กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับโกหก และช่วยสอบสวนคดีความ

Loading

  กำเนิด “เครื่องจับเท็จ” ยุคมนุษย์ยังพยายามหาวิธีจับ “โกหก” และช่วยสอบสวนคดีความ   “การโกหก” เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นถึงนิสัยของมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ ช่างเรียนรู้และช่างปรับตัว เมื่อใดก็ตามที่โกหก เราสามารถสังเกตโดยวิธีง่าย ๆ ด้วยการสังเกตสีหน้าและกิริยาท่าทาง หากพยายามจะปกปิดความจริง จะมีอาการหัวใจเต้นแรงหรือเลือดลมสูบฉีด อาการเหล่านี้เกิดจากความกลัวที่อาจถูกจับเท็จได้   หากแม้โกหกสำเร็จไปแล้วโดยเข้าใจว่าไม่มีผู้ใดทราบว่าตนพูดเท็จ ก็อาจจะหายใจแรงอย่างโล่งอก แต่ถ้าถูกจับเท็จได้ก็อาจรู้สึกร้อนหน้า กัดริมฝีปาก หลบสายตา พูดเสียงอ่อย หรือฝืนหัวเราะ ตลอดจนเคลื่อนไหวมือหรือเท้าที่มีลักษณะแสดงความไม่สบายใจ   มนุษย์ (ที่ชอบโกหก) เมื่อทราบว่ากิริยาอาการเหล่านั้น เป็นอาการ “เลิ่กลั่ก” จนทำให้ “โป๊ะแตก” เขาก็เรียนรู้และปรับตัว พยายามควบคุมสติ ควบคุมร่างกาย เพื่อปิดบังอาการเหล่านั้น และเมื่อไม่สามารถจับเท็จด้วยวิธีการดังนี้ได้แล้ว มนุษย์ก็เรียนรู้ได้ว่าจะต้องหากลวิธีใหม่มาจับเท็จ นั่นจึงนำไปสู่การสร้าง “เครื่องจับเท็จ” (Lie-Detector)   ตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์ได้ใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อพิสูจนผู้ต้องสงสัยว่าใคร “โกหก” ใครเป็นผู้กระทําความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์   ตุลาการจีนเคยใช้ “สรีรวิทยา”…

ไทยเข้าวิน! เจ้าภาพประชุม AI โลก วางกรอบถกจริยธรรม-ความยั่งยืน

Loading

    ยูเนสโกเลือกไทย! จัดประชุมถกจริยธรรม AI ระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก รวมพลผู้นำ-ผู้เชี่ยวชาญ 194 ประเทศ แห่ร่วมงาน มิ.ย.68 ตั้งเป้าผู้เข้าร่วม 800 คน   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าสร้างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2567   รายงานจาก สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า องค์กรในประเทศไทยมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้นถึง 73.3% สูงกว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 20% สะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม   ทั้งนี้ รัฐบาลยังผลักดันแนวทางสำคัญในการกำกับดูแล AI ด้วย “คู่มือแนวทางการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล” และ…

ญี่ปุ่นเตรียมใช้ “เอไอ” จัดการเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ “มังงะ-อนิเมะ”

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ว่า กลุ่มผู้จัดพิมพ์ในญี่ปุ่น กล่าวเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ว่ามีเว็บไซต์อย่างน้อย 1,000 แห่ง ให้บริการดาวน์โหลดเนื้อหาภาษาญี่ปุ่นฟรีอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมังงะที่มีชื่อเสียงระดับโลก

EU ออกกฎหมายใหม่เสริมแกร่งไซเบอร์ ผุดศูนย์ AI รับมือภัยคุกคามทั่วยุโรป

Loading

สภาสหภาพยุโรป (EU) ได้รับรองกฎหมายใหม่สองฉบับเมื่อวานนี้ (2 ธ.ค.) เพื่อเสริมแกร่งการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ และส่งเสริมความร่วมมือด้านไซเบอร์ระหว่างประเทศสมาชิกให้เข้มแข็งขึ้น

แฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือทำเงินกว่า 10 ล้านบาท จากการใช้ AI มาช่วย Scam ผู้ใช้งาน Linkedin

Loading

AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ นั้นมีประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลายทั้งแง่บวกแง่ลบ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาช่วยงานให้มีความไวในการจัดการที่มากขึ้น ไปจนถึงกระทั่งการนำเอามาช่วยเขียนมัลแวร์ หรือ นำเอาไปช่วยในการหลอกลวงผู้คน

ลอนดอนทดลองใช้ AI ช่วยควบคุมการจราจรทางอากาศในสนามบิน

Loading

    สนามบินฮีทโธรว์ (Heathrow Airport) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หนึ่งในสนามบินที่มีการใช้งานมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กำลังทดลองใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อช่วยควบคุมการจราจรทางอากาศ และการใช้งานในสนามบิน เพื่อปรับปรุงด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย   สนามบินฮีทโธรว์ เผชิญกับความท้าทายในการจัดการเครือข่ายการจราจรทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดย แนตส์ (NATS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดูแลการควบคุมการจราจรทางอากาศของสนามบินแห่งนี้เผยว่า บริษัทต้องจัดการเที่ยวบินเกือบ 475,000 เที่ยวบินต่อปี หรือราว 1,400 เที่ยวบินในแต่ละวัน   ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการบินยุคใหม่ สนามบินฮีทโธรว์ จึงได้เริ่มทดลองใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่มีชื่อว่า เอมี่ (Amy) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมการจราจรทางอากาศแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ   ตัวระบบออกแบบให้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่มนุษย์ เพื่อช่วยให้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการจราจรทั้งภาคพื้นดิน และบนอากาศ ระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI นี้ จะใช้เครือข่ายกล้องความละเอียดระดับ 4K และเทคโนโลยีเรดาร์ โดยกล้องเหล่านี้ จะติดตั้งบนหอควบคุมการจราจรทางอากาศ และรอบ ๆ สนามบิน เพื่อสร้างภาพตำแหน่งเครื่องบินแบบองค์รวม ซึ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำ และความปลอดภัย…