ตุยแล้ว ‘ข้อมูลดิจิทัล’ ไปไหน? ผู้คนหวั่นตัวตนดิจิทัลโดนขโมยหลังเสียชีวิต

Loading

ผลการศึกษาล่าสุด โดย “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” ระบุว่า ผู้ใช้ 61% เชื่อว่า ข้อมูลประจำตัวของผู้เสียชีวิตมีความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม

‘วุฒิสภา’ ไฟเขียวร่างก.ม.ปราบปรามผู้สนับสนุนการเงินแก่ผู้ก่อการร้าย ให้อายัดทรัพย์ มีโทษอาญา-โทษปรับ

Loading

วาระเรื่องด่วน คือ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอนุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่…) พ.ศ. … ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีจำนวน 17 มาตรา

ศธ.เตือนภัยนักเรียน ระวังผู้แอบอ้างเป็นครูแนะแนว ขโมยข้อมูล-ทำธุรกรรมทางการเงิน

Loading

ศธ.เตือนภัยนักเรียน หลังพบการหลอกลวงทางออนไลน์ แอบอ้างเป็นครูแนะแนวเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวและทำธุรกรรมทางการเงิน

“ดีอีเอส กสทช ผู้ให้บริการโทรคม” คลอดมาตรการเข้ม!! กวาดล้าง sms หลอกลวง

Loading

  สำนักงาน กสทช. ยกระดับมาตรการจัดการปัญหา SMS หลอกลวง เข้มลงโทษทางปกครองกับผู้ให้บริการเนื้อหาที่ปล่อยให้มี SMS หลวกลวง ส่งเรื่องให้ บช.สอท. ดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วน ดีอีเอส เอาผิดกับมิจฉาชีพตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จี้ผู้ให้บริการเนื้อหาต้องมีระบบยืนยันตัวตนชัดเจน   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงาน กสทช. ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ประกอบการโทรคมนาคม ได้ประชุมหารือเพื่อติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพ ส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า จากการประชุมติดตามและกำกับดูแลกรณีมิจฉาชีพส่งข้อความสั้น (SMS) หลอกลวงประชาชน การชักชวนเล่นพนันออนไลน์ และลามกอนาจาร ที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะยกระดับมาตรการในการดำเนินการจัดการปัญหา SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง   โดยสำนักงาน กสทช. ได้กำหนดมาตรการเกี่ยวกับเนื้อหาของข้อความ และการกำหนดชื่อ Sender name ซึ่งจะเริ่มจากต้นทางของการส่ง SMS จากผู้ให้บริการเนื้อหา…

เด็กโป๊ก็ห้ามโพสต์! มาตรการใหม่ Facebook เตือน 8 อย่างนี้ ห้ามโพสต์เด็ดขาด

Loading

  ล่าสุด (25 เม.ย.61) Facebook ได้เพิ่มมาตรการใหม่ ในการคัดกรองความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะแสดงบนแพลตฟอร์ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา ลองไปดูกันเลย รู้แล้วจะได้ระวังในการใช้เฟซบุ๊กกันมากขึ้น ออกมาตรการใหม่ – 8 อย่าง ที่ห้ามโพสต์   ภาพโป๊เด็ก ห้ามโพสต์ภาพและคลิปโป๊เปลือยของเด็ก ถึงแม้ว่าคนที่โพสต์นั้นจะเป็นญาติพี่น้อง หรือพ่อแม่ของเด็กคนนั้นก็ตาม   ภาพหัวนมผู้หญิง ห้ามโพสต์ภาพหรือคลิปที่เห็นหัวนมของผู้หญิง ยกเว้นในบางกรณีอย่างการผ่าตัด และการให้นมบุตร   ภาพก้นเปลือย ห้ามโพสต์ภาพและคลิปเปลือยของก้น ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นหน้าของเจ้าของก้นนั้นก็ตาม นอกเสียจากว่าเป็นภาพตัดต่อ   ห้ามสารภาพว่าเป็นคนก่ออาชญากรรม คุณมาร์ค เขาบอกว่าเฟซบุ๊ก ไม่ใช่สถานที่สารภาพบาป ห้ามมาโพสต์สารภาพความผิด ว่าตัวเองไปก่ออาชญากรรมใด ๆ มา   ระบุตัวตนของผู้อื่น ห้ามโพสต์สิ่งที่เป็นการระบุตัวตนของผู้อื่น ถึงแม้ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาชน หรือที่อยู่   ปลุกระดมความรุนแรง ห้ามโพสต์เนื้อหาที่ปลุกระดมความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องทางการเมือง เรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะผลของการเลือกตั้ง   ใส่ร้ายเหยื่อความรุนแรง ห้ามโพสต์ว่าเหยื่อที่ถูกทำร้ายไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามนั้นเป็นคนโกหก หรือใส่ร้ายผู้ที่ถูกทำร้าย…

สหรัฐฯ อาจขอประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นวีซ่า

Loading

  รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ ระบุว่าต้องการเริ่มเก็บข้อมูลประวัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเกือบทุกคนที่จะขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ข้อเสนอที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ อาจทำให้ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่า ต้องให้รายละเอียดเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยต้องระบุบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ทุกอย่างที่เคยใช้ย้อนหลังในระยะเวลาห้าปี ซึ่งข้อเสนอนี้ อาจทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบราว 14.7 ล้านคนต่อปี ข้อมูลที่ได้ จะถูกนำไปใช้ระบุตัวบุคคลและตรวจสอบผู้ที่ยื่นขอวีซ่าทั้งระยะยาวและระยะสั้น นอกจากนี้ ผู้ยื่นคำร้องจะถูกถามประวัติหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และการเดินทางย้อนหลังห้าปี รวมถึงต้องตอบคำถามว่าเคยถูกเนรเทศออกจากประเทศใดหรือไม่ และมีญาติเคยเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรือไม่ ข้อเสนอนี้จะเป็นภาระเพิ่มเติมกับผู้เดินทางจากประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ     อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบกับผู้ที่เป็นพลเมืองจากประเทศซึ่งมีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าเข้าสหรัฐฯ อยู่แล้ว เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่พลเมืองของประเทศที่ไม่มีข้อตกลงยกเว้นวีซ่าอย่าง อินเดีย จีน เม็กซิโก (และไทย) อาจต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการเดินทางเข้าสหรัฐฯ ทั้งเพื่อท่องเที่ยวและทำงาน   จุดยืนในการขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ ภายใต้กฎที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าเจ้าหน้าที่จะขอข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ยื่นคำร้อง เฉพาะแต่ในกรณีที่เห็นว่า “ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต่อการยืนยันตัวบุคคล หรือเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ“ ทั้งนี้ ข้อเสนอที่เข้มงวดขึ้นออกมาหลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ สัญญาจะใช้ “มาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก” กับชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางเข้าสหรัฐฯ โดยอ้างเหตุผลเรื่องต่อต้านการก่อการร้าย หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานถ้อยคำในแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ…