‘โจรไซเบอร์’ ป่วนหนักองค์กรไทย ล็อกเป้า ‘ภาครัฐ – ทหาร – การผลิต – การเงิน’

Loading

  รายงานล่าสุดโดย “เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์” พบว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2566 หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยถูกโจรไซเบอร์โจมตีมากถึง 1,892 ครั้งต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกกว่าที่ถูกโจมตีประมาณ 1,040 ครั้ง กว่า 800 ครั้ง   Keypoints : •  เป้าหมายหลักคือ หน่วยงานภาครัฐ การทหาร อุตสาหกรรมการผลิต และการเงินการธนาคาร •  ท็อป 3 ภัยคุกคามคือ บอทเน็ต (Botnet), คริปโทไมเนอร์ (Cryptominer), และแรนซัมแวร์ •  ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทั้งแบบฟิชชิ่ง การหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ และการปล้นทรัพยากร (Resource Hijacking)   ชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการสาขาประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค…

ผอ.เอฟบีไอออกโรงเตือน แฮ็กเกอร์จีนเตรียมสร้างหายนะให้สหรัฐฯ

Loading

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ (FBI) กล่าวว่า “แฮ็กเกอร์ของจีนกำลังเล็งโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะสร้างความเสียหายและก่อให้เกิดอันตรายในโลกแห่งความเป็นจริงต่อพลเมืองและชุมชนอเมริกัน

‘ความปลอดภัยทางไซเบอร์’ ปมท้าทายผู้นำโลกปี 2024

Loading

  การประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WEF) 2024 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค.นี้ ประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความสามารถในการรับมือ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อดำรงภาวะที่เป็นปกติ เป็นหนึ่งในประเด็นหารือที่สำคัญในการประชุม   รายงานว่าด้วยเรื่อง แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2024 (Global Cybersecurity Outlook 2024) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การประชุม WEF 2024 ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ ที่บรรดาผู้นำโลกต้องเผชิญ ท่ามกลางความพยายามในการเตรียมตัวหาแนวทางป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความทนทานต่อการบุกรุกและการโจมตีระบบ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกู้คืนระบบให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ หรือที่เรียกโดยรวมว่า Cyber Resilience   ความท้าทายที่กล่าวมานี้ จะมาในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ไปจนถึงการมีบทบาทมากขึ้นของ Generative AI ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์สุดอัจฉริยะที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ จากผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เคยทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ และอื่น ๆ แต่ความฉลาดของ Generative AI…

ความสำคัญของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายต่อองค์กรยุคใหม่

Loading

  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่นำพาความสะดวกสบายมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ยิ่งต้องเจอกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น การมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย คืออะไร?   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security Device) คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป   ประเภทของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ควรรู้จัก   – ไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   – ระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม (Intrusion Detection and Prevention System: IDPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) เป็นต้น   – ระบบป้องกันไวรัส…

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท

‘แคสเปอร์สกี้’ เตือนภัยแฝงในเงามืด ‘อุปกรณ์ไอที’ ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบ

Loading

  ปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการโจมตีไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มการใช้งานอุปกรณ์ไอทีจากภายนอกองค์กรและจากพนักงานเอง   ผลการวิจัยล่าสุดจาก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” พบว่า สองปีที่ผ่านมา ธุรกิจ 77% ได้รับความเสียหายจากการโจมตีไซเบอร์ โดยที่ธุรกิจ 11% ที่ถูกโจมตีมีสาเหตุมาจากการใช้งานอุปกรณ์ไอทีที่ยังไม่ผ่านการตรวจรับรองของบริษัท   โดย ธุรกิจทั่วโลก 11% ที่เป็นเป้าการโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีสาเหตุมาจากที่พนักงานใช้งานอุปกรณ์ไอทีจากภายนอกระบบ ซึ่งสามารถจำแนกผลกระทบจากการใช้งานอุปกรณ์ไอทีนอกระบบได้ตามความรุนแรงของความเสียหาย ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ทั้งการรั่วไหลของข้อมูลลับเฉพาะและความเสียหายต่อธุรกิจ   ไอทีนอกระบบคืออะไร : คำว่าไอทีนอกระบบ หรือ Shadow IT หมายถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่อยู่นอกขอบเขตการเฝ้าระวังของฝ่ายไอทีและฝ่ายรักษาความปลอดภัยข้อมูล   เช่น แอปพลิเคชัน อุปกรณ์ต่าง ๆ บริการคลาวด์สาธารณะ และอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้นำมาผนวกเข้ากับนโยบายรักษาความปลอดภัยข้อมูลของทางธุรกิจ การนำไอทีนอกระบบมาใช้งานหรือปฏิบัติงานบนระบบดังกล่าว สามารถนำไปสู่ผลเสียหายทางธุรกิจได้   งานวิจัยของแคสเปอร์สกี้พบด้วยว่ามีเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งเผยให้เห็นว่าอุตสาหกรรมไอทีตกเป็นเป้าการโจมตีอย่างหนัก ในช่วงปี 2565 – 2566   ข้อมูลระบุว่า ความเสียหายจากการโจมตีทางไซเบอร์ 16% เกิดจากการใช้งานไอทีนอกระบบ…