เจออีก มัลแวร์ซ่อนใน Word แฮ็กเกอร์ช่างสรรหาวิธีการโจมตี

Loading

  นักวิจัยของ HP เปิดเผยข้อมูลของมัลแวร์ตัวใหม่ที่ฝังโค้ดเก็บไว้ในคุณสมบัติเอกสารของไฟล์เอกสาร Microsoft Word ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ   โค้ดอันตรายนี้มีชื่อว่า SVCReady มันจะถูกซ่อนอยู่ในไฟล์เอกสารที่ส่งผ่านอีเมลแบบกระจาย ในลักษณะของการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ซึ่งหากผู้ใช้กดดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไป มัลแวร์จะทำงานโดยการรันเพย์โหลด และโหลดมัลแวร์เพิ่มเติมครับ หากเครื่องใดไม่ได้ติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส ก็จะมีความเสี่ยงมากที่สุด   เทคนิคซ่อนมัลแวร์ในลักษณะนี้ทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้นมาก เพราะมันมักจะไม่ถูกตรวจสอบผ่านซอฟต์แวร์ความปลอดภัย และไฟล์เอกสาร Word ก็เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก ทำให้หลายคนไม่ได้ทันระวังกับไฟล์ที่ถูกส่งมา และทำให้มันแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว   สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ไห้มัลแวร์ตัวนี้เข้าสู่ระบบ คือมีกฎทองสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือ ห้ามเปิดไฟล์ที่แนบมา หากไม่มั่นใจที่มา หรือไม่ว่าเนื้อหาในอีเมลจะพยายามบอกให้เราต้องรีบโหลดแค่ไหนก็ตาม   เพราะอีเมลฟิชชิงมักจะพยายามใส่ความเร่งด่วนให้กับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ด้วยการเรียกร้องให้ดำเนินการบางอย่าง เช่น การบอกว่าบัญชีจะถูกบล็อกหรือเงินในบัญชีจะถูกหัก หากไม่กดลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์นี้ในทันที มีวิธีสังเกตที่น่าสนใจอีกอย่าง คือฟิชชิ่งพวกนี้มักจะแนบมาในอีเมลที่สะกดผิด   ที่มาข้อมูล   https://tech.co/news/malware-word-documents-email-inbox     ————————————————————————————————————————- ที่มา :         Techhub         …

ระวังตัว!! กลลวงเว็บปลอมใหม่เช็กแค่ลิงก์คงไม่พอ เนียนยันช่อง URL

Loading

  เชื่อว่าช่วงหลัง ๆ ที่ผ่านมานี้ ผู้ท่องโลกอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ คนก็น่าจะได้รับคำเตือนจากที่ต่าง ๆ ว่าเมื่อใดที่มีการเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ และต้องใส่ข้อมูลการเข้าระบบหรือข้อมูลส่วนตัว ให้ทำการตรวจสอบลิงก์หรือ URL ของเว็บนั้นก่อนเสมอว่าใช่เว็บที่ต้องการทำธุรกรรมจริง ๆ หรือไม่ เพื่อป้องกันการโดนขโมยข้อมูลไปแบบไม่รู้ตัว   ใครจะไปรู้ว่าในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น การเช็กเพียง URL อาจจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะนักวิจัยด้านความปลอดภัยและนักทดสอบเจาะระบบ mr.d0x ได้ออกมาเปิดเผยว่าในปัจจุบัน เว็บปลอมสามารถเนียนได้มากกว่าการจดโดเมนด้วยชื่อที่คล้าย ๆ กััน สามารถทำให้หน้าเว็บไซต์ให้ดูน่าเชื่อถือด้วยวิธีง่ายนิดเดียว       การเข้าสู่ระบบในบริการต่าง ๆ หลาย ๆ ครั้งเราจะสามารถเลือกเข้าสู่ระบบด้วยบริการอื่น ๆ ได้ เช่น Apple, Google, หรือ Facebook เพื่อแสดงหน้าป็อปอัปเพื่อทำการเข้าสู่ระบบ ซึ่งนี่ก็คือช่องโหว่ที่ผู้ไม่หวังดีสามารถจู่โจมได้นั่นเอง ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการโคลนและทำหน้าป็อปอัปขึ้นมาใหม่ พร้อมกับแถบ URL ที่ดูน่าเชื่อถึง โดยใช้เพียง HTML และ…

“ภัยไซเบอร์” ระบาดหนัก!! เมื่อโลกถูกโจมตีทุก 11 วินาที

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน “แรนซัมแวร์ ฟิชชิ่ง” คือ ตัวการใหญ่ “เดลล์” ชี้ภัยไซเบอร์จากนี้ อาจลุกลามใหญ่โตมากกว่าเดิม นพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั่วโลกทุก 11 วินาที โดยมุ่งเป้าไปที่ทุกช่องทางตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญระดับชาติไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมจาก ภัยไซเบอร์ อาจลุกลามเป็นเรื่องใหญ่โตมากกว่าเดิม สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระบบการเข้าถึงแบบทางไกลนั้น กลายเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้นกว่าเดิม บทความจากเว็บไซต์ของ McKinsey ชี้ว่ามีการทำ ฟิชชิ่งเพิ่มมากขึ้นเกือบ 7 เท่านับตั้งแต่การเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยที่อาชญากรไซเบอร์เลือกใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการอัปเดตตัวช่วยกรองระบบอีเมลและเว็บไซต์ที่ล่าช้า ในการกำหนดเป้าหมายสำหรับการโจมตีที่เป็นผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล ความเสียหายที่เกิดจากการโจมตีและความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้หน่วยงานของภาครัฐทั้งหลายควรจะต้องเร่งในการวางแผนในเรื่องของ “แนวทางในการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์อย่างยึดหยุ่น” หรือ Cyber Resilience โดยที่ต้องสามารถป้องกัน ตอบสนองและกู้คืนได้อย่างรวดเร็วหลังเกิดการโจมตี เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแรงพร้อมสำหรับการฟื้นตัวตามสภาพเศรษฐกิจของโลก สูญเสียไปมาก กับเรื่องของการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีด้วย แรนซัมแวร์ และรูปแบบอื่นๆ ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กลายเป็นรูปแบบของการโจมตีที่แพร่หลายและสร้างความเสียหายมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยมีเป้าไปที่องค์กรหลักและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้น อย่างเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื่อเพลิงหลายวัน หลังจากที่…

แคสเปอร์สกี้เผย SMB อาเซียนถูกฟิชชิ่งโจมตีอ่วม 3 ล้านครั้งใน 1 ปี

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) โชว์สถิติสุดทึ่ง พบฟิชชิ่งพยายามโจมตี SMB ในอาเซียนเกือบ 3 ล้านครั้งในเวลา 1 ปี หลอกล่อผู้ใช้สุดฤทธิ์ด้วยหัวข้อฮิต เช่น เรื่องโควิด-19 การประชุมออนไลน์ และเซอร์วิสขององค์กร นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า แม้ธุรกิจ SMB จะเป็นรากฐานของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ แต่ก็เป็นเป้าหมายที่โจมตีได้ง่ายเช่นกัน อาชญากรไซเบอร์รู้ดีว่าเจ้าของกิจการมุ่งมั่นอยู่แต่กับเรื่องการดูแลธุรกิจและเงินหมุนเวียนให้พอ มากกว่าที่จะสนใจเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ “อย่างน้อยๆ ก็ช่วงนี้ ดังนั้นวิธีที่เล็ดลอดเข้ามาโจมตีได้ที่ง่ายที่สุดคือการใช้วิศวกรรมเชิงสังคม (Social engineering) เช่น ฟิชชิ่ง ยิ่งช่วงนี้ที่มีคำฮิตที่ได้รับความสนใจแน่นอน เรื่องที่สอดคล้องต่อความกังวลเรื่องโควิด-19 ยิ่งเรื่องการฉีดวัคซีนด้วยแล้วยิ่งง่าย เราคาดว่าการคุกคามประเภทนี้จะพบเห็นได้มากขึ้น เพื่อใช้ขโมยเงินและข้อมูลของกลุ่มธุรกิจ SMB ที่อ่อนแอบอบช้ำช่วงนี้” แคสเปอร์สกี้เปิดโปงกลโกงของขบวนการฟิชชิ่งที่มีเป้าหมายธุรกิจเล็กและกลาง (หรือ SMB) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าแม้กลุ่มธุรกิจนี้จะยังคงบอบช้ำจากแรงกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องอยู่ โดยเทคโนโลยี Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้สามารถบล็อกความพยายามที่จะเข้าโจมตีธุรกิจ SMB ผ่าน URL ปลอมในภูมิภาคนี้เมื่อปีที่ผ่านมาถึง 2,890,825…

ระวังPhishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย Voucher ขโมยรหัสผ่าน e-banking

Loading

ระวัง Phishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย Voucher ส่งทางทางไปรษณีย์ แต่แปลก ขอรหัสธนาคารออนไลน์ ลงเว็บไซต์ url แปลก หากหลงกลอาจเสียเงินทั้งหมดในบัญชี จากที่ผ่านมา Phishing มาในรูปแบบลิงก์บนอีเมล แจ้งเตือนธุรกรรมผิดปกติ ให้เปลี่ยนรหัสผ่านตามลิงก์ที่กำหนดให้ หวังผู้ที่เป็นเหยื่อคลิกแล้วกรอกรหัสบนเว็บไซต์ธนาคารปลอม แต่รอบนี้มาในรูปแบบเอกสารสำคัญส่งทางไปรษณีย์ถึงบ้าน เป็นจดหมาย EMS และออกแบบเอกสารได้เหมือนเรื่องจริงเลยทีเดียว     ระวัง Phishing รูปแบบใหม่ผ่านจดหมาย ของจริง ทำซะน่าเชื่อถือ แต่ความจริงคือหลอก     โดยข้างในซองจดหมาย EMS เป็นใบ gift voucher มูลค่า 10,000 บาท พร้อมกับข้อมูลขั้นตอนการใช้ Gift Voucher คงน่าตื่นเต้นไม่น้อยที่เราจะได้ซื้อของแล้วได้ส่วนลด 1 หมื่นบาท แต่ทว่า มีข้อสังเกตคือ ทำไมต้องใส่ password แถมใน gift card ข้อ 2 บอกว่าต้องใส่…

APWG เผยสถิติฟิชชิ่งไตรมาสสุดท้ายปี 2019 พบ 74% ใช้ HTTPS ส่วนใหญ่หลอกขโมยรหัสผ่านอีเมล

Loading

Anti-Phishing Working Group หรือ APWG เป็นองค์กรความร่วมมือระดับนานาชาติด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามประเภทฟิชชิ่งและอาชญากรรมทางไซเบอร์ โดยในแต่ละไตรมาสจะมีการเผยแพร่รายงานสรุปสถานการณ์ภัยคุกคามในภาพรวม ในรายงานสถิติฟิชชิ่งไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 มีหลายข้อมูลที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เว็บฟิชชิ่ง 74% เป็นการเชื่อมต่อผ่าน HTTPS แล้ว โดยส่วนใหญ่ใช้ใบรับรองที่แจกฟรี (ข้อแนะนำให้ตรวจสอบว่าเว็บไซต์ใช้ HTTPS หรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่ล้าสมัยแล้ว) ประเภทกลุ่มธุรกิจที่พบว่าถูกสร้างหน้าเว็บไซต์ปลอมมากที่สุดคือ SaaS/Webmail ซึ่งจุดประสงค์เพื่อขโมยบัญชีอีเมลของผู้ใช้บริการเหล่านี้ รองลงมาคือประเภท Payment ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบออนไลน์ การโจมตีแบบ Business Email Compromise หรือ BEC ซึ่งเป็นการหลอกให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทโอนเงินออกไปให้ผู้ประสงค์ร้ายนั้น 62% เป็นการหลอกให้ซื้อ gift card แล้วส่งรหัสในบัตรเติมเงินไปให้ รองลงมา (22%) คือการหลอกให้โอนเงินไปยังเลขบัญชีของผู้ประสงค์ร้ายโดยตรง การจดโดเมนเพื่อใช้เป็นเว็บฟิชชิ่ง ส่วนใหญ่ยังเป็นการจด .com และ .org แต่ก็เริ่มพบการใช้ .info, .xyz หรือโดเมนที่เป็นโค้ดประเทศ เช่น .br, .uk,…