สหรัฐยอมรับโครงการอวกาศจีนพัฒนาไวมาก ต้องจับตาใกล้ชิด

Loading

  กองทัพสหรัฐให้ความเห็นว่า โครงการอวกาศของจีนพัฒนาอย่างรวดเร็วและไปไกลมาก สมควรต้องมีการ “เฝ้าระวัง” อย่างใกล้ชิด   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ว่า กองทัพอวกาศสหรัฐเผยแพร่รายงานว่า โครงการอวกาศของจีนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาและส่งดาวเทียมสื่อสาร และยานอวกาศแบบนำกลับมาใช้ใหม่   Spectacular views of our planet from China's #space station #ChinaTech pic.twitter.com/dGbUjOuqol — Zhang Meifang张美芳 (@CGMeifangZhang) November 21, 2022   China poses increasing threat in military space race, top U.S. general says https://t.co/QTQlSXiIOE pic.twitter.com/RlfD5kaRBN — Reuters U.S.…

“หน่วยงานรัฐ- CII” พร้อมมั้ย?สู้ภัยคุกคามโจมตีทางไซเบอร์!!

Loading

  ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเหล่า “อาชญากรทางโลกออนไลน์”ได้อาศัยช่องโหว่ในการเข้าแฮกเจาะระบบ… ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเหล่า “อาชญากรทางโลกออนไลน์” ได้อาศัยช่องโหว่ในการเข้าแฮกเจาะระบบของหน่วยงานต่างๆ ไม่เว้นวัน!!! ส่งผลให้สถานการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทั่วโลกจับตาและเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง สำหรับในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ก็ได้มีการออกกฎหมายลำดับรอง (ก.ม.ลูก) ตามประกาศคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) เรื่อง ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำด้านการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 ก.ย.65 ที่จะถึงนี้ โดยเหลือเวลาไม่ถึง 2 เดือน หรือ 60 วัน!! ที่นับถอยหลังที่หน่งงานรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หรือ CII (Critical Information Infrastructure ) ต้องปฎิบัติตามกฎหมายนี้!?    ภาพ pixabay.com  ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้กำหนดหน่วยงาน CII ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงภาครัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค…

อวสาน “มอสควา” และภัยคุกคามของเรือรบในยุคปัจจุบันที่รัสเซียต้องจำ

Loading

ในที่สุดทางการรัสเซียออกมายอมรับว่า เรือลาดตระเวนมอสควา ที่เป็นเรือธงของกองเรือทะเลดำถูกยิงขีปนาวุธใส่จนจมทะเล อะไรคือช่องโหว่ที่ทำให้มอสควาจม และจากนี้เรือรบควรรับมืออย่างไร นับว่าเป็นเรื่องช็อกพอสมควรสำหรับกองทัพเรือรัสเซีย ที่ต้องมาสูญเสียเรือธงลำสำคัญของกองเรือฝั่งทะเลดำ หลังเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถีชั้นสลาวา (Slava Class) ที่ชื่อ “มอสควา” (Moskva) ไปในระหว่างการรบกับกองทัพยูเครน ขณะลอยลำนอกขายฝั่งเมืองโอเดสซา ทางตอนใต้ของยูเครน จากข่าวแรกที่ฝั่งรัสเซียรายงานว่า เกิดเหตุระเบิดในคลังแสงของเรือมอสควา ทำให้เกิดไฟลุกไหม้อย่างรุนแรง และเรือกำลังพยายามควบคุมความเสียหาย ก่อนที่จะมีรายงานต่อมาว่า เรือมอสควาจมลงสู่ก้นทะเลดำแล้ว โดยที่มีลูกเรือสละเรือหนีออกมาได้ แต่ไม่ได้มีการยืนยันจำนวนที่แท้จริง อย่างไรก็ตามทางฝั่งยูเครน ก็ได้อ้างว่าเป็นผลงานของกองทัพยูเครนที่ยิงเรือมอสควาจากนอกชายฝั่งเมืองโอเดสซา โดยใช้อาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำแบบยิงจากชายฝั่ง เนปจูน (Neptune) ที่ยูเครนผลิตขึ้นเอง โดยอ้างว่ามิสไซล์ 2 ลูกยิงโดยเป้าหมายทำให้เรือเสียหายหนัก และจมลงในที่สุด สำนักข่าว ทาสก์ รายงานว่า กระทรวงกลาโหมรัสเซีย ยืนยันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมาว่าเรือลำดังกล่าวได้จมลง ขณะเจอกับสภาพอากาศที่เลวร้าย ขณะที่กำลังลากเรือมอสควากลับเข้าท่าเรือชายฝั่งที่ฐานทัพเรือในเมืองเซวาสโตปอล ในภูมิภาคไครเมีย ภายหลังจากที่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดจากการระเบิดในคลังเก็บกระสุนบนเรือ ทั้งนี้ไม่มีการรายงานจำนวนผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ของคนบนเรือ     เรือรบขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกจมหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การจมลงของเรือมอสควา นับเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่…

‘ปรัชญา’ ฉายภาพ ‘ความเสี่ยงภัยไซเบอร์’ ชี้กำลังประเมินความเสี่ยง เพื่อวางระบบป้องกันภัยคุกคาม

Loading

  ‘ปรัชญา’ ฉายภาพ ‘ความเสี่ยงภัยไซเบอร์’ ชี้กำลังประเมินความเสี่ยงเพื่อวางระบบป้องกันภัยคุกคาม เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พลเอก ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) บรรยายพิเศษ เรื่อง ความพร้อมประเทศไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ ในงานสัมมนาเรื่อง ไทยกับความปลอดภัยไซเบอร์ 2022 ผ่านรูปแบบไลฟ์สตรีมมิ่งผ่านเฟซบุ๊ก เครือมติชน ไลน์ออฟฟิเชียลมติชน และยูทูบมติชนทีวี ที่อาคารสํานักงาน บริษัท มติชน จํากัด (มหาชน) ว่า ประวัติการเริ่ม ไซเบอร์สเปซ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มีวิวัฒนาการมาข้างค่อนนาน จากที่หลายคนทราบว่า มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียงไม่กี่ปี แต่ที่จริงแล้วอินเตอร์เน็ตถูกออกแบบขึ้นมาตั้งแต่ 60 ปีก่อน และเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ประมาณ 30 ปี ดังนั้น ระบบอินเตอร์เน็ตจึงค่อนข้างเก่า และมีความไม่ปลอดภัยต่อการใช้งานในบางมุม เนื่องจากการใช้งานในระยะเริ่มแรกต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลให้มีความรวดเร็ว มากขึ้น และเมื่ออินเตอร์เน็ตได้ออกสู่สาธารณะให้ทุกคนทั่วโลกสามารถใช้งานในการเชื่อมต่อ โดยอาศัยโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตได้ จึงเริ่มมีการพัฒนาการบริการ แพลตฟอร์มต่างๆ จนวิวัฒนาการมาเป็นโซเชียลมีเดีย…

สิงคโปร์เล็งตั้งกองทัพไซเบอร์ หวั่นภัยคุกคามกรณีรัสเซีย-ยูเครน

Loading

  สิงคโปร์เตรียมจัดตั้งกองกำลังชุดใหม่เพื่อดูแลด้านความปลอดภัยด้านดิจิทัลโดยเฉพาะ ซึ่งแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องเสริมความแข็งแกร่งด้านกลาโหมให้พร้อมรับมือภัยคุกคามจากภายนอก รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วงที่มีการสู้รบระหว่างยูเครนและรัสเซีย นายอึ้ง เอง เฮน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ แถลงที่รัฐสภาเมื่อวานนี้ (2 มี.ค.) ว่า กองทัพสิงคโปร์ (SAF) มีแผนจัดตั้ง “กองกำลังที่ 4” (Fourth service) ซึ่งจะรวบรวมและขยายขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ของประเทศในด้านดิจิทัล แผนดังกล่าวของสิงคโปร์เกิดขึ้นหลังจากที่แฮกเกอร์ใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลเป็นอาวุธในช่วงที่รัสเซียบุกยูเครน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนสะท้อนถึงความเสี่ยงของสิงคโปร์ที่ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ก็เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่เปิดกว้างว่า อาจตกเป็นเป้าโจมตีทางไซเบอร์ ข่าวเท็จ และขบวนการที่ใช้ข้อมูลเพื่อมุ่งร้าย นายอึ้งกล่าวว่า “กองทัพสิงคโปร์ยุคใหม่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ขณะเดียวกันก็ยังมีช่องว่างและความสามารถที่ยังต้องได้รับการพัฒนา ซึ่งสถานการณ์และความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในระยะนี้เตือนให้เราต้องระวัง สิ่งที่ผมพูดถึงก็คือภัยคุกคามทางดิจิทัล” นอกจากนี้ รมว.กลาโหมยังกล่าวว่า “กองทัพไซเบอร์ที่จะตั้งขึ้นใหม่นั้นจะดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งจะช่วยให้สิงคโปร์รับมือภัยคุกคามด้านดิจิทัลที่มีจากผู้รุกรานจากประเทศอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราคาดว่าภัยคุกคามนี้จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซับซ้อนกว่าเดิม และมาจากหลายกลุ่ม จึงจำเป็นต้องมีกองกำลังย่อย ๆ ซึ่งอาจมีขนาดระดับกองพลเตรียมพร้อมไว้” สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า เมื่อปี 2564 รัฐบาลสิงคโปร์ได้อนุมัติกฎหมายรับมือการแทรกแซงจากต่างชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานหรือบุคคลต่างชาติแทรกแซงการเมืองของประเทศ นอกจากนี้ กฎหมายยังให้อำนาจแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในการเปิดเผยข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังเนื้อหาที่อันตรายที่สงสัยว่าต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการ    …

โลกใบใหม่

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ต้นปีของแต่ละปี สำนักวิจัยหรือโพลล์ต่าง ๆ จะเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มหนึ่งว่า มีทัศนะหรือมุมมองต่อประเทศของตนอย่างไร คิดว่าในปีนี้ ประเทศจะเจออะไรบ้างโดยจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนตามความรุนแรงของปัญหา โพลล์ในไทยก็มองอนาคตของประเทศในปีนี้ แต่สำนักโพลล์ต่างประเทศบางสำนักมองในภาพรวม ว่า ประชากรโลกมองโลกในปีใหม่ว่าจะเผชิญกับภัยคุกคาม หรือ ความเสี่ยงอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด และจัดความสำคัญเร่งด่วนที่โลกหรือรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ควรร่วมมือกันป้องกัน บรรเทา แก้ไขภัยคุกคามหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น อย่างไรบ้าง ในปี 2565 ก็เช่นกัน มีการเผยแพร่โพลล์สำนักต่าง ๆ ประเมินภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงต่อโลกใบนี้ในมุมมองของประชากรโลกกลุ่มหนึ่งที่ถูกสุ่มตัวอย่าง ซึ่งมุมของคนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ (พิจารณาจากอายุ) มีทั้งเหมือนกันและต่างกัน แต่ที่น่าสนใจคือ คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้คิดว่า สงครามและการสู้รบระหว่างประเทศจะเป็นภัยคุกคามหรือความเสี่ยงเผชิญหน้าในปี 2565 นัยหนึ่ง เขาแทบไม่ให้ความสนใจกับประเด็นนี้เลย และไม่ได้มองว่า จะเกิดสงครามขนาดใหญ่ ชาติใหญ่ทำท่าจะต่อยจะตีกัน แต่สุดท้ายก็ตกลงกันได้ แม้ว่าแต่ละชาติสะสมระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธนำวิถีมากมาย ซึ่งเท่ากับเป็นการ “ ป้องปราม “ และทำให้ชาตินิวเคลียร์เหล่านี้ยับยั้งชั่งใจ เพราะถ้าเกิดสงครามก็ตายกันหมด คนหนุ่มสาวสนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง การกินดีอยู่ดี ความมั่นคงในอาชีพของพวกเขามากกว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะทุกคนอยากรวยเร็วด้วยกันทั้งนั้น บางครั้งก็ไม่คำนึงถึงวิธีการรวยเร็วว่าจะถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมหรือไม่อย่างไร เป็นที่เข้าใจได้ว่า…