‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

พบมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้

Loading

    ใครที่ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ตอนนี้ต้องระวังตัวให้ดี เพราะมีมัลแวร์ใหม่บน Android หลบเลี่ยงการตรวจจับจาก Antivirus ได้ โดยมันพุ่งเป้าที่ข้อมูลสำคัญๆ อย่างข้อมูลธนาคาร รวมถึงล็อกไฟล์เพื่อเรียกค่าไถ่ได้   ผู้เชี่ยวชาญจาก CloudSEK ได้ออกมาเตือนภัยคุกคามใหม่บนแอนดรอนด์ที่มีชื่อว่า Daam มันเป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาให้จู่โจมได้ทั้งสมาร์ทโฟนและพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows (แต่ส่วนใหญ่พบบนมือถือมากกว่า)   ความสามารถของมันคือ สามารถแอบบันทึกเสียงจากมือถือโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว แอบอ่านบันทึกการโทร ขโมยรายชื่อติดต่อ แม้แต่การใช้งานการโทรผ่านแอปอย่าง WhatsApp ก็ยังบันทึกได้ นั่นหมายความว่าถ้าเราเผยข้อมูลระหว่างคุยสาย เช่น ข้อมูลธนาคาร ก็อาจจะโดนขโมยข้อมูลได้อย่างง่ายดาย   มัลแวร์ตัวนี้แพร่กระจายมาจากการโหลดแอปจากเว็บภายนอกที่ไม่ใช่ Play Store ดังนั้น การป้องกันตัวเบื้องต้นก็คือ อย่าโหลดแอปจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ Play Store ต่อมาคือการอ่านรีวิวของคนที่โหลดไปก่อนหน้านี้ รวมถึงอัปเดตระบบความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสมอ         ที่มา The Sun         —————————————————————————————————————————————— ที่มา…

McAfee พบมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่ฝังตัวอยู่ในแอป Android ที่มียอดดาวน์โหลดรวมกันทะลุ 100 ครั้ง

Loading

    นักวิจัยไซเบอร์จาก McAfee พบฐานข้อมูลของมัลแวร์ที่ทางทีมงานเรียกว่า Goldoson แฝงอยู่ในแอปบน Android กว่า 60 แอป ยอดดาวน์โหลดรวมกันกว่า 100 ล้านครั้ง   แอปแฝง Goldoson สามารถพบได้ใน Play Store ของ Google และ OneStore ร้านคู่แข่งในเกาหลีใต้   McAfee เผยว่า Goldoson มีความสามารถในการขโมยข้อมูลในอุปกรณ์ที่ตัวมันไปติดตั้งอยู่ รวมถึงข้อมูลที่อยู่ในระบบไวไฟ และบลูทูธ ที่อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่ออยู่ด้วย   Goldoson ยังสามารถคลิกโฆษณาในพื้นหลัง โดยไม่จำเป็นต้องให้เจ้าของอุปกรณ์อนุญาตก่อน เป้าหมายหลักของมัลแวร์ชนิดนี้เป็นชาวเกาหลีใต้   สำหรับแอปที่มี Goldoson ซ่อนอยู่โดยที่ผู้พัฒนาไม่รู้แบ่งตามจำนวนยอดดาวน์โหลด ได้แก่ L.POINT with LPAY, Swipe Brick Breaker และ Money Manager Expense & Budget…

พบมัลแวร์ MacStealer ที่แอบขโมยรหัส iCloud, ข้อมูลบัตรเครดิต และอื่น ๆ ในเครื่อง​ Mac

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Uptycs ได้ค้นพบมัลแวร์ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า MacStealer ซึ่งเป็นมัลแวร์ที่แอบขโมยข้อมูลบนเครื่อง Mac ที่ใช้งาน macOS Catalina และเวอร์ชันใหม่กว่านี้ ซึ่งตัวมัลแวร์สามารถทั้งานได้ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ Intel และ Apple Silicon   MacStealer สามารถขโมยข้อมูลได้หลากหลาย เช่น รหัส, Cookies และข้อมูลบัตรเครดิตจากเบราว์เซอร์ Firefox, Google Chrome และ Microsoft Brave Browser และมันยังสามารถ extract ไฟล์ได้หลายประเภท อย่าง .txt, .doc, .jpg และ .zip รวมถึงฐานข้อมูลของ KeyChain ด้วย   อ้างอิงข้อมูลจาก Uptycs เผยว่าผู้พัฒนากำลังพยายามทำให้มัลแวร์ดังกล่าวสามารถเก็บข้อมูลจาก Safari เช่นรหัสและ Cookies รวมถึงข้อมูลจากแอป Notes ด้วย   แม้ว่ามัลแวร์ MacStealer…

Ferrari ยืนยันไม่จ่ายค่าไถ่ หลังถูกแฮ็กข้อมูลลูกค้า

Loading

    Ferrari ผู้ผลิตรถแข่งและรถสปอร์ตจากอิตาลีเผยว่าเว็บไซต์ของบริษัทถูกแฮ็กเกอร์ปริศนาโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   บริษัทยังบอกด้วยว่า แฮ็กเกอร์รายนี้ติดต่อมาเรียกค่าไถ่แลกกับข้อมูลลูกค้าที่ขโมยไปได้   Ferrari ยืนยันจะไม่จ่ายเงินค่าไถ่ เพราะหากจ่ายค่าไถ่จะเป็นการ ‘สมทบทุนให้กับอาชญากรรมและทำให้แฮ็กเกอร์ก่อเหตุต่อไปได้’ และเชื่อว่าทางที่ดีที่สุดในตอนนี้คือแจ้งลูกค้าเพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับเหตุที่เกิดขึ้น   ทั้งนี้ Ferrari เผยว่าได้เริ่มการตรวจสอบทันทีเมื่อแฮ็กเกอร์ติดต่อเข้ามา โดยร่วมกับบริษัทด้านไซเบอร์ชั้นนำของโลก และได้ติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว   บริษัทยืนยันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่กระทบระบบการทำงานของ Ferrari และย้ำว่าตระหนักถึงความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจะมีการปรับปรุงมาตรการป้องกันต่อไป   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Ferrari ถูกแฮ็ก ครั้งก่อนคือ เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วที่เคยถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ จนเสียข้อมูลถึง 7 กิกะไบต์       ที่มา Cybernews       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                       …

เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…