ข้อมูล DNA ยังโดนแฮ็ก พันธุกรรม 6.9 ล้านคนรั่วไหลและไม่มีทางแก้ไขได้

Loading

  “แฮ็กเกอร์” เจาะระบบ 23andMe บริการตรวจสอบ DNA ทำข้อมูลพันธุกรรมกว่าล้านคนถูกขโมย มูลค่ามหาศาลที่ไม่มีทางแก้ไขได้ บริษัท “23andMe” ผู้ให้บริการตรวจสอบ DNA ระดับโลกที่มีข้อมูลของลูกค้ากว่า 6.9 ล้านรายอยู่ในมือกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ทั้งด้านธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนผ่านและ “แฮ็กเกอร์” ที่ใช้ชื่อว่า “Golem” เป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่กำลังเข้าถึง ข้อมูล DNA ของลูกค้าทั้งหมดที่อาจรั่วไหลครั้งใหญ่   23andMe ประกาศว่ามี แฮ็กเกอร์เจาะระบบข้อมูลพันธุกรรม ทั้งหมด 6.9 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบ โดยการเจาะระบบเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ตอนแรกทาง 23andMe บอกว่ามีผู้ใช้โดนขโมยข้อมูล 14,000 คน แต่เมื่อสอบสวนอย่างละเอียดมากขึ้นก็พบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก แฮ็กเกอร์ Golem พุ่งเป้าไปที่รหัสพันธุกรรมของคนที่มีเชื้อสายยิวอัชเกนัซ (Ashkenazi Jews) พร้อมประกาศว่า   ยินดีขายข้อมูล DNA เหล่านี้ให้กับใครก็ได้ที่จ่ายเงินถึง ราคาเสนอขายมีตั้งแต่ 100 โปรไฟล์ในราคา 1,000 ดอลลาร์ (36,400 บาท)…

อินเดียฮึ่มเอาผิดโซเชียลมีเดีย หลังสายการบินโดนขู่วางระเบิดนับร้อยครั้ง

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ว่า รัฐบาลนิวเดลีระบุว่า คำขู่วางระเบิดที่แพร่หลายในวงกว้าง ถือเป็นอันตรายที่ไม่ถูกจำกัด และเตือนสื่อสังคมออนไลน์ว่า ทางการอินเดียจะดำเนินการตามกฎหมาย หากแพลตฟอร์มไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ในการลบข้อมูลเท็จออกอย่างรวดเร็ว

Lazarus ใช้ช่องโหว่เบราเซอร์ Chrome ขโมยเงินคริปโต

Loading

“แคสเปอร์สกี้” เผย กลุ่ม Lazarus APT ใช้ช่องโหว่ zero-day ในเบราเซอร์ Chrome เพื่อขโมยเงินคริปโต ดึง AI พร้อมผสาน Generative AI เข้ากับปฏิบัติการเพิ่มความสำเร็จ

ตุรเกียรายงานการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในอังการา

Loading

ตามที่รัฐบาลระบุ มีการโจมตีสำนักงานใหญ่อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของตุรเกียในเมืองคาห์รามันคาซาน ซึ่งห่างจากกรุงอังการาประมาณ 40 กิโลเมตร มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 คน

รู้ทัน ‘ภัยไซเบอร์’ เสริมภูมิคุ้มกันบนโลกดิจิทัล

Loading

    ครึ่งปีแรกปี 2567 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า มีมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์สูงถึง 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว   ช่วงปีที่ผ่านมา อาชญากรรมไซเบอร์ ดูเหมือนจะทวีความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้องค์กร และผู้คนเป็นจำนวนมาก อย่างที่เราเห็นในข่าวไม่เว้นแต่ละวัน ที่มีคนโดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินผ่านมือถือ หรือข่าวข้อมูลในองค์กรรั่วไหลจนต้องสูญเงินมหาศาล เชื่อไหมครับ ว่าแค่ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 สำนักงานตำรวจแห่งชาติเผยว่า มีมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์สูงถึง 65,715 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 80 ล้านบาทเลยทีเดียว   การที่จำนวนอาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มอย่างก้าวกระโดด ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตผู้คนที่เปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์แบบติดสปีดหลังโควิด ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงการติดต่อสื่อสารผ่านโลกโซเชียล ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจทำให้หลายคนละเลยต่อภัยอันตรายที่มากับความสะดวกสบายของการใช้เทคโนโลยีบนโลกออนไลน์เหล่านี้   ดังนั้น การรู้เท่าทันภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Threats) จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ และอัปเดตอยู่เสมอ   ภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถเข้าถึงเราหลากหลายรูปแบบ อย่างในภาคธุรกิจ ที่พบเห็นได้บ่อย จะเป็นการรั่วไหลของข้อมูล (Data Breach) จากการโจมตีภายนอก หรือช่องโหว่ภายในระบบ…

เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับความพยายามลอบสังหารโดนัลด์ ทรัมป์

Loading

ภายในเวลาเพียง 2 เดือน โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับความพยายามลอบสังหารไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือวันที่ 13 กรกฎาคม และ 15 กันยายน 2024 เราไปดูกันว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร   ความพยายามลอบสังหารที่รัฐเพนซิลเวเนีย   เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2024 โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ และเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2024 รอดชีวิตจากความพยายามลอบสังหารขณะกล่าวสุนทรพจน์ในการชุมนุมหาเสียงกลางแจ้ง ใกล้เมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ทรัมป์ถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่หูขวาบน โดยผู้ก่อเหตุคือนายโทมัส แมทธิว ครูกส์ ชายวัย 20 ปีจากเมืองเบเธลพาร์ค รัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งยิงกระสุนจากปืนไรเฟิลสไตล์ AR-15 จำนวน 8 นัดจากหลังคาของอาคารใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บสาหัสอีก 2 คน ต่อมาเขาถูกหน่วยต่อต้านการซุ่มยิงของหน่วยอารักขาประธานาธิบดี ยิงเสียชีวิต   หลังจากถูกยิง…