แนวโน้มสงครามยูเครนในปี 2023 | สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

  สงครามยูเครนเดินทางมาถึง 1 ปีอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหากดูอำนาจกำลังรบแล้ว กองทัพยูเครนไม่อยู่ในสถานะที่จะรับมือกับการโจมตีขนาดใหญ่ของกองทัพรัสเซียได้เลย   ดังจะเห็นได้จากตัวเลขก่อนสงครามว่า กองทัพบกยูเครนมีกำลังเพียง 145,000 นาย ในขณะที่กองทัพบกรัสเซียมีกำลังมากถึง 280,000 นาย หรือยูเครนมีรถถังหลักเพียง 854 คัน ส่วนรัสเซียมีมากถึง 2,750 คัน กองทัพบกรัสเซียใหญ่เป็น 2 เท่า และมีรถถังมากกว่าประมาณ 3 เท่าของกองทัพบกยูเครน   ปีแรกของสงคราม   หากคิดในมุมของการเปรียบกำลังรบแล้ว จึงแทบมองไม่เห็นหนทางที่ยูเครนจะอยู่รอดได้ถึง 1 ปีเลย เว้นแต่กองทัพรัสเซียมีปัญหาในตัวเอง และไม่มีความพร้อมรบในการทำสงครามขนาดใหญ่ ซึ่งภาวะเช่นนี้ ส่งผลให้กองทัพรัสเซียต้องใช้อำนาจทางทหารกระทำต่อเป้าหมายพลเรือนมากขึ้น เพื่อให้สังคมยูเครนอ่อนล้าจนรบต่อไปไม่ได้ แต่สภาพดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง รัฐบาลและกองทัพยูเครนยังคงดำรงความสามารถทางทหารที่ยังทำการรบต่อไปได้ แม้สังคมยูเครนในปีแรกจะบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามของรัสเซีย   อย่างไรก็ตาม ถ้าแผนการสงครามเดินไปตามความคาดหวังของประธานาธิบดีปูตินแล้ว การบุกคีฟเพื่อยึดเมืองหลวงของยูเครนน่าจะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากการเปิดสงคราม แต่เมื่อ “ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร” (special military operations) ไม่ประสบความสำเร็จได้จริงแล้ว สงครามจึงพลิกไปในอีกแบบหนึ่ง     หากย้อนกลับไปเมื่อสงครามเริ่มต้นในวันที่…

ปูตินเตือน! ตอบโต้ทันทีหากนาโต้ติดตั้งเครือข่ายการทหารในสวีเดน-ฟินแลนด์

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ได้เตือนไปถึงบรรดาชาติตะวันตกในวันจันทร์ว่า รัสเซียจะตอบโต้ทันทีหากองค์การนาโต้เริ่มสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางทหารในสวีเดนหรือฟินแลนด์ หลังจากที่ทั้งสองประเทศตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การนาโต้แล้ว ที่ผ่านมา ปธน.ปูติน มักเน้นย้ำว่า การขยายอิทธิพลขององค์การนาโต้เข้ามาทางภาคตะวันออกของยุโรปติดชายแดนรัสเซียในช่วงหลังยุคสหภาพโซเวียต คือเหตุผลที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในยูเครนในขณะนี้ ในวันจันทร์ ปธน.รัสเซีย กล่าวต่อบรรดาผู้นำของประเทศพันธมิตรที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียต โดยระบุว่า สหรัฐฯ ใช้องค์การนาโต้ในแนวทางที่ก้าวร้าวซึ่งยิ่งสร้างความยุ่งยากให้กับสถานการณ์ด้านความมั่นคงของโลก ปูตินกล่าวด้วยว่า รัสเซียไม่มีปัญหากับฟินแลนด์และสวีเดน ดังนั้นจะไม่มีภัยคุกคามโดยตรงจากการที่ทั้งสองประเทศนี้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การนาโต้ “แต่หากมีการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารของนาโต้เข้าไปในเขตแดนของสองประเทศนี้ จะมีการตอบโต้ทันทีจากรัสเซีย” ผู้นำรัสเซียระบุที่ทำเนียบเครมลินว่า “การตอบโต้ดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับภัยคุกคามต่อรัสเซียว่ามาในรูปแบบใด” และว่า “ปัญหาถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีเหตุผลใดรองรับ ซึ่งรัสเซียจะตอบโต้ตามสิ่งที่เกิดขึ้น” แม้ ปธน.ปูติน ยังมิได้ระบุชัดเจนว่ามาตรการตอบโต้นั้นคืออะไร แต่เมื่อเดือนที่แล้ว อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ซึ่งเป็นคนสนิทที่สุดของปูติน กล่าวว่า รัสเซียอาจติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงในแคว้นคาลินอินกราดของรัสเซีย ติดกับสแกนดิเนเวีย หากฟินแลนด์และสวีเดนเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้จริง ๆ ทั้งนี้ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1949 เพื่อสร้างความร่วมมือทางการทหารขึ้นมาต้านทานอำนาจการทหารของสหภาพโซเวียตในสมัยนั้น โดยมีสหรัฐฯ เป็นแกนนำ ซึ่งในปัจจุบัน นาโต้มีกำลังทหารเหนือกว่ารัสเซียในเกือบทุกด้าน…

สื่ออเมริกันรายงาน “ปูติน” สั่งกักบริเวณ “สายลับ FSB แผนกที่ 5 คนสำคัญ” รับผิดชอบสอดแนมยูเครน ส่อไม่ไว้ใจเพิ่มขึ้น

Loading

  เอเจนซีส์ – มีรายงานผู้นำรัสเซียสั่งกัก พลเอกอาวุโสเซอร์เก เบเซดา (Colonel-General Sergei Beseda) และผู้ช่วยของเขาของหน่วยงานที่ 5 ภายในสำนักงานความมั่นคงกลางรัสเซีย FSB รับผิดชอบคอยสอดแนมดินแดนเก่าภายใต้อดีตสหภาพโซเวียตทั้งหมด   ฟ็อกซ์นิวส์ รายงานวันจันทร์ (21 มี.ค.) ว่า “แผนกที่ 5” (Fifth Service) ซึ่งเป็นหน่วยภายในสำนักงานความมั่นคงกลางรัสเซีย FSB มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและแทรกแซงทางการเมืองในดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้อดีตสหภาพโซเวียตทั้งหมด   ทั้งนี้ มีรายงานว่าประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ออกคำสั่งกักบริเวณเจ้าหน้าที่สายลับระดับสูง FSB จำนวน 2 คน ที่รับผิดชอบเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกยูเครนของรัสเซียที่มีการเปิดเผยคือ พลเอกอาวุโส เซอร์เก เบเซดา ( Colonel-General Sergei Beseda) และผู้ช่วยของเขา ด้วยเหตุผลว่าทั้งคู่อาจกระทำสิ่งผิดพลาดลงไปหรือเป็นแพะสำหรับปฏิบัติการบุกยูเครนที่ไม่คืบหน้า   ซึ่งฝ่ายรัสเซียตั้งความหวังที่จะได้เห็นดอกไม้และการต้อนรับจากชาวยูเครนต่อกองกำลังรัสเซียเมื่อเดินทางเข้าไปถึง และทำให้เป็นคำถามเกิดขึ้นตามมาว่า งบที่ให้สำหรับปฏิบัติการไปหายไปไหน เงินถูกใช้ไปอย่างไม่เหมาะสมหรือมีคนแอบยักยอกโดยกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ   อันเดร โซลดาตอฟ…

เจาะรถประจำตำแหน่งคันใหม่ของ วลาดีเมียร์ ปูติน

Loading

  รถยนต์ประจำตำแหน่งของผู้นำระดับสูงที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จะต้องเป็นยานพาหนะที่ให้ความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ศัตรูที่หมายปองจ้องทำลายล้าง ทำให้รถยนต์ของผู้นำในทุกวันนี้ต้องหุ้มเกราะพร้อมกระจกกันอาวุธสงครามแบบจัดเต็ม รถยนต์แบรนด์ Aurus Senat หรือ Cortege Limousine ผลิตในรัสเซีย กลายเป็นยานพาหนะหรูหุ้มเกราะกันทั้งระเบิดและกระสุนปืนเจาะเกราะ   นี่คือรถประจำตำแหน่งคันใหม่ของ วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย รถ Cortege Limousine คันใหม่ เข้ามารับหน้าที่ต่อจาก Mercedes-Benz S 600 Guard Pullman โดยมีระบบความปลอดภัยและเทคโนโลยีไฮเทคอื่นๆ อีกเพียบ ไม่น้อยหน้ารถของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แม้แต่น้อย       Aurus Senat เป็นแบรนด์รถลีมูซีนที่มีการติดตั้งระบบป้องกันอาวุธหนักของรัสเซีย ถูกสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษตามคำสั่งของปูติน มิติตัวถังของ Cortege Limousine มีความยาว 6,620 มิลลิเมตร กว้าง 2,000 มิลลิเมตร สูง 1,695 มิลลิเมตร ความสูงจากพื้นถึงใต้ท้องรถ…

Cheget กระเป๋าสั่งยิงนิวเคลียร์ที่อยู่กับปูตินทุกที่

Loading

  ปูตินมีกระเป๋าสั่งยิงอาวุธนิวเคลียร์ติดตัวไปด้วยทุกที่ โดยเรียกกระเป๋านี้ว่า เชเกต (Cheget) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติสำหรับการสั่งการและควบคุมกองกำลังนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซีย (SNF) โดยพัฒนาขึ้นในช่วงรัฐบาล ยูริ อันโดรปอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตในช่วงต้นทศวรรษ 1980   แต่กว่าจะนำมาใช้จริงๆ ก็ในสมัยที่ มิคาอิล กอร์บาชอฟ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเมื่อเดือน มี.ค. 1985   ชีเกตจะเชื่อมต่อกับระบบการสื่อสารพิเศษที่มีโค้ดเนมว่า กัฟกัซ (Kavkaz ซึ่งเป็นชื่อท้องถิ่นของภูมิภาคคอเคซัส) ซึ่ง สนับสนุนการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลในขณะที่พวกเขากำลังตัดสินใจว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์หรือไม่   ต่อไปนี้คือขั้นตอนการยิงอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย     ใครมีสิทธิ์ตัดสินใจสั่งยิง   เอกสารเมื่อปี 2020 ฉบับหนึ่งที่ชื่อว่า “หลักการพื้นฐานของนโยบายรัฐของสหพันธรัฐรัสเซียเกี่ยวกับการยับยั้งนิวเคลียร์” ระบุว่า ประธานาธิบดีรัสเซียมีอำนาจตัดสินใจใช้อาวุธนิวเคลียร์ โดยตัวกระเป๋าชีเกตเองนั้นไม่ได้ติดตั้งปุ่มสั่งยิง เพียงแต่ส่งคำสั่งยิงไปยังหน่วยบัญชาการทหารส่วนกลาง นั่นคือเสนาธิการ   ส่วนอีก 2 คนที่มีกระเป๋าชีเกตคือ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมและเสนาธิการเช่นเดียวกับในสมัยโซเวียต     ถ้าปูตินสั่งยิงจะเกิดอะไรขึ้น   เสนาธิการรัสเซียเป็นผู้ถือรหัสสั่งยิงและมี 2 วิธีในการปล่อยหัวรบนิวเคลียร์คือ 1.ส่งรหัสไปยังผู้สั่งการอาวุธแต่ละคน…

ด่วน!! ปูตินสั่งกองกำลังอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียให้เตรียมพร้อม อ้างเหตุถูกแซงก์ชันทางเศรษฐกิจตัดขาดจากระบบ SWIFT

Loading

บานปลายขยายตัวอย่างน่าเสียวไส้ สำหรับความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตก สืบเนื่องจากทัพหมีขาวบุกตะลุยเข้าไปในยูเครน เมื่อประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ออกคำสั่งในวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) ให้กองกำลังป้องปรามทางนิวเคลียร์ของรัสเซียเตรียมพร้อมในระดับสูง เพื่อตอบโต้กับสิ่งที่เขาเรียกว่า เป็น “การแถลงอย่างก้าวร้าว” ของพวกมหาอำนาจนาโต้ชั้นนำ คำสั่งนี้หมายความว่า ปูตินสั่งการให้ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องตระเตรียมอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซียให้พร้อมสำหรับการยิงมากขึ้นไปอีกขั้น ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นการเพิ่มภัยคุกคามที่ความตึงเครียดรัสเซีย-ตะวันตก อาจเดือดปะทุเข้าสู่สงครามนิวเคลียร์ ทั้งนี้ในการออกคำสั่งนี้ ผู้นำรัสเซียยังอ้างอิงถึงการแซงก์ชันทางการเงินอย่างสุดโหดที่ฝ่ายตะวันตกประกาศใช้เล่นงานรัสเซีย รวมทั้งมุ่งเล่นงานตัวปูตินเองด้วย ในการประชุมร่วมกับพวกเจ้าหน้าที่ระดับท็อปของเขาเมื่อวันอาทิตย์ (27) ปูตินสั่งการให้รัฐมนตรีกลาโหม และประธานคณะเสนาธิการใหญ่ของกองทัพ ดำเนินการให้กองกำลังป้องปรามทางนิวเคลียร์อยู่ใน “ภาวะพิเศษของหน้าที่สู้รบ” “พวกประเทศตะวันตกไม่เพียงดำเนินปฏิบัติการต่างๆ อย่างไม่เป็นมิตรที่มุ่งเล่นงานประเทศเราในปริมณฑลทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่พวกเจ้าหน้าที่ระดับท็อปจากบรรดาสมาชิกนาโต้ชั้นนำยังมีคำแถลงอย่างก้าวร้าวเกี่ยวกับประเทศของเราอีกด้วย” ปูตินกล่าวให้คำเห็นต่อที่ประชุม ซึ่งมีการเผยแพร่ทางทีวีด้วย ความหมายในทางปฏิบัติจากคำสั่งนี้ของปูติน ยังไม่เป็นที่ชัดเจนในเฉพาะหน้านี้ ปกติแล้วในกองกำลังนิวเคลียร์ทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียกับสหรัฐฯ ต่างมีอาวุธนิวเคลียร์ส่วนที่ติดตั้งประจำการทางภาคพื้นดิน และที่ติดตั้งในเรือดำน้ำ ซึ่งมีการระมัดระวังและเตรียมพร้อมสำหรับการสู้รบอยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งสามารถติดตั้งในเครื่องบินทิ้งระเบิดตลอดจนเครื่องบินอื่นๆ ไม่ได้เป็นเช่นนี้ ถ้าหากปูตินกำลังสั่งให้ติดตั้งระเบิดนิวเคลียร์ในเครื่องบิน หรือไม่ก็กำลังสั่งเพิ่มระดับความพร้อมรบทางนิวเคลียร์ของเครื่องบินทิ้งระเบิดของเขาุ หรือถ้าหากเขากำลังสั่งให้ส่งเรือดำน้ำขีปนาวุธทิ้งตัวที่ติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ออกสู่ทะเลเพิ่มมากขึ้นแล้ว สหรัฐฯ อาจรู้สึกถูกบังคับให้ตอบโต้อย่างทัดเทียมกัน ทั้งนี้ตามคำอธิบายของ ฮันส์ คริสเทนเสน นักวิเคราะห์ด้านนิวเคลียร์ของสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน โดยนักวิเคราะห์ผู้นี้กล่าวต่อไปว่า หากเป็นอย่างนี้แล้ว มันหมายความว่าเกิดการบานปลายขยายตัวอย่างน่าวิตกกังวล และมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤตการณ์ขึ้นมา ความเคลื่อนไหวชวนหวาดเสียวคราวนี้มีขึ้น ขณะที่เกิดการสู้รบแบบไล่ยิงกันตามท้องถนนในเมืองคาร์คิฟ…