจะมอบอำนาจพิเศษให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อป้องกันเหตุการณ์ชะงักงันอันเนื่องมาจากการประท้วง   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การประท้วงในอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้มีการปิดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางกรุงลอนดอนและปิดกั้นการจราจรบนทางหลวงสายสำคัญ ซึ่งทำให้ต้องออกกฎเพิ่มอำนาจพิเศษให้ตำรวจเพื่อเข้ามาหยุดยั้งความวุ่นวาย   รัฐบาลอังกฤษได้ผ่านกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในปี 2565 แต่กำลังวางแผนที่จะดำเนินการเพิ่มเติมด้วยกฎหมายชุดใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ ร่างกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Public Order Bill)   ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการอภิปรายในรัฐสภา ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มอิทธิพลเมืองที่กล่าวว่าเป็นการต่อต้านประชาธิปไตยและให้อำนาจแก่ตำรวจมากเกินไป   รัฐบาลต้องการแก้ไขร่างกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชนก่อนที่จะออกเป็นกฎหมาย เพื่อขยายคำจำกัดความทางกฎหมายของ “การหยุดชะงักอย่างร้ายแรง” เพื่อให้ตำรวจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และให้ความชัดเจนทางกฎหมายว่าอำนาจใหม่จะถูกนำมาใช้เมื่อใด   นายซูนัคกล่าวในแถลงการณ์เมื่อค่ำวานนี้ว่า “สิทธิในการประท้วงเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยของเรา แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องที่แน่นอน เราไม่สามารถปล่อยให้การประท้วงจากคนส่วนน้อยส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ได้ เราจะต้องดำเนินการให้เรื่องนี้ยุติลง”   ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่า หากกฎหมายใหม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ายุติการประท้วงได้ทันที       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :       …

ชาวยิวชุมนุมใหญ่ใน 3 เมือง ต่อต้าน “นโยบายขวาจัด” ของเนทันยาฮู

Loading

  ประชาชนในเมืองใหญ่ 3 แห่งของอิสราเอล พร้อมใจกันจัดการประท้วง ต่อต้านนโยบายหลายด้าน ที่ประกาศโดยรัฐบาลขวาจัดของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งกลับมานำรัฐบาลขวาจัดที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล โดยเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว เกิดขึ้นในเมืองใหญ่สามแห่ง ได้แก่ กรุงเทลอาวีฟ นครเยรูซาเลม และเมืองไฮฟา เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา   ด้านสื่อท้องถิ่นหลายแห่งรายงานโดยอ้างเป็นสถิติของตำรวจ ว่า จำนวนประชาชนเข้าร่วมการประท้วงในเมืองทั้งสามแห่ง มีจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 80,000 คน ถือเป็นการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลอิสราเอลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ   ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการเดินขบวนร่วมกันชูแผ่นป้ายข้อความ ที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านฟาสซิสต์ คัดค้านการเหยียดผิว และแสดงความกังวลต่อการที่ “ประชาธิปไตยของอิสราเอลกำลังตกอยู่ในอันตราย” ตลอดจน “การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม”         นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการชุมนุมจำนวนไม่น้อยชูธงชาติปาเลสไตน์ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ต่อต้านการที่ นายอิตามาร์ เบน-กวีร์ รมว.ความปลอดภัยแห่งชาติของอิสราเอล…