พม่าจับมือรัสเซียตั้งศูนย์ข้อมูลนิวเคลียร์ในย่างกุ้ง เซ็น MOU กับ ผอ.ใหญ่ ROSATOM

Loading

  พิธีเซ็น MOU ระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพม่า กับผู้อำนวยการใหญ่ ROSATOM ต่อหน้า พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย (ภาพจาก Popular News Journal)   MGR Online – รัฐบาลทหารพม่าเอาจริง เซ็น MOU รอบที่ 3 กับ ROSATOM จากรัสเซีย เพื่อเปิดศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง มินอ่องหล่ายไปเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามด้วยตัวเอง   เช้าวันนี้ (6 ก.พ.) พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และนายกรัฐมนตรีพม่า เป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอู มิวเตงจ่อ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับอเล็กซี ลีคาเชฟ ผู้อำนวยการใหญ่ ROSATOM หน่วยงานด้านพลังงานปรมาณู ของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง   พิธีเซ็น MOU จัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง โดยเอกสาร MOU ได้ถูกจัดพิมพ์เป็น…

บังกลาเทศไม่ใช่ศัตรู แต่ก็ไม่ใช่มิตรสำหรับพม่า

Loading

  พม่ามีพรมแดนที่ติดกับบังกลาเทศยาว 271 กิโลเมตร แม้จะเป็นพรมแดนที่สั้น เมื่อเทียบกับเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าที่ยาวกว่า 2,400 กิโลเมตร แต่บังกลาเทศก็มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพม่า โดยเฉพาะในทางภูมิรัฐศาสตร์ เพราะบังกลาเทศมีชายแดนทางตอนเหนือใกล้กับเนปาล ภูฏาน และอินเดีย และทั้งสองประเทศยังเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งอ่าวเบงกอล หรือ The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC)   เรียกได้ว่าบังกลาเทศเป็นตัวเชื่อมระหว่างอาเซียนทั้งภูมิภาคกับเอเชียใต้ทั้งหมด และที่ผ่านมาบังกลาเทศก็พยายามเข้าหาพม่า อาเซียน และจีนมากขึ้น เพราะต้องการลดการพึ่งพาอินเดียลง เรียกว่าความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับบังกลาเทศเรียบง่าย ไม่หวือหวา ในส่วนของพม่า ต้องยอมรับว่าพม่าไม่ได้มองว่าบังกลาเทศมีความสำคัญสำหรับตนมากนัก ด้วยบังกลาเทศเป็นเพียงประเทศที่มีขนาดเล็ก เป็นประเทศกำลังพัฒนา และไม่ได้มีทรัพยากรที่พม่าต้องการเป็นพิเศษ และที่สำคัญเป็นประเทศของคน “เบงกาลี” (Bengali) ที่ถูกมองโดยสังคมพม่าพุทธว่าเป็นทั้งคนต่างชาติต่างศาสนา และยังเป็นแหล่งส่งออกประชากรชาวโรฮีนจา (คนพม่าจำนวนมากยังเรียกชาวโรฮีนจาว่า “เบงกาลี” เพราะเชื่อว่าเป็นผู้อพยพมาจากบังกลาเทศ ไม่ใช่ประชากรที่อยู่ในรัฐยะไข่มาแต่เดิม) ทำให้ทัศนคติของพม่าที่มีต่อบังกลาเทศไม่ค่อยดีนัก   ในวันที่ 4 กันยายน รัฐบาลบังกลาเทศเรียก…

ผู้บริหารยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมพม่าถูกยิงดับกลางเมืองย่างกุ้ง

Loading

  กองทัพเมียนมาประณาม “กลุ่มก่อการร้าย” ยิงสังหารผู้บริหารระดับสูงของหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับทหาร สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ว่านายเต็ง อ่อง วัย 56 ปี อดีตทหารระดับสูงในกองทัพเรือเมียนมา ซึ่งผันตัวมาดำรงตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) ของบริษัท “มายเทล” หนึ่งในผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา และกองทัพเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ถูกลอบยิงเสียชีวิตหน้าบ้านพัก ในเมืองย่างกุ้ง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ขณะที่ภรรยาได้รับบาดเจ็บ   Thein Aung, a top executive at Myanmar’s military-affiliated Mytel Telecommunications Co., was fatally shot Thursday in Yangon. The 56-year-old former naval officer was reportedly attacked by three men on…

ที่มาของการเรียกชื่อประเทศ “Burma” และ “Myanmar” บนเวทีโลก

Loading

  เป็นที่ทราบกันว่าเมียนมาคือประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกัน สองชื่อนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Burma และ Myanmar ถูกเลือกใช้เเตกต่างกันในประเทศต่างๆ และในเมียนมาเอง สหประชาชาติและ หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย ใช้คำเรียกประเทศเพื่อนบ้านของไทยนี้ว่า Myanmar แต่สหรัฐฯ มีนโยบายให้ใช้คำเรียกเมียนมาว่า Burma แต่หากต้องเป็นงานที่ต้องเเสดงมารยาททางการทูตในกรณีพิเศษสหรัฐฯจะใช้คำว่า Myanmar แทน ตามคำอธิบายของโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้คำเรียกทั้งสองชื่อมีที่มาทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ เมื่อปี ค.ศ.1989 หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและสังหารคนหลายพันคน กองทัพผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนชื่อพม่าจาก Burma เป็น Myanmar ผู้นำทหารยังเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon กองทัพให้เหตุผลว่า ชื่อเดิม Burma เป็นการสะท้อนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาว Burman ของประเทศแต่มองข้ามความสำคัญของชนกลุ่มน้อยอื่นในประเทศที่มีอยู่ 134 กลุ่ม นอกจากนี้ชื่อ Burma ยังเป็นคำเรียกเมื่อครั้งที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอังกฤษ     ในส่วนของคนในประเทศเอง นางออง ซาน…