สายการบินแห่งชาติโปรตุเกสยืนยันไม่เจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้า

Loading

  TAP Air Portugal สายการบินแห่งชาติของโปรตุเกสออกมาประกาศว่าจะไม่ยอมเจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้าไปปล่อยบนดาร์กเว็บ   ข้อมูลทื่หลุดออกมามีทั้งชื่อลูกค้า สัญชาติ เพศ วันเกิด ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร วันที่ลงทะเบียน และเลข Frequent Flyer แต่ไม่มีหลักฐานว่าข้อมูลการเงินหลุดไปแต่อย่างใด   สายการบินดังกล่าวถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า Ragna Locker เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น TAP Air Portugal อ้างว่าสามารถยุติการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และยืนยันว่าไม่มีการหลุดรั่วของข้อมูลลูกค้าแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน ทาง Ragnar Locker ก็ออกมาเผยแพร่ข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1.5 ล้านราย พร้อมบอกด้วยว่าทาง TAP Air Portugal ยังไม่ได้แก้ไขช่องโหว่ภายในระบบ ซึ่งทางสายการบินก็ออกมายืนยันว่าจะไม่เจรจาเป็นอันขาด   “เราไม่อยากเจรจา เพราะเราไม่อยากที่จะให้รางวัลกับพฤติกรรมแบบนี้” คริสติน อูร์มีเรส-วิเดเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TAP Air…

สมาชิก QUAD เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันจัดการกับภัยทางไซเบอร์

Loading

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ QUAD หรือกลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคง 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการปฏิบัติการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่มีจุดกำเนิดจากภายในดินแดนของแต่ละประเทศ   รัฐมนตรีของทั้ง 4 ประเทศพบกันในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly) ซึ่งถือเป็นวงประชุมใหญ่ที่สุดขององค์การสหประชาชาติ   ในคำแถลงของทั้ง 4 ประเทศยังได้มีการให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่สมาชิก QUAD ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ อาทิ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะที่เป็นหัวใจของความมั่นคงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก   นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก QUAD ยังได้เปิดรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ ที่จะมีเนื้อหามุ่งต่อกรกับกับภัยจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ด้วย   ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไปของ QUAD จะจัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ในช่วงต้นปี 2023   ที่มา Bloomberg       ——————————————————————————————————————————…

ภัยไซเบอร์กับการเข้าสู่ระบบงานแบบดิจิทัล

Loading

  การโจมตีไซเบอร์ในช่วงโควิด-19   ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดทั่วโลก ปี 2021 เป็นปีที่การโจมตีไซเบอร์เรียกค่าไถ่ (ransomware attack) รุนแรงที่สุด เหตุครั้งแรกมีบันทึกย้อนกลับไปปี 1989 โดยเริ่มมีอาชญากรเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 2006 และแพร่ไปทั่วโลกตั้งแต่ 2011 การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์เกิดในทุกประเทศทั้งกับบุคคลทั่วไปและองค์กร หน่วยงานสาธารณูปโภคเช่นไฟฟ้า, ประปา, โรงพยาบาล ล้วนกลายเป็นเป้าหมาย มีหลักฐานว่าโรงพยาบาลบางแห่งถึงกับไม่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพราะไม่สามารถดูประวัติการรักษาที่จำเป็น ไม่กี่ปีมานี้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นเหยื่อก็เช่น Colonial Pipeline (น้ำมัน) Mersk (เดินเรือ) JBS (อาหาร) NBA(กีฬา) เป็นต้น   การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์ คือการที่แฮคเกอร์(hacker) แอบส่งซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย(มัลแวร์ – malware) ที่เรียกว่าแรนซัมแวร์ (ransomware) เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แล้วยึดไฟล์ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสไฟล์ (encrypt) คือยึดข้อมูลเป็นตัวประกันด้วยการทำให้เจ้าของไม่สามารถอ่านหรือเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง โดยอาจขู่ว่าจะลบข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้วทั้งหมดหากไม่ทำตามคำสั่ง แล้วเรียกค่าไถ่สำหรับกุญแจถอดรหัส (decryption key) ปกติจะเรียกค่าไถ่เป็นเงินคริปโตซึ่งจ่ายไปยังกระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet)ที่ไม่ระบุตัวตนเจ้าของกระเป๋า ช่วงก่อนปี 2015 ค่าไถ่มักเรียกเป็นหลักร้อยหรือหลักพันดอลลาร์ แต่วันนี้ปี…

Symantec เผยรายละเอียด Noberus ทายาทมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เคยถล่มบริษัทพลังงานสหรัฐฯ

Loading

    ทีม Threat Hunter ของ Symantec บริษัทด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เผยรายละเอียดของกลวิธี เครื่องมือ และขั้นตอน (TTPs) ในการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Noberus ที่ออกอาละวาดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา   Threat Hunter เชื่อว่า Noberus เป็นทายาทของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ในตระกูล Darkside และ BlackMatter ซึ่ง Darkside เป็นมัลแวร์ที่ถูกใช้ในการโจมตีท่อส่งพลังงานของ Colonial Pipeline บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021   เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สำนักงานสืบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) เคยออกประกาศขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Noberus หลังจากที่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 – มีนาคม 2022 Noberus เข้าไปสร้างความปั่นป่วนมากกว่า 60 องค์กร   Symantec ระบุว่าความอันตรายของ Noberus คือการที่มันถูกสร้างขึ้นโดยใช้ภาษา Rust ซึ่งผู้สร้างอย่าง Coreid อ้างว่าทำให้มันสามารถเข้าไปล็อกไฟล์ได้บนระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย ตั้งแต่…

แอลเบเนียตัดสัมพันธ์อิหร่าน อ้างเพราะอยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนีย

Loading

  แอลเบเนียประกาศตัดสัมพันธ์อิหร่านและสั่งให้เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตเดินทางออกนอกประเทศภายใน 24 ชั่วโมง โดยให้เหตุผลว่าเป็นเพราะอิหร่านสั่งให้มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ต่อแอลเบเนีย   เอดิ รามา (Edi Rama) ประธานาธิบดีของแอลเบเนียระบุว่าทางรัฐบาลได้ตรวจพบว่าอิหร่านจ้างวานให้แฮกเกอร์ 4 กลุ่มโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนียเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา เขายอมรับว่าการตัดสัมพันธ์ทางการทูตเป็นมาตรการที่รุนแรง แต่ก็ถือว่าสมกับการกระทำของอิหร่านแล้ว   รามาเผยด้วยว่าการโจมตีดังกล่าวมุ่งทำให้ระบบการให้บริการสาธารณะเป็นอมพาต พร้อมทั้งพยายามขโมยและลบข้อมูลในโครงข่ายของรัฐบาล และยุยงให้เกิดความโกลาหลด้วย อย่างไรก็ดี เขาระบุว่าการโจมตีไม่ประสบความสำเร็จ ระบบทั้งหมดสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ   สำหรับรายละเอียดของการโจมตีนั้น Mandiant บริษัทด้านไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาเคยออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนียเป็นการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เกิดในช่วงก่อนเริ่มการประชุมที่มีความเกี่ยวข้องกับ Mujahideen-e-Khalq (MEK) กลุ่มต่อต้านรัฐบาลอิหร่านที่ลี้ภัยทางการเมืองในแอลเบเนีย ณ เมืองมาเนซ ทำให้การประชุมดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป   โดยเมื่อครั้งนั้นผู้ที่ทำการโจมตีสวมรอยเป็นชาวแอลเบเนียที่ไม่พอใจรัฐบาลที่ยอมให้ MEK มาจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวในประเทศ   ทางด้านรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ได้ออกมาประณามการโจมตีต่อแอลเบเนียด้วยเช่นกัน ในฐานะที่เป็นพันธมิตร NATO และให้คำมั่นว่าจะให้อิหร่านรับผิดชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้นให้ได้   เอเดรียนน์ วัตสัน (Adrienne Watson) โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่าผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันได้ข้อสรุปว่าอิหร่านเป็นผู้อยู่เบื่องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อแอลเบเนียจริง   ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างแอลเบเนียและอิหร่านอยู่ในระดับตึงเครียดมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว…

“No More Ransom” แหล่งรวมเครื่องมือถอดรหัส Ransomware

Loading

Credit : Europol   ผู้คนกว่า 1,500,000 ราย ได้ไฟล์คืนโดยไม่ต้องเสียค่าไถ่   No More Ransom เป็นโครงการริเริ่มการต่อต้านแรนซัมแวร์ ของหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของสหภาพยุโรป เปิดตัวครั้งแรกในปี 2016 โดย Europol สำนักงานตำรวจแห่งชาติดัตช์ (Politie) และบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอทีจำนวนหนึ่งที่มีเครื่องมือถอดรหัสสี่ตัวที่พร้อมใช้งาน   พันธกิจของ No More Ransom – “ให้การช่วยเหลือเพื่อปลดล็อกข้อมูลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับผู้โจมตี”   No More Ransom ได้เติบโตขึ้นเพื่อเสนอเครื่องมือถอดรหัสฟรี 136 รายการสำหรับแรนซัมแวร์ 165 ประเภท รวมถึง GandCrab, REvil, Maze และอื่นๆ ซึ่งทำงานร่วมกับพันธมิตรกว่า 188 รายจากภาคเอกชน ภาครัฐ การบังคับใช้กฎหมาย สถาบันการศึกษา และอื่นๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ และปัจจุบันยังคงจัดหาเครื่องมือถอดรหัสใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีพอร์ทัลให้บริการใน 37 ภาษาเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จากทั่วโลก  …