ฟอร์ติเน็ต ชี้ องค์กร 61% กังวลเรื่องความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อบังคับในการใช้คลาวด์

Loading

    ฟอร์ติเน็ต เผยผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุด ความท้าทาย และการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ระบบคลาวด์   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวถึง การนำคลาวด์มาใช้ ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องอาศัยการพัฒนาหลายด้าน ทั้งการสร้างประสบการณ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละราย การปรับใช้นโยบายเพื่อให้ ทำงานได้จากทุกที่    (work-from-anywhere) อย่างจริงจัง ปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานในลักษณะกระจายศูนย์ให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถรองรับการขยายได้ดียิ่งขึ้น   แม้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ทีมรักษาความปลอดภัยต้องตระหนักและจัดการให้ได้ ซึ่งความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ในขณะที่ยังคงสามารถมองเห็นความเป็นไปพร้อมทั้งควบคุมการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้   ประเด็นที่น่าสนใจจากผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 มีการนำกลยุทธ์คลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์มาใช้มากขึ้น: โดยกว่า 78% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์สองรายขึ้นไป ซึ่งเน้นให้เห็นว่าแนวทางด้านมัลติคลาวด์มีความสำคัญมากขึ้น โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและให้ประโยชน์ด้านความสามารถเฉพาะทาง ในขณะที่ 54%…

วิกฤตขาดบุคลากร ช่องโหว่ใหญ่เหตุ ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

  “ฟอร์ติเน็ต” เผย วิกฤติขาดแคลนบุคลากร เพิ่มช่องโหว่การละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำรวจพบองค์กรในไทยเกินกว่าครึ่งต่างเคยประสบกับปัญหานี้มาแล้ว ด้านผลกระทบมีตั้งแต่ปัญหาด้านการเงิน การดำเนินงานหยุดชะงัก ตลอดจนปัญหาการเสื่อมเสียชื่อเสียง   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เผยว่า การมีบุคลากรด้านไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการรับรองถือเป็นปราการป้องกันด่านแรกสำหรับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   ฟอร์ติเน็ตพบว่า 92% ขององค์กรในประเทศไทย พบว่าการละเมิดข้อมูลในปีที่ผ่านมามีส่วนมาจากการขาดทักษะทางไซเบอร์ และ 72% มาจากความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นจากช่องว่างด้านทักษะ โดยรวม 68% ขององค์กรในประเทศไทย ต่างเคยประสบกับการละเมิดเนื่องจากมีช่องว่างด้านทักษะทางไซเบอร์   รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีด้วยวิธีการที่ซับซ้อน   ตั้งแต่การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ตลอดจนช่วงโหว่ในซัพพลายเชน ทำให้องค์กรมากมายต้องตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงักและเกิดความไม่ปลอดภัยกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   ช่องว่าง ‘ทักษะทางไซเบอร์’ กระทบหลายบริษัททั่วโลก   รายงานการศึกษาช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทั่วโลก (Global Cybersecurity Skills Gap Report) ของฟอร์ติเน็ตประจำปี…

ปกติโดนอยู่แล้ว แต่นี่โดนล้วงมากขึ้นอีก! ฟอร์ติเน็ตพบ 72% องค์กรไทยถูกโจมตีขโมยข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้น 2 เท่า

Loading

ฟอร์ติเน็ต เผยผลวิจัยภัยคุกคามครึ่งแรก vs ครึ่งหลังปี 2023 พบอาชญากรไซเบอร์นำช่องโหว่ใหม่ในอุตสาหกรรมมาใช้โจมตีได้เร็วขึ้น 43% พบ 72% องค์กรไทยถูกโจมตีขโมยข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้น 2 เท่า สะท้อนว่าจากที่โดนล้วงข้อมูลอยู่แล้ว กำลังโดนล้วงมากขึ้นอีก ระบุอุตสาหกรรมที่โดนล้วงข้อมูลบ่อยคือเทคโนโลยี เฮลท์แคร์ โทรคมนาคม หน่วยงานรัฐ และโรงงานภาคการผลิต ชี้กลุ่มหลังสุดมีความเสี่ยงเสียหายมากเมื่อสายการผลิตหยุดชะงัก

คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…

บทสรุป “6 คำทำนายการคาดการณ์ภัยคุกคามปี 2023” ข้อมูลโดยทาง ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย

Loading

  ฟอร์ติเน็ต ได้จัดงานแถลงข่าว โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงแนวโน้มประเด็นด้านภัยคุกคามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023 ที่จะมาถึงนี้ โดยผู้ที่ขึ้นมาแถลงในคราวนี้ก็คือ ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต   ก่อนที่เขาจะเล่าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นั้น เขาได้ท้าวความไปถึงคำทำนายของปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ภัยของการปลอมแปลงอย่าง Deep Fake ที่มีการใช้ AI ได้อย่างน่ากลัวมากขึ้น, เรื่องของการปล้นพวก กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงประเด็นการขโมยตัวทรัพย์สินแบบ NFT ก็เพิ่มมากขึ้น   พอมาถึงปี 2023 นี้เขาได้ยกตัวอย่างคำทำนายเอาไว้ 6 ประการ ที่อาจจะส่งผลกระทบในเรื่องของภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยทางทีมงาน Enterprise ITPro ได้สรุปเฉพาะส่วนสำคัญมาให้อ่าน ดังนี้   1. เรื่องของ Wiper Malware – จะเป็นภัยที่น่ากลัวมากขึ้น มีการผสมผสานระหว่างแรนซั่มแวร์และมัลแวร์ ผนึกรวมกัน ทำให้มันแพร่กระจายรวดเร็ว…

อุบัติการณ์ ‘ภัยไซเบอร์’ พันธกิจวัดใจองค์กรดิจิทัล

Loading

  แม้ว่าทุกวันนี้ผู้นำองค์กรต่างให้ความสำคัญและสนใจลงทุนเพื่อยกระดับระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทว่าก็ยังคงหลีกเลี่ยงได้ยากที่จะมีช่องโหว่และเปิดโอกาสให้โจรไซเบอร์บุกรุกเข้ามา…   พีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า การศึกษาของฟอร์ติเน็ตด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (โอที) ของประเทศไทย ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างมากในการแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่โอทีปรับเปลี่ยนเข้าสู่การทำงานแบบดิจิทัล   โดยพบว่า 8 ใน 10 ขององค์กรด้านโอทีต่างได้รับผลกระทบต่อการดำเนินงานของสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมเนื่องจากการบุกจู่โจมทางไซเบอร์ ที่ผ่านมา 71% ขององค์กรพบปัญหาการหยุดการทำงานของระบบซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางกายภาพ ซึ่งมากกว่าการสูญเสียทั้งผลผลิตและรายได้   ปัจจุบัน ประเทศไทยตระหนักดีว่าการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คือ ปัญหาร้ายแรงสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นควรมีซีอีโอทำหน้าที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลสูงสุดในการตัดสินใจในเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้   ความรับผิดชอบ ‘C-level’   เป็นเรื่องที่ดี หากรวมเอาไซเบอร์ซิเคียวริตี้บนโอทีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบของผู้บริหารในระดับ “C-level” เพราะจะเป็นการช่วยสนับสนุนให้ทีมไอทีและโอทีทำงานร่วมกันในการร่วมกันวางแผนพร้อมให้ภาพการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ในแบบองค์รวม   รายงานสถานการณ์การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และระบบเชิงปฏิบัติงานปีนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมด้านระบบควบคุมอุตสาหกรรมยังคงตกเป็นเป้าหมายอาชญากรไซเบอร์ โดยในไทยองค์กร 88% ต่างเคยมีประสบการณ์การถูกบุกรุกอย่างน้อยหนึ่งครั้งช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา   โดยท็อป 3 ของการบุกรุกที่องค์กรในประเทศไทยต้องเผชิญได้แก่ มัลแวร์ แรนซัมแวร์ และแฮกเกอร์ ผลลัพธ์จากการโดนบุกรุกเหล่านี้ ทำให้เกือบ…