คู่มือ PDPA สำหรับประชาชนดาวน์โหลดฟรี ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง

Loading

  คู่มือ PDPA สำหรับประชาชนดาวน์โหลดฟรี ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง โดยนอกจากนี้มีอบรม “PDPA ข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติ สำหรับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ที่จัดถ่ายทอดเมื่อช่วงเช้าวันนี้ ( 24 มิถุนายน 2565 ) โดย นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชูกฎหมายคุ้มครองข้อมูลฯ เครื่องมือสำคัญการแข่งขันของประเทศในเศรษฐกิจยุคใหม่ เผย PDPA มุ่งคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ไม่ใช่ขัดขวางหรืออุปสรรคต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือองค์กร     คู่มือ PDPA สำหรับประชาชนดาวน์โหลดฟรี ประชาชนต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. PDPA อย่างไร   ภาพ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ” ความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศในเศรษฐกิจยุคใหม่ หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลในประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูลระหว่างประเทศ ดังนั้น การสร้างสภาพแวดล้อมที่เสริมสร้างให้เกิดความไว้วางใจในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และยกระดับมาตรฐานการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ทัดเทียมระดับสากล จำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล…

ข้อมูลส่วนบุคคล ที่เป็นภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว

Loading

  พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ตามบทบัญญัติดังกล่าว มีข้อกฎหมายที่สำคัญ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันในการบันทึกภาพและการใช้และเผยแพร่ภาพที่บันทึกไว้ของบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบกิจการ   ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว คือ ภาพถ่ายบุคคล ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของบุคคลถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่   เมื่อพิจารณา จากคำนิยามศัพท์ของ คำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่หมาย หมายความว่าข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูล ของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ   จากคำนิยามของคำว่าข้อมูลส่วนบุคคล แล้วเห็นว่า ภาพถ่ายบุคคล ไม่ว่าจะเป็น ภาพเดี่ยวหรือถ่ายตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นกลุ่มบุคคล หรือที่เรียกว่าภาพหมู่ สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ จึงเข้าข่ายเป็น ข้อมูลส่วนบุคคล   ภาพถ่ายฝูงชน (Photographs of crowds) เช่น ภาพถ่ายฝูงชนที่เข้าไปชมการแข่งขันกีฬา หรือชมการแสดง หรือกระทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด หากไม่สามารถระบุตัวบุคคลใดได้อย่างชัดแจ้งเฉพาะเจาะจง ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลใด   แต่ถ้าหากมีการขยายภาพ และตัดส่วนภาพ (crop ) จนเหลือภาพบุคคล ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งสามารถยืนยันตัวบุคคลได้ชัดเจน…

1 มิ.ย. บังคับใช้แน่ ก.ม.พีดีพีเอ เร่งออก ก.ม.ลูก 30 ฉบับเสร็จ ก.ย.นี้

Loading

  ยืนยัน 1 มิ.ย.นี้ บังคับใช้ ก.ม.พีดีพีเอ แนะเอกชนไม่ต้องตระหนก ธุรกิจเล็กๆ​ บางกลุ่มที่ยังไม่พร้อม เตรียมหาทางออก มีข้อยกเว้นให้บางส่วน เร่งออก ก.ม.ลูกอีก 30​ ฉบับ ชี้ ก.ม. ไม่ได้มุ่งเอาผิด ขอให้มีการรักษาข้อมูลตามมาตรฐาน กำหนดโทษจากเบาไปหาหนัก   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ พีดีพีเอ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65 นี้แน่นอน หลังจากที่ได้เลื่อนการประกาศใช้มาแล้ว 2 ปี   โดยขณะนี้เร่งเดินหน้าให้ความรู้ และสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแก่ประชาชน และส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงการต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   นอกจากนี้ทาง คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็มีการเร่งออกกฎหมายลูกประมาณ 30 ฉบับ และการกำหนดนโยบาย และการจัดตั้งงบประมาณ และกำลังคน เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการสรรหา เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งคาดว่าทุกอย่างจะเสร็จเรียบร้อยในเดือน ก.ย.นี้   “เชื่อว่าภายในเดือน ก.ย.จะเห็นทุกอย่างชัดเจนมากขึ้นในกระบวนการทำงานตามกฎหมายทั้งหมด แม้ว่าที่ผ่านมาภาคเอกชนทั้งในส่วนของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ หอการค้าไทย จะมีความเป็นห่วง ในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากมองว่าธุรกิจเล็กๆ หรือเอสเอ็มอี ยังไม่มีความพร้อม ก็ได้มีการเข้าไปพูดคุยกับ สมาคมธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ความรู้ว่ากฎหมายจะบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบต้องมีกฎหมายลูกแล้วเสร็จก่อน   ซึ่งในระหว่างนี้ ก็อาจจะมีการออกข้อยกเว้น ในบางธุรกิจที่ยังไม่มีความพร้อม…

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กับสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนบังคับใช้ PDPA มิถุนายนนี้

Loading

PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กับสิ่งที่ประชาชนต้องรู้ เกี่ยวกับ PDPA ก่อนเตรียมบังคับใช้จริง 1 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ ทางด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เตือนประชาชน เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่เป็นเจ้าของข้อมูลตามกฎหมาย หากผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลพบการกระทำผิด การละเมิด หรือกระทบสิทธิตามกฎหมายก็สามารถดำเนินการทั้งในทางอาญา ทางแพ่ง หรือทางปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย หลังบังคับใช้ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก จนสร้างความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไปขึ้นมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสาระสำคัญของกฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็พร้อมที่จะบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยความเป็นธรรม เกิดประสิทธิภาพ สมกับเจตนารมณ์ที่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้นมา PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 คืออะไร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจากคำว่า Personal Data…

4 หน่วยงานภาคการเงินลงนามคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  ธปท.เอ็มโอยูร่วมหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ “เศรษฐพุฒิ”ระบุ ปี 64 ทั่วโลกพบข้อมูลรั่วไหล 24.7 พันล้านรายการ เป็นการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลถึง 65% ชี้ถือเป็นอุปสรรคการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ   วานนี้ (28 เม.ย.) หน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน ทั้ง 3 องค์กร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงิน   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการผลักดันเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรม และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ กฎหมายฉบับนี้เป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้ง เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม   ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และในขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระเกินสมควรแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน จึงได้จัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงินขึ้น   นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ…

เตรียมให้พร้อม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรต้องทำอะไรบ้าง

Loading

  หลาย ๆ องค์กรเริ่มมีการเตรียมตัวเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA กันบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องมีระบบใด หรือต้องจัดทำเอกสารอะไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเตรียมตัวในเบื้องต้นเพื่อให้ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของ PDPA   PDPA คืออะไร ก่อนจะเริ่มหัวข้อการเตรียมตัว ทีมงานขอเกริ่นเกี่ยวกับ PDPA สั้น ๆ ให้ผู้อ่านทราบว่า ทำไมต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของกฏหมายนี้ เนื่องจาก PDPA เป็นพระราชบัญญัติที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองด้านสิทธิและความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากมีการเปิดเผย ใช้ ดัดแปลง ถ่ายโอนข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือทำผิดจุดประสงค์ในการตกลงร่วมกัน ก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อเอาผิดได้ โดยข้อมูลที่ PDPA คุ้มครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ     ข้อมูลส่วนบุคคล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป  (Personal Data) ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป สามารถระบุตัวบุคลลนั้น ๆ เช่น – …