‘ภัยคุกคามไซเบอร์’ โจมตี ‘เซิร์ฟเวอร์ไทย’ พุ่ง 89.48%

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์โลก เปิดรายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พบไทยเจอเหตุการณ์โจมตีที่เป็นอันตรายจำนวน 364,219 เหตุการณ์ เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทย สูงกว่าปีที่แล้ว 89.48% หรือ 192,217 เหตุการณ์   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ประเทศไทย มีสถิติที่โดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีการบันทึกเหตุการณ์โจมตีมากที่สุดกว่า 1.08 ล้านเหตุการณ์ ตัวเลขดังกล่าวลดลงในช่วงที่เกิดโรคระบาดในปี 2563-2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นได้บันทึกไว้อีกครั้งล่าสุดในปี 2565   ช่วง 3 ปีที่ผ่านมากลายเป็นบททดสอบที่ยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ องค์กรทุกขนาดถูกบังคับให้เปลี่ยนลำดับความสำคัญ โดยมุ่งเน้นที่การปลดล็อกเพื่อเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากระยะไกล ในขณะที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และการลงทุนในแหล่งรายได้ใหม่   อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจหลังแพร่ระบาดดูเหมือนจะได้รับการเตรียมพร้อมอย่างดี สำหรับอนาคตที่สดใสของประเทศไทย โดยปีนี้ รัฐบาลไทยมีเป้าหมายเร่งรัดการลงทุนของรัฐ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% ในปี 2566 โดยการเติบโตได้แรงหนุนจากแผนรัฐบาลในการเร่งการลงทุนของรัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ขณะที่ ภาพรวมของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้…

พร้อมหรือยังกับการรับมือ Top SaaS Cybersecurity (จบ)

Loading

    สัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเสนอวิธีการรับมือ Top SaaS Cybersecurity ในปี 2566 ไปแล้ว 2 วิธีด้วยกัน สำหรับในตอนที่ 2 นี้ เราจะมาตามกันต่อสำหรับวิธีการรับมือที่เหลือรวมถึงบทสรุปกันนะครับว่ามีอะไรบ้าง   Software ที่มีช่องโหว่และการแพตช์ (patch) : ประเด็นนี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ในทุกองค์กรและทุกธุรกิจ ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่บริษัท SaaS เพราะเมื่อเรา host app ด้วยตนเองแล้ว ในทุกครั้งต้องแน่ใจก่อนว่าระบบความปลอดภัยจะเริ่มทำงานเมื่อมีการเปิดระบบปฏิบัติการและ library patch ขึ้น   แต่น่าเสียดายที่สิ่งนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอยู่ และขณะนี้ก็ยังมีการค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในระบบปฏิบัติการและ library และความพยายามในการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง   การใช้แนวทางปฏิบัติของ DevOps และโครงสร้างพื้นฐานชั่วคราวสามารถช่วยให้แน่ใจว่าบริการขององค์กรได้รับการปรับใช้กับระบบที่แพตช์อย่างสมบูรณ์ในแต่ละรุ่น แต่ก็ยังต้องตรวจสอบหาจุดอ่อนแบบใหม่ ๆ ที่อาจพบระหว่างรุ่นต่าง ๆ ด้วย   อีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากการโฮสต์ด้วยตนเองคือข้อเสนอแบบฟรี (และจ่ายเงิน) แบบไร้เซิร์ฟเวอร์และ Platform as a Service (PaaS) ที่เรียกใช้…

แนะทำแผนความปลอดภัยไซเบอร์รับมือภัยคุกคาม

Loading

    เทรนด์ไมโคร เผยภัยคุกคามไซเบอร์ทั่วโลก เรนซัมแวร์ มีอัตราเติบโตสูงถึง 75% และมีมากกว่า 1,200 องค์กรที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตี แนะทำแผนความปลอดภัยไซเบอร์เพื่อรับมือ   น.ส.ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านความปลอดภัย ทางไซเบอร์ระดับโลก เปิดเผยว่า ในปี 66 ภัยคุกคามไซเบอร์นั้น ยังไม่ลดลงไปจากเดิม ข้อมูลจาก เทรนด์ไมโคร พบว่า ทั่วโลก เรนซัมแวร์ มีอัตราเติบโตสูงถึง 75% และมีมากกว่า 1,200 องค์กรที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตี ใน 6 เดือนแรกของปี 65 ที่ผ่านมา องค์กรควรตระหนักและหันมาให้ความสำคัญกับ การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการทำ บีซีพี (Business Continuity Planning) ด้าน ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อให้องค์กรสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ ทุกรูปแบบ ขณะเดียวกัน องค์กรจะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านการป้องกัน ภัยไซเบอร์ หรือผู้นำองค์กรระดับ Chief Information Security Officer (CISO) มาเป็นผู้วางรากฐาน และ ผู้วางกลยุทธ์ BCP  เพื่อป้องกันองค์กรให้แข็งแกร่ง   สำหรับการทำ BCP เพื่อรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ สำหรับ CISO มีดังนี้ 1. สร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งตั้งแต่การป้องกัน การตรวจจับ ไปจนถึงความรวดเร็วในการหาช่องโหว่และสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันที สำหรับการใช้งานซอฟต์แวร์ต่าง ๆ จะต้องอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอเพื่อป้องกันช่องโหว่ สำหรับการรักษาข้อมูล ให้ใช้กฎ 3-2-1 คือ ทำ Backup ข้อมูลทั้งหมด 3 ชุด ทำรูปแบบไฟล์ (Format) ให้แตกต่างกัน 2 รูปแบบ และนำข้อมูล 1 ชุด ไปเก็บไว้ในตำแหน่งที่ยากต่อการค้นหา   2. ตรวจสอบการเข้าถึงระบบของทุกคนในองค์กร แบ่งสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และชั้นความลับ อย่างชัดเจน ตรวจสอบสถานะผู้ใช้ก่อนเข้าระบบเพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งการตรวจสอบอย่างชัดเจน จะทำให้องค์กรมีวิธีการรักษาความปลอดภัยแบบ Zero Trust และ 3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้  ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ จัดฝึกอบรม วัดเคพีไอ ของคนในองค์กร     บทความโดย   ทีมข่าวไอทีเดลินิวส์ออนไลน์       ———————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                        เดลินิวส์ออนไลน์       …

บทสรุป “6 คำทำนายการคาดการณ์ภัยคุกคามปี 2023” ข้อมูลโดยทาง ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย

Loading

  ฟอร์ติเน็ต ได้จัดงานแถลงข่าว โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงแนวโน้มประเด็นด้านภัยคุกคามที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2023 ที่จะมาถึงนี้ โดยผู้ที่ขึ้นมาแถลงในคราวนี้ก็คือ ดร.รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต   ก่อนที่เขาจะเล่าถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นั้น เขาได้ท้าวความไปถึงคำทำนายของปี 2022 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ภัยของการปลอมแปลงอย่าง Deep Fake ที่มีการใช้ AI ได้อย่างน่ากลัวมากขึ้น, เรื่องของการปล้นพวก กระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงประเด็นการขโมยตัวทรัพย์สินแบบ NFT ก็เพิ่มมากขึ้น   พอมาถึงปี 2023 นี้เขาได้ยกตัวอย่างคำทำนายเอาไว้ 6 ประการ ที่อาจจะส่งผลกระทบในเรื่องของภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในโลกรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยทางทีมงาน Enterprise ITPro ได้สรุปเฉพาะส่วนสำคัญมาให้อ่าน ดังนี้   1. เรื่องของ Wiper Malware – จะเป็นภัยที่น่ากลัวมากขึ้น มีการผสมผสานระหว่างแรนซั่มแวร์และมัลแวร์ ผนึกรวมกัน ทำให้มันแพร่กระจายรวดเร็ว…

น่าเป็นห่วง บริษัทไทยตกเป็นเป้าหมาย แฮ็กเกอร์จ้องขโมย Password

Loading

  ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เรามักเห็นข่าวว่าช่อง Youtuber และเว็บไซต์ของธุรกิจไทยบางแห่งโดนโจมตีโดยการขโมย Password แล้วเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลภายในเว็บ จ้องทำลายเว็บ หรือเป็นเส้นทางในการโจมตีส่วนอื่น ๆ ต่อไป เช่น การดักจับข้อมูลและใช้ Ransomware โจมตี   ล่าสุด Kaspersky ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติของการโจมตีธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) โดยครึ่งแรกของปี 2022 พบว่าอาชญากรไซเบอร์ได้โจมตีผ่านเว็บจำนวน 11,298,154 ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในไทยมีสถิติการโจมตีมากกว่า 1.4 ล้านครั้งที่ Kaspersky สามารถบล็อกได้   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ประเภทหนึ่งที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดขึ้นได้จากช่องโหว่ของผู้ใช้ปลายทาง (Endpoint) บริการเว็บเซอร์วิส และผู้พัฒนา/ผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิส ซึ่งหากไม่ได้มีระบบป้องกันที่ดีพอ้และผู้ใช้ไม่ทันระวังตัว ก็อาจทำให้เกิดการโจมตีดังกล่าวได้   นอกเหนือจากภัยคุกคามทางเว็บแล้ว แคสเปอร์สกี้ยังตรวจพบโทรจันขโมยพาสเวิร์ด Trojan-PSW (Password Stealing Ware) จำนวน 373,138 รายการ (ในไทย 31,917) ที่พยายามแพร่กระจายสู่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภูมิภาค SEA โดย Trojan-PSW…

ภัยไซเบอร์กับการเข้าสู่ระบบงานแบบดิจิทัล

Loading

  การโจมตีไซเบอร์ในช่วงโควิด-19   ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดทั่วโลก ปี 2021 เป็นปีที่การโจมตีไซเบอร์เรียกค่าไถ่ (ransomware attack) รุนแรงที่สุด เหตุครั้งแรกมีบันทึกย้อนกลับไปปี 1989 โดยเริ่มมีอาชญากรเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 2006 และแพร่ไปทั่วโลกตั้งแต่ 2011 การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์เกิดในทุกประเทศทั้งกับบุคคลทั่วไปและองค์กร หน่วยงานสาธารณูปโภคเช่นไฟฟ้า, ประปา, โรงพยาบาล ล้วนกลายเป็นเป้าหมาย มีหลักฐานว่าโรงพยาบาลบางแห่งถึงกับไม่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพราะไม่สามารถดูประวัติการรักษาที่จำเป็น ไม่กี่ปีมานี้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นเหยื่อก็เช่น Colonial Pipeline (น้ำมัน) Mersk (เดินเรือ) JBS (อาหาร) NBA(กีฬา) เป็นต้น   การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์ คือการที่แฮคเกอร์(hacker) แอบส่งซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย(มัลแวร์ – malware) ที่เรียกว่าแรนซัมแวร์ (ransomware) เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แล้วยึดไฟล์ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสไฟล์ (encrypt) คือยึดข้อมูลเป็นตัวประกันด้วยการทำให้เจ้าของไม่สามารถอ่านหรือเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง โดยอาจขู่ว่าจะลบข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้วทั้งหมดหากไม่ทำตามคำสั่ง แล้วเรียกค่าไถ่สำหรับกุญแจถอดรหัส (decryption key) ปกติจะเรียกค่าไถ่เป็นเงินคริปโตซึ่งจ่ายไปยังกระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet)ที่ไม่ระบุตัวตนเจ้าของกระเป๋า ช่วงก่อนปี 2015 ค่าไถ่มักเรียกเป็นหลักร้อยหรือหลักพันดอลลาร์ แต่วันนี้ปี…