GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศจาก Google

Loading

  การพยากรณ์อากาศ หนึ่งในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง แต่หลายครั้งเราก็ต้องตั้งคำถามว่าสามารถเชื่อถือได้แค่ไหน เมื่อเราก็เคยเห็นพยากรณ์อากาศผิดพลาดมาหลายครั้ง แต่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปจากการมาถึงของ GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศจาก Google   เมื่อพูดถึงการพยากรณ์อากาศอาจทำให้หลายท่านรู้สึกแคลงใจอยู่ไม่น้อย จริงอยู่อุตุนิยมวิทยาถือเป็นส่วนที่ช่วยคาดเดาสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้ามาหลายครั้ง ช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนมากมายจากเหตุร้ายหรือภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้มาก   ในขณะเดียวกันเราเองก็ทราบดีว่าการพยากรณ์อากาศมีขีดจำกัด หลายครั้งข้อมูลที่พยากรณ์ออกมาล่วงหน้าเกิดการผิดพลาด หรือมีปัจจัยอื่นแทรกซ้อนเข้ามาจนไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงาน นำไปสู่การเกิดความเข้าใจผิดซึ่งชวนให้เรากังขาในข้อมูลที่ได้รับไม่มากก็น้อย   แต่ทุกอย่างอาจเปลี่ยนไปเมื่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ Google ได้ประการเปิดตัวสุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศ     GraphCast สุดยอดเอไอพยากรณ์อากาศ ผลงานนี้มาจากบริษัท Deepmind ที่มีเจ้าของเป็นบริษัทไอทียักษ์ใหญ่อย่าง Google กับการพัฒนาระบบ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ รูปแบบใหม่ในชื่อ GraphCast ที่สามารถพยากรณ์สภาพอากาศได้อย่างแม่นยำเป็นระยะเวลาถึง 10 วัน โดยอาศัยระยะเวลาในการประมวลผลเพียงนาทีเดียว   รูปแบบการทำงานของระบบพยากรณ์อากาศในปัจจุบันอาศัยระบบ Numerical Weather Prediction (NWP) โดยการตรวจสอบข้อมูลสภาพอากาศทั่วโลกในช่วงเวลานั้นๆ แล้วจึงนำข้อมูลดิบไปผ่านสมการทางฟิสิกส์เฉพาะบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จึงประมวลออกมาเป็นคำตอบ   ในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์พวกเขาทำการป้อนข้อมูลอากาศย้อนหลังจำนวนมหาศาล GraphCast ได้รับการเทรนข้อมูลวิเคราะห์สภาพอากาศทั้งภาพถ่ายดาวเทียม เรดาร์ และข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศทั่วโลก ข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลากว่า…

บทเรียนจากภัยพิบัติ : เหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น

Loading

ตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นกำหนดให้วันที่ 1 ก.ย. ของทุกปีเป็น “วันป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติ” ซึ่งในวันข้างต้น ชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน พนักงาน และข้าราชการ รวมถึงรัฐบาล จะร่วมกันฝึกจำลองสถานการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่

ยอดเสียชีวิตเหตุน้ำท่วมเกาหลีใต้เพิ่มเป็น 40 คน ประธานาธิบดีชี้ การรับมือภัยพิบัติล้มเหลว

Loading

  ยุนซอกยอล ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ กล่าวตำหนิถึงความล้มเหลวในการปฏิบัติตามแผนรับมือภัยพิบัติแห่งชาติของบรรดาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หลังประสบเหตุภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดชุงชองเหนือ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 40 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงไทย 1 คน ขณะที่ยังสูญหายอีก 9 คน และได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง   ทางการเกาหลีใต้คาดว่า จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมนี้จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลาอันสั้นนี้ โดยเจ้าหน้าที่ทีมกู้ภัยเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและค้นหาร่างผู้เสียชีวิตที่อาจติดอยู่ภายใต้อุโมงค์หรือจมอยู่ใต้น้ำอย่างเต็มความสามารถ   เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงความพยายามในการป้องกันและการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นของรัฐบาลเกาหลีใต้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะบางคนชี้ว่า ทางการเกาหลีใต้ไม่สามารถควบคุมการใช้รถใช้ถนนบริเวณอุโมงค์ทางลอดหรือเส้นทางที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ จนนำไปสู่เหตุสูญเสียในท้ายที่สุด   ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่เพิ่งเดินทางกลับจากทริปเยือนต่างประเทศยอมรับว่า ภาวะน้ำท่วมในประเทศเลวร้ายลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงไม่ดี โดยยุนซอกยอลระบุว่า เราได้เน้นย้ำหลายต่อหลายครั้งถึงความสำคัญในการเข้าถึงพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะอพยพหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา แต่ถ้าหากหลักการขั้นพื้นฐานในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติไม่ได้รับการยึดถือหรือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็จะส่งผลต่อความปลอดภัยของสาธารณชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   เมื่อปี 2022 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ให้คำมั่นที่จะดำเนินการเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้ดียิ่งขึ้น หลังเผชิญหน้ากับเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ เนื่องมาจากพายุฝนที่ตกลงมาอย่างหนักที่สุดในรอบ 115 ปี คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 14 คน และสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง   นับเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตของเกาหลีใต้ในปีนี้ แม้ในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาเกาหลีใต้จะเคยเผชิญกับภัยพิบัติครั้งใหญ่มาแล้วหลายต่อหลายครั้งก็ตาม   ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ…

ระบบคาดการณ์สึนามิจาก AI ที่แจ้งเตือนในเวลาไม่กี่วินาที

Loading

  สึนามิ ถือเป็นภัยธรรมชาติร้ายแรงที่ฝังใจคนมากมาย โดยเฉพาะประเทศไทยกับเหตุการณ์ปี 2004 ปัจจุบันเรามีระบบแจ้งเตือนสึนามิได้รับการพัฒนาขึ้นมากมาย แต่ระบบนี้กำลังจะก้าวกระโดดครั้งใหญ่ เมื่อ AI สามารถคาดการณ์คลื่นที่จะเกิดขึ้นได้ในไม่กี่วินาที   ภัยธรรมชาติถือเป็นหนึ่งในภัยพิบัติร้ายแรงสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ในจำนวนนั้นเมื่อพูดถึงภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด ประเทศที่มีชายฝั่งทะเลทั้งหลายย่อมคิดถึง สึนามิ หนึ่งในภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตของผู้คนจำนวนมากอย่างฉับพลัน ดังเช่นเหตุการณ์สึนามิปี 2011 ในญี่ปุ่นที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 18,500 ราย   นั่นเป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาระบบวิเคราะห์แบบใหม่ช่วยประเมินและแจ้งเตือนสึนามิได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที     ระบบตรวจสอบสึนามิที่ใช้งานในไทยปัจจุบัน   ปัจจุบันระบบตรวจสอบสึนามิมีการใช้งานทั่วไปในหลายประเทศที่มีชายฝั่งทะเล เกือบทุกประเทศที่มีชายฝั่งทะเลและเคยประสบภัยพิบัติสึนามิมาก่อน ไม่เว้นกระทั่งประเทศไทยยังมีการติดตั้งระบบเตือนภัยหลังเหตุการณ์ปี 2004 เป็นต้นมา แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีรายงานว่าทุ่นแจ้งเตือนสึนามิเริ่มเสียหายจนไม่ทำงานก็ตาม   ระบบการแจ้งเตือนสึนามิในปัจจุบันจะอาศัยอาศัยทุ่นลอยที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดความดันใต้ทะเลในการแจ้งเตือน โดยจะทำการตรวจวัดข้อมูลความเปลี่ยนแปลงของความดันน้ำส่งข้อมูลไปยังทุ่นที่ลอยบนผิวน้ำ จากนั้นจึงส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังหน่วยงานเพื่อแจ้งเตือนภัยสึนามิต่อไป   นอกจากทุ่นลอยที่ใช้งานยังมีอีกหลายภาคส่วนทำหน้าที่ตรวจสอบการเกิดสึนามิ ตั้งแต่หน่วยงานบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา(NOAA) คอยรับหน้าที่แจ้งเตือนภัยสึนามิทั่วโลก ไปจนสถานีวัดระดับน้ำทะเลในประเทศต่างๆ รวมถึงในไทย เพื่อตรวจสอบข้อมูลแนวโน้มการเกิดคลื่นสึนามิทั่วโลก   เมื่อได้รับข้อมูลว่าจะมีการเกิดคลื่นสึนามิที่อาจเป็นอันตราย ระบบจะแจ้งเตือนผ่านดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยภายในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งทะเลที่มีอยู่กว่า 226 แห่ง จากนั้นจึงส่งข้อความ SMS เพื่อแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานราชการและองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อกระจายข้อมูลในการแจ้งประชาขนในพื้นที่เตรียมการรับมือจนถึงอพยพต่อไป  …

สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงเตือนภัยพิบัติฉุกเฉิน

Loading

  สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศแจ้งข่าว หรือเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน   นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ให้เตรียมความพร้อมในการออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารและการแจ้งเตือนให้ทันต่อสถานการณ์ โดยให้ความร่วมมือเมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐร้องขอ เนื่องจากปัจจุบันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากทำให้ต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง รวมทั้งอาจเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สินและสาธารณูปโภค   สำนักงาน กสทช. เห็นถึงความสำคัญของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงรวมถึงสื่อมวลชนว่ามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อประชาชนในการเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันแก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือในการแจ้งข่าวหรือเตือนภัย พร้อมเน้นย้ำถึงแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติในการออกอากาศที่ต้องใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อรายงานข้อมูล แจ้งข่าวเตือนภัยเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินอย่างรอบด้าน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจกับประชาชน และให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงทุกรายปฏิบัติตาม ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2555 อย่างเคร่งครัด   “วิทยุเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่าย ซึ่งจะช่วยในการกระจายข้อมูลข่าวสาร และแจ้งเหตุเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินให้ประชาชน การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องด้วยความรอบคอบ ทันสถานการณ์ จะช่วยให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก” นายสมบัติ กล่าว…

ESRI หนุนใช้ เทคโนโลยี GIS จัดการ ภัยพิบัติ ครอบคลุม น้ำท่วม แล้ง ไฟป่า

Loading

  ESRI หนุนใช้ เทคโนโลยี GIS จัดการภัยพิบัติ รับมือเหตุฉุกเฉินครบวงจร ชูประสิทธิภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแผนที่เชิงลึก จัดการทุกภัยพิบัติ แล้ง น้ำท่วม ไฟป่า อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ESRI ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนา ซอฟต์แวร์ ArcGIS แพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศอัจฉริยะระดับโลกในประเทศไทยมากว่า 30 ปี ชูโซลูชันสุดล้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก GIS for Crisis Management หรือ จีไอเอสเพื่อการบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤตครบวงจร ดึงจุดแข็งด้านข้อมูลแผนที่อัจฉริยะและการวิเคราะห์ประมวลผลเชิงลึก เพื่อ รับมือภัยพิบัติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน   รวมทั้งวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ชูศักยภาพขั้นสูงระบุความเสี่ยงของพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ เข้าใจสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบ เตรียมแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา พร้อมบริหารจัดการภาวะวิกฤตตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุจนสถานการณ์คลี่คลาย ช่วยฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติ ต่อยอดความสามารถ GIS สู่เทรนด์การพัฒนาเมือง เสริมคุณภาพชีวิตและการจัดการพื้นที่ทุกมิติ แนะหน่วยงานภาครัฐใช้เทคโนโลยีจีไอเอสเพื่อการบริหารภาวะวิกฤตเต็มรูปแบบในทุกสถานการณ์   ธนพร…