เปรูประกาศเคอร์ฟิวทางภาคใต้ หลังผู้ประท้วงปะทะ จนท.

Loading

  เปรู 11 ม.ค.- ทางการเปรูประกาศเคอร์ฟิวในเขตปูโน ทางภาคใต้ หลังเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 18 คน   นายกรัฐมนตรีอัลเบอร์โต โอตาโรลา ประกาศเคอร์ฟิวเป็นเวลา 3 คืน ตั้งแต่เวลา 20.00-04.00 น.ของเช้าวันใหม่ เพื่อควบคุมสถานการณ์และรักษาความสงบเรียบร้อย หลังเกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีเปโดร คาสตินโญ ที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งไป เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา และเมื่อคืนนี้ยังมีการปล้นสะดมร้านค้า รวมทั้งทุบทำลายรถของตำรวจในพื้นที่ทางภาคใต้     ผู้เสียชีวิต 18 คน จากเหตุปะทะกันเมื่อวันก่อนในจำนวนนี้ 14 คน เป็นผู้ประท้วงที่พยายามจะบุกเข้าไปในสนามบินเมืองจูเลียกา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงคอยดูแลความปลอดภัยอยู่ และมีหลายคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ส่วนผู้ประท้วงอีก 3 คน เสียชีวิตระหว่างก่อเหตุปล้นสะดมห้างสรรพสินค้า ใจกลางเมืองจูเลียกา และอีกคนหนึ่งเป็นตำรวจที่เสียชีวิต จากการถูกผู้ประท้วงจุดไฟเผารถยนต์ นับตั้งแต่การประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนที่แล้ว จนถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 40 คน ขณะที่รัฐบาลเปรูกล่าวปกป้องปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในเมืองจูเลียกา ว่าเป็นการป้องกันและดูแลความปลอดภัยของสนามบิน ที่กำลังเผชิญกับความพยายามก่อรัฐประหารของผู้ประท้วงหลายพันคน แต่สหประชาชาติก็เรียกร้องให้ทางการเปรูเร่งสอบสวนเรื่องผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บ…

ผู้สนับสนุนอดีตผู้นำบราซิลบุกอาคารรัฐสภา-ทำเนียบปธน.

Loading

BRAZIL-POLITICS-BOLSONARO-SUPPORTERS-DEMONSTRATION   ผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีบราซิล จาอีร์ โบลโซนาโร บุกอาคารศาลสูง อาคารรัฐสภา และปิดล้อมทำเนียบประธานาธิบดี ในกรุงบราซิเลียเมืองหลวง เมื่อวันอาทิตย์ ตามรายงานของรอยเตอร์   สื่อในบราซิลรายงานว่า ผู้ประท้วงประมาณ 3,000 คน บุกรุกเข้าไปในอาคารที่ทำการศาลสูงบราซิล อาคารรัฐสภา พร้อมทั้งปิดล้อมทำเนียบประธานาธิบดีที่เมืองหลวงบราซิล ซึ่งคล้ายกับภาพของเหตุจลาจลบุกอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 มกราคม ปี 2021 โดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์   Supporters of Brazil’s former President Jair Bolsonaro demonstrate against President Luiz Inacio Lula da Silva, in Brasilia   ผู้ประท้วงบราซิลจำนวนมาก แสดงความไม่พอใจต่อผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมปีก่อน ที่ลูอิส อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา…

กราดยิงในปารีส มุ่งเป้าชาวต่างชาติ เสียชีวิต 3 ราย

Loading

  มือปืนวัย 69 ปี เปิดฉากกราดยิงที่ศูนย์วัฒนธรรมของชาวเคิร์ดและร้านทำผมในกรุงปารีส เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 3 คน เชื่อตั้งใจมุ่งเป้าสังหารชาวต่างชาติ   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 กล่าวว่า เกิดเหตุกราดยิงอุกอาจที่ศูนย์วัฒนธรรมของชาวเคิร์ดและร้านทำผมในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อช่วงเวลาประมาณ 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)   เจ้าหน้าที่ตำรวจปิดล้อมที่เกิดเหตุกราดยิงบนถนนด็องกียง ใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม มีผู้เสียชีวิต 3 รายและบาดเจ็บ 3 คน จากเหตุดังกล่าว (Photo by Thomas SAMSON / AFP)   ที่เกิดเหตุอยู่ในละแวก rue d’Enghien ซึ่งเป็นย่านทันสมัยของกรุงปารีส ที่เต็มไปด้วยร้านค้าและร้านอาหารมากมาย และเป็นที่อยู่ของชาวเคิร์ดจำนวนมาก  …

ประท้วงใหญ่ในเปรูพ่นพิษ นักท่องเที่ยวเกือบ 300 คนติดค้างที่ “มาชูปิกชู”

Loading

  นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลายร้อยคนติดค้างอยู่ในหมู่บ้านใกล้ มาชูปิกชู โบราณสถานบนยอดเขาสูงของเปรู หลังประเทศตกอยู่ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสืบเนื่องจากการประท้วง ที่เริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว   “ดาร์วิน บาคา” นายกเทศมนตรีเมือง มาชูปิกชู ของเปรู เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (16 ธ.ค.) ว่า มีนักท่องเที่ยวเกือบ 300 คนจากทั่วโลก ติดค้างอยู่ในโบราณสถานอารยธรรมอินคา มาชูปิกชู ซึ่งมีทั้งชาวเปรู อเมริกาใต้ อเมริกัน และยุโรป และเขาเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเฮลิคอปเตอร์มาช่วยอพยพนักท่องเที่ยว เพราะรถไฟ ที่เป็นพาหนะเข้าออกเมืองได้เพียงอย่างเดียวหยุดวิ่งให้บริการ   ทั้งนี้ รถไฟที่วิ่งเข้าออก มาชูปิกชู มรดกโลกที่ได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโก หยุดวิ่งตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หลังจากทางรถไฟถูกผู้ประท้วงปิดกั้น และนักท่องเที่ยวยังคงติดค้างอยู่ในหมู่บ้าน อากูอัส กาเลียนเตส ที่บริเวณตอนล่างของมาชูปิกชูเมื่อวันเสาร์ โดยรถไฟยังคงจอดนิ่งที่สถานีรถไฟ ทั้งที่ควรจะพาพวกเขากลับไปที่เมืองซัสโกเมื่อหลายวันที่แล้ว   เปรู ตกอยู่ในวิกฤตการเมืองหลังจากประธานาธิบดีเปโดร กัสติโย ประกาศยุบสภา แต่รัฐสภามีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งทันที และแต่งตั้งรองประธานาธิบดี ดีนา โบลูอาร์เต เป็นประธานาธิบดีคนใหม่เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.…

โลกระทึก! “อีลอน มัสก์” เตรียมเปิดเน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” ให้เตหะรานใช้ฟรีหลังวอชิงตันไฟเขียว ตำรวจศีลธรรมอิหร่านโดนคว่ำบาตรเซ่นคดี “มาห์ซา อามินี” ตายไปแล้วกว่า 41 โดนจับ 1,200

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ยอดเสียชีวิตสื่อทางการการประท้วงอิหร่านล่าสุดมีไม่ต่ำกว่า 41 คน และถูกจับอีก 1,200 คน ขณะที่อีลอน มัสก์ แถลงวันศุกร์ (23 ก.ย.) ว่า สตาร์ลิงค์จะเริ่มต้นเปิดสัญญาณให้ประชาชนอิหร่านใช้หลังถูกเตหะรานสั่งตัดสัญญาณเป็นวงกว้างหลังวอชิงตันไฟเขียว และสหรัฐฯ ยังสั่งขึ้นบัญชีดำคว่ำบาตรตำรวจศีลธรรมอิหร่านต้นตอการเสียชีวิตของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” หลังดับขณะถูกควบคุมในข้อหาสวมญิฮาบไม่ถูกตามกฎผมไม่กี่ช่อโผล่   รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) ว่า ประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ประกาศวันเสาร์ (24) ว่า เขาจะเดินหน้าใช้ความเฉียบขาดในการจัดการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดหลังเหตุการเสียชีวิตภายใต้เงื้อมมือของตำรวจศีลธรรมอิหร่าน ของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” (Mahsa Amini)   อ้างอิงจาก CNN โดยมารินา เนมัต (Marina Nemat) พบว่า อามานีที่มีรูปลักษณ์ชวนมองเสียชีวิตเนื่องมาจากอามินี ปล่อยช่อผมไม่กี่ช่อให้โลกได้เห็น และผิดกฎเคร่งครัดในการสวมญิฮาบของอิหร่านทันที…

เปิดไทม์ไลน์ “ม็อบอิหร่าน” กับกระแสต่อต้านตำรวจทำร้ายผู้หญิงจนเสียชีวิต

Loading

  การประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยชนวนเหตุเกิดจาก ตำรวจศีลธรรมจับกุมหญิงวัย 22 ปี และทำร้ายจนเสียชีวิต ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนอย่างหนัก   ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” ที่รวมตัวกันเพื่อขับไล่ผู้นำสูงสุด ตำรวจศีลธรรมของอิหร่านได้จับกุมและทำร้ายหญิงสาวอายุ 22 ปี ชาวอิหร่านชื่อว่า “มาห์ซา อามินี” ในข้อหาแต่งกายไม่สุภาพ เนื่องจากเธอคลุมฮิญาบไม่เรียบร้อย โดยปล่อยให้มีปอยผมด้านหน้าตกลงมาบริเวณหน้าผาก ซึ่งถือว่าผิดระเบียบข้อบังคับในการสวมฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะ ทำให้ชาวอิหร่านส่วนใหญ่มองว่าการกระทำของตำรวจในครั้งนี้เกิดกว่าเหตุ   หลังจากนั้นในวันที่ 16 ก.ย. อามินี ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าที่โรงพยาบาลก็ได้เสียชีวิตลงจากอาการสมองตาย โดยตามร่างกายของเธอมีบาดแผลฟกช้ำที่เกิดจากการถูกทำร้าย แต่ตำรวจอ้างว่าเธอเสียชีวิตเพราะมีอาการป่วยระหว่างการจับกุมตัวร่วมกับผู้หญิงคนอื่น และไม่ได้ทุบตีเธอตามที่หลายฝ่ายอ้าง แม้ครอบครัวของเธอจะยืนยันว่าเธอไม่เคยมีปัญหาสุขภาพก็ตาม   เมื่อข่าวแพร่ออกไปทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก แม้แต่ชาวอิหร่านที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนการสวมฮิญาบยังมองว่าตำรวจทำเกินกว่าเหตุ การเสียชีวิตของอามินีจึงกลายเป็นชนวนที่เพิ่มความรุนแรงให้กับการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เป็นเท่าทวีคูณ   เกิดอะไรขึ้นที่อิหร่าน   การประท้วงของชาวอิหร่านหรือ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มต้นเมื่อประมาณวันที่ 10 ก.ย. ที่ผ่านมาโดยม็อบต้องการขับไล่ผู้นำสูงสุด “อายะตุลลอฮ์…