รู้จัก ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตาศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

Loading

    เปิดรายชื่อ ‘7 รัฐสวิงสเตต’ ชี้ชะตา ใครจะชนะในศึก เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ปี 2567 ระหว่างรองปธน.คามาลา แฮร์ริส และอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ รองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังรุดเข้าสู่ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ดุเดือดมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันสมัยใหม่ โดยเฉพาะใน “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันมีคะแนนสูสีกันมาก   ภายใต้รัฐธรรมนูญสหรัฐ ผู้ก่อตั้งประเทศกำหนดให้รัฐทั้ง 50 รัฐมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกประธานาธิบดีของตนเอง แต่ภายใต้ “ระบบคณะผู้เลือกตั้ง” ที่ซับซ้อน ทำให้แต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้งจำนวนหนึ่ง โดยอ้างอิงจากจำนวนประชากร เป็นตัวแทนลงคะแนนเลือกตั้งปธน. ซึ่งรัฐส่วนใหญ่มีระบบผู้ชนะได้คะแนนทั้งหมด (winner-take-all system) หมายถึง คณะผู้เลือกตั้งทั้งหมดของรัฐนั้น ๆ จะลงคะแนนเสียงให้กับผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุด   แคนดิเดตจะต้องมีเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งให้ได้อย่างน้อย 270 เสียง จาก 538 เสียง จึงจะชนะ เลือกตั้งสหรัฐ และการเลือกตั้งมักจะตัดสินจากรัฐที่มีการแข่งขันสูงหรือ “รัฐสวิงสเตต” ซึ่งเป็นรัฐที่พรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตมักสลับกันครองเสียงส่วนใหญ่…

รู้จัก ‘ยาห์ยา ซินวาร์’ ผู้นำฮามาสคนล่าสุด ที่อิสราเอลปลิดชีพสำเร็จ

Loading

    รู้จัก “ยาห์ยา ซินวาร์” ผู้นำฮามาสที่อิสราเอลเพิ่งปลิดชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียผู้นำ ที่ทำให้ฮามาสตกอยู่ในภาวะสุญญากาศอีกครั้ง และต้องคิดหนัก เมื่อซินวาร์ถือเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีความเด็ดขาด ไร้ความประนีประนอมมากที่สุดแล้ว   ยาห์ยา ซินวาร์ เป็นที่รู้จักในชื่อ อาบู อิบราฮิม เกิดเมื่อปี 1962 ในค่ายผู้ลี้ภัยข่านยูนิสทางตอนใต้ของฉนวนกาซา พ่อแม่ของเขามาจากเมืองอัชเคลอน (เมืองในดินแดนปาเลสไตน์ ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิสราเอล ) และพวกเขาต้องกลายเป็นผู้อพยพหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ชาวปาเลสไตน์เรียกว่า “อัล-นักบา” ซึ่งเป็นการอพยพครั้งใหญ่ของชาวปาเลสไตน์จากบ้านเกิดในปาเลสไตน์ ในช่วงสงครามที่เกิดขึ้นหลังจากอิสราเอลสถาปนาประเทศเมื่อปี 1948   ซินวาร์ เรียนจบโรงเรียนมัธยมชายล้วนข่านยูนิส จากนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาตรีภาษาอารบิกจากมหาวิยาลัยอิสลามในกาซา และถูกอิสราเอลจับกุมอยู่บ่อยครั้งช่วงต้นทศวรรษ 1980 เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวต่อต้านการยึดครองในมหาวิทยาลัยอิสลามในกาซา   ผู้นำฮามาสรายนี้เคยถูกจับกุมครั้งแรกเมื่อปี 1982 ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุเพียง 19 ปี ต่อมาก็ถูกจับกุมอีกในปี 1985 และในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ซินวาร์ได้รับความไว้วางใจจากชีก อาเหม็ด ยัสซิน ผู้ก่อตั้งกลุ่มฮามาส   หลังจากเรียนจบ ซินวาร์ได้ช่วยสร้างเครือข่ายนักรบเพื่อต่อต้านอิสราเอลด้วยอาวุธ ซึ่งต่อมากลุ่มดังกล่าวกลายเป็นกองพลน้อยอัล-กัสซัม ที่เป็นกองกำลังทหารของกลุ่มฮามาส   โกบี…

ประชาชนนับพันประท้วงต่อต้านความรุนแรงของตำรวจในเมืองหลวงของโปรตุเกส

Loading

การเสียชีวิตของชายผิวดำคนหนึ่งหลังปฏิบัติการของตำรวจ ทำให้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผู้คนหลายพันคนออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเพื่อต่อต้านความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติของตำรวจ

สหรัฐตั้งรางวัลกว่า 330 ล้านบาท แลกเบาะแสการแทรกแซงเลือกตั้งจากรัสเซีย

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ว่า ประกาศจากโครงการ “รางวัลเพื่อความยุติธรรม” ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เจาะจงไปที่บริษัท ไรบาร์ จำกัด เป็นพิเศษ โดยระบุว่า องค์กรสื่อรัสเซียแห่งนี้ ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความบาดหมาง, ส่งเสริมความแตกแยกในสังคม, ปลุกปั่นความขัดแย้งทางพรรคพวกและเชื้อชาติ ตลอดจนสนับสนุนความเกลียดชังและความรุนแรงในสหรัฐ

สหรัฐฯ จับกุมหนุ่มอัฟกัน พบ วางแผนเตรียมโจมตีวันเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เปิดเผยวานนี้ (8 ต.ค.67) นายนาซิร์ อาห์หมัด ตอว์เฮดี ชายชาวอัฟกัน วัย 27 ปี ซึ่งพักอาศัยอยู่ที่เมืองโอกลาโฮมา ซิตี้ ในรัฐโอกลาโฮมา ถูกจับกุมตัว เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2567 จากการวางแผนก่อเหตุโจมตีในลักษณะก่อการร้าย ในนามของกลุ่มรัฐอิสลาม ในวันเลือกตั้งสหรัฐฯ นายตอว์เฮดีค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ เกี่ยวกับวิธีเข้าถึงกล้องวงจรปิดตามจุดต่างๆ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี และไม่มีใบอนุญาตในการครอบครองอาวุธปืน

ขวบปี “ฮามาสโจมตีอิสราเอล” สงครามขยายใหญ่ บานปลายวิกฤตมนุษยธรรมโลก!

Loading

    ศ.กิตติคุณ ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคงชื่อดัง ขมวดปมสถานการณ์ตึงเครียดที่ตะวันออกกลาง ในวาระ 1 ปีเหตุการณ์ Surprise Attack กลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล อย่างรุนแรงในแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน   ผลของเหตุการณ์ตลอดระยะเวลา 1 ปี อิสราเอลลุยปฏิบัติการ “เอาคืนทางการทหาร” และขยายพื้นที่สงครามไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นวิกฤตมนุษยธรรมชุดใหญ่ของโลก โดยที่ยังมองไม่เห็นทางออกของปัญหาเลย   – 7 ต.ค.67 ครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอล   – ยิงจรวดประมาณ 5,000 นัด ส่งกำลังพลประมาณ 3,000 คน ข้ามพรมแดนเข้าไปเปิดการโจมตีขนาดใหญ่ต่อพื้นที่ตอนในของอิสราเอลอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน   – ผลของการโจมตีทำให้ชาวยิวเสียชีวิต 1,195 คน เป็นพลเรือน 815 คน และมีผู้ถูกจับเป็นตัวประกัน 251 คน เป็นชาวยิวและคนสัญชาติอื่นรวมทั้งแรงงานไทย   – กลายเป็นปฏิบัติการเขย่าขวัญชาวยิว เสมือนเป็น 9/11…