‘โดรนกู้ภัย’ อัพเกรดความแกร่ง ช่วยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ลุยวิกฤติ

Loading

  ภาพของโดรน BRINC สำหรับเจ้าหน้าที่   เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน (Drone) ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อนำไปใช้สำหรับปฏิบัติการภาคสนามของทีมกู้ภัยเบื้องต้น โดยนวัตกรรมนี้จะทำหน้าที่สอดส่องบริเวณที่มีความอันตราย ช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานของเจ้าหน้าที่   โดรนว่านี้สามารถกระแทกกระจกหน้าต่างจนเปิดเป็นช่องให้บินเข้าไปภายในตัวอาคารได้ แม้ว่าจะปราศจาก GPS ช่วยนำทาง และยังสามารถทำการบินหาเส้นทางและสร้างแผนที่จำลองสามมิติของสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ ทั้งยังทำหน้าที่เชื่อมการสื่อสารสองทาง ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รอดชีวิตในกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือกับผู้ก่อเหตุ ในกรณีวิกฤตตัวประกัน เป็นต้น   ภาพของการสร้างแผนที่ 3 มิติโดยโดรน ‘Brinc’   และหากโดรนนี้ประสบอุบัติเหตุตกลงพื้นแบบกลับหัว มันก็ยังสามารถพลิกตัวเองและบินขึ้นสูง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้   บริษัทสตาร์ทอัพ บริงค์ โดรนส์ (Brinc Drones) ในเมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน คือ ผู้พัฒนาโดรนสำหรับทีมกู้ภัยเบื้องต้น โดยในปัจจุบัน โดรน รุ่น ลีเมอร์ ทู (Lemur 2) ของบริษัทถูกหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหลายแห่งในสหรัฐฯ นำไปใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   เบลค เรสนิค ประธานกรรมการบริหาร…

Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร ไทยเตรียมใช้งานจริงภายในปี 2567

Loading

Cell Broadcast Service คืออะไร CBS ทำงานอย่างไร จากที่เมื่อปี 2566 เกิดเหตุการณ์กราดยิงพารากอนของเด็กวัย 14 ปี และยังมีเหตุอันตรายอย่างต่อเนื่อง จนเรียกร้องให้มีบริการ เตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือเหมือนที่ญี่ปุ่น เกาหลี หรือประเทศอื่นๆมี ล่าสุด กสทช. เผยระบบ Cell Broadcast Service ระบบเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ ของไทยเผยโฉมออกมาแล้ว โชว์สาธิตทดสอบการแจ้งเตือนในไทยในวันนี้ โดย กสทช. ร่วมกับ AIS สาธิตการทดสอบระบบในครั้งนี้เพื่อให้เห็นว่าระบบ Cell Broadcast Service ของไทย ทำงานอย่างไร

เสริมสร้างความสามารถองค์กรรับมือ BANI โลกยุคใหม่ที่ท้าทายยิ่ง

Loading

VUCA เป็นคำย่อของ Volatility, Uncertainty, Complexity, และ Ambiguity อันหมายถึงความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ความคลุมเคลือ ส่วน BANI ก็มาจาก Brittle, Anxious, Nonlinear, และ Incomprehensible ซึ่งหมายถึง ความเปราะบาง ความวิตกกังวล ความไม่เป็นเส้นตรง ความกำกวมเข้าใจยาก โดยหลาย ๆ คนก็บอกว่าโลกได้เปลี่ยนจากยุค VUCA เข้าสู่ BANI แล้ว

เทคโนโลยีจำลองวัตถุจริงจาก “ฟูจิตสึและเฮกซากอน” ช่วยคาดการณ์ภัยพิบัติและจัดการความปลอดภัยบนท้องถนน

Loading

  สิงคโปร์และโตเกียว – วันนี้ ฝ่ายความปลอดภัย โครงสร้างระบบ และพิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์ของเฮกซากอน (Hexagon) และฟูจิตสึ ลิมิเต็ด ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาแอปพลิเคชันดิจิทัลทวิน (digital twin) หรือการจำลองวัตถุเสมือนจากวัตถุจริง เพื่อใช้คาดการณ์และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุบัติเหตุบนท้องถนน   โซลูชันดังกล่าวสะท้อนถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของทั้งสองบริษัทในการแสวงหาแนวทางปกป้องและฟื้นฟูเมืองจากภัยพิบัติผ่านความร่วมมือทางธุรกิจตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2565   ทั้งสองบริษัทได้พัฒนาโมเดลการคาดการณ์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติโดยอาศัยการคำนวณขอบเขตและผลกระทบจากอุทกภัยโดยใช้ข้อมูลหยาดน้ำฟ้า สร้างภาพขอบเขตปัญหาอุทกภัย และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ความเสียหาย ทั้งนี้เพื่อให้เมืองต่างๆ สามารถจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่าง ๆ สำหรับความปลอดภัยบนท้องถนน บริษัททั้งสองได้มุ่งเป้าไปที่แอปพลิเคชันที่ใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงจากการจราจรที่คับคั่งและปัญหาการออกแบบถนนซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข แอปพลิเคชันดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานผังเมืองและฝ่ายดูแลท้องถนนสามารถพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น   ฟูจิตสึและเฮกซากอนจะเดินหน้าทดสอบในพื้นที่จริงกับลูกค้าฝ่ายบริหาร เทศบาล และภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมือง ภายใต้เป้าหมายในการจัดทำโซลูชันให้ครอบคลุมทั่วโลกภายในปีงบการเงิน 2566 ซึ่งสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567   กรณีการใช้งานที่ 1: การปกป้องเมืองและภูมิภาคจากภัยธรรมชาติ   (ตัวอย่าง) ภาพจำลองสถานการณ์ภัยพิบัติโดยการพยากรณ์อุทกภัยล่วงหน้า   (ตัวอย่าง) การรายงานจำนวนอาคารสถานที่และผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ และการเสนอมาตรการรับมือ   ข้อมูลพิกัดตำแหน่งและภาพบนพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน…

สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงเตือนภัยพิบัติฉุกเฉิน

Loading

  สำนักงาน กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศแจ้งข่าว หรือเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน   นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอความร่วมมือสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ ให้เตรียมความพร้อมในการออกอากาศแจ้งข่าวหรือเตือนภัยในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารและการแจ้งเตือนให้ทันต่อสถานการณ์ โดยให้ความร่วมมือเมื่อรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐร้องขอ เนื่องจากปัจจุบันในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากทำให้ต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง รวมทั้งอาจเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สินและสาธารณูปโภค   สำนักงาน กสทช. เห็นถึงความสำคัญของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงรวมถึงสื่อมวลชนว่ามีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่และนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อประชาชนในการเตรียมความพร้อม เพื่อป้องกันแก้ไขและบรรเทาเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น จึงขอความร่วมมือในการแจ้งข่าวหรือเตือนภัย พร้อมเน้นย้ำถึงแนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติในการออกอากาศที่ต้องใช้ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อรายงานข้อมูล แจ้งข่าวเตือนภัยเกี่ยวกับภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินอย่างรอบด้าน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจกับประชาชน และให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงทุกรายปฏิบัติตาม ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2555 อย่างเคร่งครัด   “วิทยุเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและง่าย ซึ่งจะช่วยในการกระจายข้อมูลข่าวสาร และแจ้งเหตุเตือนภัยกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินให้ประชาชน การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องด้วยความรอบคอบ ทันสถานการณ์ จะช่วยให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก” นายสมบัติ กล่าว…