แฮ็กเกอร์ใช้ LinkedIn หลอกคนทำงานสายไซเบอร์ให้โหลดมัลแวร์

Loading

    Mandiant พบแฮ็กเกอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลเกาหลีเหนือมุ่งเป้าโจมตีนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วยมัลแวร์ชนิดใหม่ หวังเข้าแทรกซึมองค์กรที่เหยื่อทำงานอยู่   Mandiant ตั้งชื่อแฮ็กเกอร์ว่า UNC2970 และตั้งชื่อมัลแวร์ที่ UNC2970 ใช้ว่า Touchmove, Sideshow และ Touchshift ซึ่งมีความสามารถในการตอบโต้ระบบตรวจจับภายในคลาวด์ของเป้าหมายด้วย   UNC2970 ใช้วิธีการโจมตีแบบสเปียร์ฟิชชิง (Spear-phishing) หรือการล้วงข้อมูลแบบเจาะจงเป้าหมาย ด้วยการส่งอีเมลที่หลอกชักชวนเข้าไปทำงาน พร้อมโน้มน้าวให้ดาวน์โหลดมัลแวร์เหล่านี้ไป   แต่ในระยะหลังมานี้ UNC2970 หันไปใช้บัญชี LinkedIn ที่ปลอมตัวเป็นบริษัทที่มีอยู่จริงในการหลอกต้มเหยื่อ และยังเริ่มใช้ WhatsApp และอีเมลในการส่งแบ็กดอร์ หรือเครื่องมือฝังช่องทางในการส่งมัลแวร์ที่ชื่อ Plankwalk ที่จะส่งเครื่องมือและมัลแวร์ตัวอื่น ๆ เข้าไปด้วย   มัลแวร์เหล่านี้แฝงอยู่ในไฟล์มาโครที่ซ่อนอยู่ในเอกสาร Microsoft Word อีกที ซึ่งเมื่อเหยื่อเปิดเอกสารเหล่านี้ อุปกรณ์ของเหยื่อก็จะดาวน์โหลดและเปิดใช้งานมัลแวร์ทันที   Mandiant ชี้ว่าการที่ UNC2970 หันมาโจมตีนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์หรืออาจเป็นการขยายปฏิบัติการก็เป็นได้         ————————————————————————————————————————-…

โรงพยาบาลบาร์เซโลนาถูกโจมตีจนระบบล่ม ผู้ป่วยต้องย้ายไปรักษาที่อื่น

Loading

    เจ้าหน้าที่สเปนเผยว่ามีการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลในเครือมหาวิทยาลัยบาร์เซโลนาหลายแห่งหยุดชะงัก   ส่งผลให้การผ่าตัดที่ไม่เร่งด่วน 150 กรณี และการตรวจสุขภาพผู้ป่วย 3,000 รายต้องถูกยกเลิก ระบบต่าง ๆ ของโรงพยาบาลปิดตัวลง เช่น ห้องปฏิบัติการ ห้องฉุกเฉิน ร้านขายยา และคลินิก เป็นต้น   อันโตนิ คาสเตลส์ (Antoni Castells) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ระบุว่าไม่สามารถประเมินได้ว่าระบบจะกลับมาทำงานเป็นปกติเมื่อใด โรงพยาบาลต้องนำแผนดำรงความต่อเนื่องทางธุรกิจมาใช้ก่อน   โดยมีการกลับไปใช้กระดาษในการทำงาน และย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาลอื่นแล้ว   สำนักข่าว EFE ของรัฐบาลสเปนรายงานด้วยว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถใช้งานข้อมูลผู้ป่วยและระบบการสื่อสารได้   ด้านรัฐบาลภูมิภาคกาตาลุญญาเผยว่าหน่วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของภูมิภาคกำลังเร่งมือกู้ระบบให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมอยู่ โดยชี้ว่าผู้อยู่เบื้องหลังเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อ Ransom House   เซกิ มาร์เซน (Segi Marcén) รัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมของกาตาลุญญาระบุว่าแฮ็กเกอร์ยังไม่ได้เรียกเงินค่าไถ่ แต่ถึงอย่างไรทางรัฐบาลก็จะไม่จ่ายเงินแน่นอน         ที่มา  NTD      …

ข้อมูลเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังของตำรวจศาลสหรัฐฯ ถูกแฮ็ก

Loading

    สำนักงานตำรวจศาลสหรัฐอเมริกา (USMS) เผยว่าถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จนแฮ็กเกอร์สามารถเจาะเข้าไปยังข้อมูลเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังได้   USMS ชี้ว่าการโจมตีฯ ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยแฮ็กเกอร์เจาะเข้าไปยังระบบที่มีข้อมูลการสืบสวน ข้อมูลระบบตัวตนของเจ้าหน้าที่ ผู้ต้องขัง และผู้ที่เกี่ยวข้องจากภายนอก แต่ก็เป็นเพียงระบบเดียวเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ   ดรูว์ เวด (Drew Wade) โฆษก USMS เผยว่าทางหน่วยได้ตัดการเชื่อมต่อกับระบบที่ถูกโจมตีแล้ว รวมทั้งกระทรวงยุติธรรม (DoJ) ก็ได้เริ่มกระบวนการพิสูจน์หลักฐานแล้ว   สำหรับ USMS เป็นหน่วยงานขึ้นตรงกับรัฐบาลกลางที่มีหน้าที่คุ้มครองพยานและครอบครัวพยานในคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาล ภายใต้โครงการคุ้มครองพยาน (WITSEC) ซึ่งในกรณีนี้ แฮ็กเกอร์ยังไม่สามารถล้วงข้อมูลเกี่ยวกับพยานได้   ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแฮ็กเกอร์ต้องการอะไร หรือได้ข้อมูลไปแค่ไหน ซึ่ง USMS ชี้ว่าอยู่ระหว่างการใช้มาตรการชั่วคราวเพื่อให้ยังสามารถทำงานสืบสวนไปพลางก่อน   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายสหรัฐฯ แล้วถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญ (major incident) ที่จะต้องแจ้งให้รัฐสภาทราบภายใน 7 วัน หลังจากตรวจพบ   ทั้งนี้ มติเมื่อปี 2020 ของสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างชาติของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ…

ไม่รอด! สแกมเมอร์บุก ChatGPT ปั่น AI ไว้หลอกลวงผู้คน

Loading

  เมื่อ ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือของเหล่านักเขียน นักเล่าเรื่อง ที่เป็นกระแสเรียกความสนใจจากคนทั่วโลก โดย AI ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการแบ่งเบาภาระให้กับการทำงานแบบเดิม แม้จะมีปัญหาตรงที่ยังสู้คนเขียนจริง ๆ ไม่ได้ แต่เรื่องของการพัฒนาระบบถือว่าใช้ได้   ดังนั้น ChatGPT จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือให้เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้ในการสร้างเรื่องหลอกลวงผู้คนทั้งข้อมูลส่วนตัวและหลอกเงิน ผ่านข้อความที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยและยังไม่มีวิธีป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วย   อย่างไรก็ตาม ChatGPT ยังมีประโยชน์ในแง่ของการใช้งานเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก แต่ด้วยความเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีการป้องกันที่รัดกุม ทำให้แฮ็กเกอร์เอง ก็กำลังเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ในการนำไปใช้ในการหลอกลวงผู้คนเช่นกัน     มัลแวร์ (Malware)   เหล่าแฮ็กเกอร์ใช้รูปแบบของการติดไวรัสในอุปกรณ์บางอย่าง จากนั้นระบบปฏิบัติการณ์จะสั่งให้อัปเดตอุปกรณ์เพื่อป้องกันมัลแวร์   จากนั้นก็จะใช้การแจ้งเตือนให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกถึงแรงอันตรายจนนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต้องออกมาเตือนถึงปัญหาภัยคุกคาม   ซึ่ง ChatGPT มีความสามารถในการเขียนโค้ดที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะ AI ที่มีความสามารถในการเขียนมัลแวร์แบบโพลีมอร์ฟิค ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่สามารถตรวจจับหรือป้องกันได้   นอกจากนี้ เหล่าแฮคเกอร์ยังใช้ ChatGPT เขียนโค้ดอันตรายมาก ๆ ให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าพวกเขากำลังโดนหลอกจากการหลอกโจมตีด้วยมัลแวร์แบบ 24 ชั่วโมง  …

แฮ็กเกอร์ใช้ ‘SwiftSlicer Wiper’ ทำลายโดเมนวินโดว์

Loading

    จากสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออยู่ในขณะนี้ มีการเปิดการโจมตีแบบใหม่ ๆ ที่เรียกกันว่า hybrid war คือ มีการรบทั้งในรูปแบบที่เป็นสงครามทั่วไปและการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสามารถปฏิบัติการได้ตลอด 24 ชั่วโมง   ซึ่งเมื่อดูทีท่าแล้วน่าจะมีการเปิดการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว โดยสาเหตุหลักน่าจะมาจากการมีความพยายามที่รัสเซียจะตัดขาดชาวยูเครนจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นการเปิดการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ   โดยเริ่มจากการตัดสัญญานโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารเคลื่อนที่ในยูเครน อีกทั้งยังมีการโจมตีทางไซเบอร์กับสื่อของยูเครนอยู่เรื่อย ๆ   มีการเปิดเผยจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยของยูเครนโดยระบุว่า มัลแวร์ล้างข้อมูลตัวใหม่มีชื่อว่า “SwiftSlicer Wiper” ได้รับการพัฒนามาเพื่อลบสำเนางานและเขียนทับไฟล์สำคัญที่ระบบปฏิบัติการ Windows   โดยเฉพาะไดรเวอร์และฐานข้อมูล Active Directory ซึ่งกลุ่มแฮ็กเกอร์ Sandworm เป็นผู้พัฒนา Malware SwiftSlicer ตัวนี้โดยใช้ Active Directory Group Policy ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบโดเมนเรียกใช้สคริปต์และคำสั่งได้ทั่วทั้งอุปกรณ์ทั้งหมดในเครือข่าย Windows และมีการกำหนดเป้าหมายเฉพาะของโฟลเดอร์   มัลแวร์ตัวนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อทำลายไฟล์เท่านั้น แต่ยังทำลายโดเมน windows ทั้งหมดอีกด้วย โดย SwiftSlicer จะเขียนทับด้วยข้อมูลโดยใช้บล็อก 4096…

องค์กรการแพทย์แคลิฟอร์เนีย เผยผู้ป่วย 3 ล้านคน อาจได้รับผลจากการแฮ็กข้อมูลเมื่อปลายปี 2022

Loading

    กลุ่มองค์กรทางการแพทย์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ส่งคำเตือนไปยังผู้ป่วย 3 ล้านคน ว่าแฮ็กเกอร์อาจขโมยข้อมูลด้านสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ไปในช่วงที่มีเหตุโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีที่แล้ว   องค์กรเหล่านี้ ได้แก่ Regal Medical Group, Lakeside Medical Organization, ADOC Medical Group และ Greater Covina Medical   Regal ออกมาเปิดเผยว่า ได้จ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น และได้ทำงานร่วมกับบริษัทด้านไซเบอร์เพื่อกู้คืนระบบและตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดที่ได้รับผลกระทบบ้าง   จากข้อมูลของหน่วยงานด้านไซเบอร์ พบว่าข้อมูลที่แฮ็กเกอร์ขโมยออกไปจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้มีทั้ง ชื่อผู้ป่วย เลข Social Security ที่อยู่ วันเกิด ข้อมูลการวินิจฉัยโรคและการรักษา ผลตรวจห้องปฏิบัติการ ข้อมูลการสั่งยา ข้อมูลฉายรังสี ข้อมูลประกันสุขภาพ และเบอร์โทรศัพท์   กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (DHH) ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเผยว่ามีผู้ป่วยถึง 3,300,638 รายที่ได้รับผลกระทบ…