นักวิจัยใช้ช่องโหว่ ChatGPT สร้างมัลแวร์ขั้นสูงสำเร็จในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

Loading

  แอรอน มัลกรูว (Aaron Mulgrew) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Forcepoint เผยว่าเขาใช้ ChatGPT ในการสร้างมัลแวร์ที่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-day ได้สำเร็จ   โดยปกติแล้ว ChatGPT มีระบบป้องกันการถูกนำไปใช้เพื่อสร้างมัลแวร์หรือสนับสนุนการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ แต่มัลกรูวพบช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ทำเช่นนั้นได้   วิธีการก็คือให้ ChatGPT เขียนโค้ดมัลแวร์ทีละบรรทัด จากนั้นมัลกรูวก็ได้นำบรรทัดเหล่านี้มาผสมกันกลายเป็นมัลแวร์สำหรับขโมยข้อมูล   มัลแวร์ที่สร้างขึ้นนี้ยังปลอมตัวเป็นแอปสกรีนเซฟเวอร์ที่จะเปิดใช้งานแบบอัตโนมัติบน Windows มีความสามารถในการขโมยข้อมูล แตกไฟล์เป็นไฟล์เล็กไฟล์น้อยที่ซ่อนเข้าไปในไฟล์รูปภาพได้ และอัปโหลดขึ้นไปบนโฟลเดอร์ Google Drive ได้   นอกจากนี้ มัลกรูวยังใช้ ChatGPT ในการเสริมประสิทธิภาพให้กับมัลแวร์ที่เขียนขึ้นจน VirusTotal ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยอีกต่างหาก   สิ่งที่น่ากลัวก็คือ การที่มัลกรูวซึ่งอ้างว่าตัวเองเป็นมือใหม่ในด้านการเขียนมัลแวร์สามารถทำจนสำเร็จได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง     ที่มา Android Authority         ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …

‘ภัยคุกคามไซเบอร์’ โจมตี ‘เซิร์ฟเวอร์ไทย’ พุ่ง 89.48%

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์โลก เปิดรายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พบไทยเจอเหตุการณ์โจมตีที่เป็นอันตรายจำนวน 364,219 เหตุการณ์ เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทย สูงกว่าปีที่แล้ว 89.48% หรือ 192,217 เหตุการณ์   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ประเทศไทย มีสถิติที่โดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีการบันทึกเหตุการณ์โจมตีมากที่สุดกว่า 1.08 ล้านเหตุการณ์ ตัวเลขดังกล่าวลดลงในช่วงที่เกิดโรคระบาดในปี 2563-2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นได้บันทึกไว้อีกครั้งล่าสุดในปี 2565   ช่วง 3 ปีที่ผ่านมากลายเป็นบททดสอบที่ยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ องค์กรทุกขนาดถูกบังคับให้เปลี่ยนลำดับความสำคัญ โดยมุ่งเน้นที่การปลดล็อกเพื่อเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากระยะไกล ในขณะที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และการลงทุนในแหล่งรายได้ใหม่   อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจหลังแพร่ระบาดดูเหมือนจะได้รับการเตรียมพร้อมอย่างดี สำหรับอนาคตที่สดใสของประเทศไทย โดยปีนี้ รัฐบาลไทยมีเป้าหมายเร่งรัดการลงทุนของรัฐ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% ในปี 2566 โดยการเติบโตได้แรงหนุนจากแผนรัฐบาลในการเร่งการลงทุนของรัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ขณะที่ ภาพรวมของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้…

แบงก์ชาติเอาจริง! ประกาศบังคับทุกธนาคาร เริ่มใช้มาตรการป้องกันภัยโกงเงิน

Loading

  แบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน จึงต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันกับทุกธนาคาร   แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่พบภัยจากไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น SMS ปลอม , แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชั่นดูดเงินต่างๆ   แบงก์ชาติ จึงต้องออกนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน สรุปได้ดังนี้     มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น –  ให้สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน –  จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง –  พัฒนาระบบความปลอดภัยบน…

‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี   เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน   สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   “วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”   เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์   ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย…

จับตา 2 ปี สัญญาณอันตราย ปัญหาบุคลากร ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’

Loading

  การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 หรือสองปีข้างหน้านี้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Leaders) จะเปลี่ยนงาน     Keypoints   –   ผู้บริหาร 25% จะหันไปทำงานในบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง –   ปัญหาขาดบุคลากรหรือความผิดพลาดของมนุษย์มีส่วนโดยตรงต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์มากกว่าครึ่ง   โดยที่ผู้บริหาร 25% จะหันไปทำงานในบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง อันเป็นผลมาจากปัจจัยความกดดันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน   ดีฟติ โกพอล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ เผยว่า คนทำงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์กำลังเผชิญกับความเครียดในระดับที่แตกต่างกันออกไป   ผู้บริหารระดับสูงด้านการรักษาความปลอดภัย (Chief Information Security Officer : CISOs) อยู่ในโหมดที่ต้องปกป้ององค์กรโดยมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อย่างเดียวคือ “ต้องไม่โดนแฮ็ก” หรือไม่ทำให้เกิดช่องโหว่เสียเอง ผลกระทบทางจิตวิทยาของสิ่งนี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการตัดสินใจและประสิทธิภาพการทำงานของทั้งผู้นำและทีมงานไซเบอร์ซิเคียวริตี้     ช่องโหว่ ‘มนุษย์’ ต้นเหตุหลักภัยไซเบอร์   ข้อมูลระบุว่า ด้วยพลวัตเหล่านี้รวมถึงโอกาสในตลาดที่มีอยู่อย่างมหาศาลสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้การเปลี่ยนย้ายบุคลากรที่มีทักษะความสามารถกลายเป็นสัญญาณอันตรายต่อทีมงานความปลอดภัย   การวิจัยของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เน้นปฏิบัติตามกฎระเบียบ…

แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์ ‘PayPal’ ส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตราย

Loading

  ปัจจุบันภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งทุกท่านจะเห็นข่าวภัยไซเบอร์ได้จากทั่วทุกมุมโลก หรือแม้กระทั่งในประเทศไทยของเราเองก็มีการนำเสนอจากสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแฮ็กเพื่อโจรกรรมเอาข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทางการเงิน ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ให้ความสนใจในการปฏิบัติโจมตีเพราะผลตอบแทนสูงและสามารถเข้าถึงในคนหมู่มากเลยก็ว่าได้   ในวันนี้ผมอยากพูดถึงกรณีของ PayPal ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รู้จักกันดีและมีผู้ใช้บริการจำนวนมากทั่วโลกได้ถูกแฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์โดยการแฝงตัวส่งใบแจ้งหนี้ปลอมไปยังผู้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มโดยตรง   ทาง PayPal ได้ออกประกาศแจ้งลูกค้าหลายพันรายในสหรัฐว่า การเข้าสู่ระบบถูกบุกรุกเมื่อช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยว่า การโจมตีครั้งนี้มีความแตกต่างจากการโจมตีครั้งก่อน ๆ   การที่ทีมนักวิจัยค้นพบเพราะครั้งนี้คือการปลอมแปลงและส่งใบแจ้งหนี้ที่เป็นอันตรายซึ่งมาจาก PayPal ผ่านอีเมลฟิชชิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีครั้งนี้โดยเนื้อหาระบุว่า ผู้ใช้บริการมีบัญชีที่มีการฉ้อโกงและขู่ปรับสูงถึง 699.99 ดอลลาร์ หากเหยื่อไม่ดำเนินการ   อย่างไรก็ตาม หากมีการสังเกตเนื้อหาของอีเมลจะพบว่า เราสามารถเตือนผู้ใช้งานบางคนที่มีความระมัดระวังได้ว่า อีเมลนั้นไม่ใช่อีเมลของจริงจาก PayPal เพราะรูปแบบประโยคไม่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์และมีการสะกดคำผิดอยู่หลายจุดในเนื้อความของอีเมล อีกทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้ในอีเมลไม่มีความเกี่ยวข้องกับ PayPal เลย   ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานบางคนอาจยังคงตัดสินใจโทรไปที่หมายเลขโทรศัพท์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเมลที่ได้รับ เพราะเจตนาของการทิ้งเบอร์โทรให้เหยื่อติดต่อกลับเพื่อที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์จะได้ทราบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อและนำหมายเลขโทรศัพท์นี้ไปใช้ในการโจมตีอื่น ๆ เพิ่มเติมซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในการหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์   หากเรามองในแง่ว่าทำไมเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ถึงเลือกใช้ PayPal ในการโจมตี เราจะพบว่าประโยชน์ของการใช้ PayPal ที่เด่นชัดมากคือความสามารถในการส่งใบแจ้งหนี้จำนวนมากในแต่ละครั้งและทำให้ดูเป็นมืออาชีพอย่างมาก   อีกทั้งอีเมลที่มาจาก PayPal โดยตรง ตัวอีเมลเองไม่ได้เป็นอันตรายและยังมีใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนที่ส่งผ่าน…