ดีอียกระดับ ‘แอปดูดเงิน’ เป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง-ตร.เตือน 3 หลอกลวงโอนเงิน

Loading

กรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน โดยการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อขโมยเงิน หรือที่เรียกว่า แอปดูดเงิน (Mobile Banking Trojan) โดยใช้กระบวนการทางไซเบอร์ ทำให้สูญเสียเงินกว่า 2,600 ล้านบาท (สถิติระหว่างวันที่ 1 มี.ค.65 – 31 พ.ค.67) นับเป็นภัยไซเบอร์ระดับร้ายแรง แต่ปัจจุบันการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความล่าช้า นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) จึงได้ประกาศยกระดับจัดให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดจากแอปดูดเงิน เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับร้ายแรง

ออสเตรเลียตั้งเป้าเป็นประเทศที่มีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์มากที่สุดในโลกภายในปี 2573

Loading

เว็บไซต์ ARN รายงานเมื่อ 8 ก.ค.67 ว่า กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ โดยออกคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตรวจสอบและคัดเลือกบริษัทจัดหาหรือจัดจำหน่ายสินค้าด้านเทคโนโลยี (supplier) ให้เข้มงวดมากขึ้น ประเมินความปลอดภัยต่อสินทรัพย์ทางเทคโนโลยีเป็นประจำ และประสานงานร่วมกับหน่วยข่าวกรองทางการสื่อสารของออสเตรเลีย (Australian Signals Directorate – ASD) ในการแบ่งปันข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 66 คาดปีนี้ Hacked Website ภัยคุกคามที่พบมาก

Loading

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.66 แนวโน้มนปี 2567 Hacked Website ยังเป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก

กระทรวงดิจิทัลไต้หวันชี้ พ.ค. เดือนเดียว รัฐบาลรับมือภัยไซเบอร์กว่า 60,000 ครั้ง

Loading

ในเดือนพฤษภาคม หน่วยงานรัฐบาลของไต้หวันสามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 64,804 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดใน 1 เดือน ในรอบ 1 ปี

Silicon Valley สหรัฐฯ เร่งคัดกรองพนักงานชาวจีนเพื่อป้องกันการจารกรรม

Loading

OpenAI หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ได้เพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยพนักงานและผู้สมัครงาน   เว็บไซต์ VOA News รายงานเมื่อ 4 ก.ค.67 ว่า ซิลิคอนแวลลีย์ (Silicon Valley) ศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ อาทิ Google OpenAI NVIDIA และ Sequoia Capital ได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลต่อพนักงานและผู้สมัครงานทุกเชื้อชาติให้เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะชาวจีนหรือผู้ที่มีครอบครัวหรือมีความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อแรงกดดันจากรัฐบาลจีนเป็นพิเศษ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จากจีน และตอบสนองต่อคำเตือนของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับภัยคุกคามจากการจารกรรมของจีนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา   นักศึกษาจีนในสหรัฐฯ แซ่เจิ้ง ซึ่งไม่ต้องการเปิดเผยชื่อจริงเพราะกลัวถูกตอบโต้จากรัฐบาลจีนและกำลังขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองในสหรัฐฯ กล่าวว่า “ฉันหวังว่าจะกลายเป็นกำลังสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหรัฐฯ และมีบทบาทในการต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์ของจีน” อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้กังวลว่าการตรวจสอบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการทำงาน แต่นักเรียนต่างชาติในสหรัฐฯ หลายคนอาจกังวลว่าพวกเขาจะถูกปิดกั้นจากงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหรัฐฯ   นาย Ray Wang ซีอีโอของบริษัท Constellation Research ซึ่งตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ อ้างว่า การขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ มีมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 และคนที่มีความเชื่อมโยงกับจีนมักตกเป็นเป้าหมาย โดยผู้คนในสหรัฐฯ ซึ่งมีญาติในจีน รัฐบาลจีนจะขอให้ทำงานบางอย่าง มิฉะนั้น…

ธุรกิจ 62% ยอมรับ ‘มีช่องโหว่’ ระบบกันภัย ‘สำนักงานใหญ่ – สาขา’

Loading

  การศึกษาล่าสุดโดย “แคสเปอร์สกี้” เผย ธุรกิจที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 62% พบว่า องค์กรมีช่องโหว่ จากความแตกต่างกันในระดับความแข็งแรงของการป้องกันทางไซเบอร์   บริษัท 48% ยอมรับว่ามีปัญหานี้ แต่ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องวิกฤติ บริษัท 14% ระบุว่า สาขาของตนนั้นต้องการมาตรการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเติม   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้เตือนธุรกิจที่มีหลายสาขาว่า ความแตกต่างกันดังกล่าวอาจส่งผลต่อความปลอดภัยขององค์กรทั้งหมด   62% ยอมรับว่า ‘มีช่องโหว่’ แคสเปอร์สกี้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูลที่บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญโดยระบุว่า มีบริษัทที่ตอบแบบสอบถามเพียง 38% เท่านั้น ที่มั่นใจว่าระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบริษัทสาขามีประสิทธิภาพเท่ากับในสำนักงานใหญ่   ขณะที่ บริษัท 62% ยอมรับว่ามีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา โดยแบ่งเป็นบริษัท 48% เห็นว่ามีปัญหาแต่ไม่ได้รุนแรง บริษัทเหล่านี้เชื่อว่าสาขาส่วนใหญ่ได้รับการป้องกันที่ดี   บริษัท 13% มองว่าปัญหานี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยคิดว่ามีเพียงไม่กี่สาขาที่ได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ บริษัท 1% ระบุว่า ไม่มีสาขาใดเลยที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง   นอกเหนือจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้การป้องกันไซเบอร์มีความเหลื่อมล้ำ คือการขาดความเชื่อมั่นในความเชี่ยวชาญของพนักงานประจำสาขา   รายงานพบว่าบริษัท 37%…