ล้วงลึกปั่นข่าวลวง ‘สงครามกลางเมือง’ ในเท็กซัส เป็นกระแสโซเชียลจีน

Loading

  ท่ามกลางความเห็นขัดแย้งระหว่างเท็กซัส กับทำเนียบขาวรุนแรงขึ้น ต่อปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย ดูเรื่องราวจะไปกันใหญ่ เมื่อมือดีปล่อยข่าวลวงในจีนว่า เมืองโลนสตาร์ประกาศสงครามเป็นทางการ หวังแยกตัวจากสหรัฐ แล้วเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับจีน   Key Points : •  มีผู้อพยพข้ามแดนผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส •  กระแสในโซเชียลมีเดียจีน ระบุ แอบบอตต์กำลังตั้งตัวเป็นปรปักษ์ และวางแผนทำสงครามกับรัฐบาลกลางสหรัฐ •  สื่อจีนมักจะนำเสนอประเด็นความแตกแยกทางการเมืองของสหรัฐอยู่เป็นประจำ ประกอบกับโลกแบ่งขั้วกันมากขึ้น ยิ่งตอกย้ำความเชื่อว่า สหรัฐจวนเจียนเกิดความแตกแยกภายในประเทศ   ตอนนี้เหตุการณ์ในเท็กซัส กำลังนำไปสู่ความแตกแยกที่ฝั่งรากลึก จนจะไปถึงจุดสร้างความไม่สงบในสังคมสหรัฐ   นับตั้งแต่ต้นปี 2564 มีผู้อพยพข้ามแดนอย่างผิดกฎหมายเข้ามายังสหรัฐ มากกว่า 6.3 ล้านคน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และได้สร้างความขัดแย้งที่รุนแรง ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน และเกร็ก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส   ปฏิบัติการโลนสตาร์…

ว่าด้วย Fake News

Loading

  Fake News เป็นศัพท์นิยมขณะนี้เกี่ยวกับพฤติกรรมใส่ร้ายหรือหลอกลวงด้วยข่าวสาร การรายงานหรือนำเสนอด้วยข้อมูลเท็จ หรือการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารสำหรับใช้โจมตีหรือทำลายฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะกระทำเป็นการเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคล กลุ่มบุคคล หรือมุ่งให้เกิดความล่มสลายต่อเนื่องแบบโดมิโนในระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือการทหารก็ได้ ในอดีตการสร้างเรื่องราวใส่ร้ายหรือการหลอกลวงด้วยข้อมูลข่าวสารเสมือนจริงเช่นเดียวกับ Fake News คือ การบ่อนทำลาย ซึ่งนับเป็นวิธีที่ยากลำบากต่อการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยหรือคุ้มครองป้องกัน แต่มีจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการด้วยระยะเวลายาวนาน ที่อาจเป็นเหตุให้บรรดาเป้าหมายตรวจสอบพบก่อนที่การบ่อนทำลายจะบรรลุผล     ปัจจุบันการคุ้มครอง ป้องกัน และเผชิญกับ Fake News นับเป็นความยากลำบากที่ยิ่งทวีมากขึ้น เนื่องมาจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารผ่านระบบเทคโนโลยีการสื่อสารในขณะนี้เป็นไปอย่างไร้ขอบเขตและรวดเร็ว ถึงแม้นานาประเทศพยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เพื่อให้แยกแยะและต่อต้าน Fake News ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเท็จ ข่าวสารลวง และข้อมูลข่าวสารที่ถูกบิดเบือนเหล่านั้น อย่างเช่น องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จัดทำ “Journalism, ‘Fake News’ and Disinformation” และเผยแพร่รายละเอียดผ่านทาง https://en.unesco.org คู่มือของ UNESCO ดังกล่าวนำเสนอข้อมูลและแนวการอบรมสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเข้ามาศึกษา ฝึกอบรม ประกอบการเรียนการสอน…