สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือ True Money นำเสนอเทคโนโลยี ยกระดับความปลอดภัยทางการเงินคนไทย

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมหารือกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ถึงความคืบหน้าโครงการ ‘ไซเบอร์วัคซีน’ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี   ซึ่งนอกจากจะมีการร่วมผลิตและเผยแพร่ข้อมูลความรู้กลโกงในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารของเครือซีพีซึ่งมีธุรกิจค้าปลีกค้าส่งและธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อเตือนภัยทุจริตทางการเงินบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นวัคซีนที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันให้พี่น้องประชาชนได้รู้เท่าทันและรับมือมิจฉาชีพได้โดยไม่ตกเป็นเหยื่อแล้วนั้น ล่าสุด บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ประกาศพร้อมให้การสนับสนุนด้านระบบและเทคโนโลยี เพื่อช่วยป้องกันประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อถูกทุจริตทางการเงินโดยมิจฉาชีพ   โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดเผยว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14 – 20 พ.ค. 2566) สถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์   อธิปัตย์ พลอยพรายแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบทุจริต บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด เปิดเผยว่า ทรูมันนี่…

เปิดสาเหตุรัฐบาลสหรัฐฯโดน ‘มิจฉาชีพ’ ต้มในโครงการบรรเทาทุกข์โควิด-19

Loading

In this April 23, 2020, file photo, President Donald Trump’s name is seen on a stimulus check issued by the IRS to help combat the adverse economic effects of the COVID-19 outbreak, in San Antonio. President Donald Trump, Treasury Secretary Steven…   ในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 รัฐบาลอเมริกันอัดฉีดความช่วยเหลือมูลค่าหลายล้าน ๆ ดอลลาร์ สู่ประชาชน อย่างไรก็ตามเงินจำนวนมากถูกแอบอ้างนำไปใช้โดยมิจฉาชีพ   สำนักข่าวเอพีออกรายงานเชิงวิเคราะห์ที่ประเมินว่า รัฐบาลอเมริกันอาจโดนต้มโดยนักฉวยโอกาส เป็นเงินกว่า 2 เเสน 8…

เอฟบีไอเตือนชาวเน็ต ระวังแก๊งโจรใช้เอไอแปลงรูปถ่ายทั่วไปเป็นรูปโป๊

Loading

  เอฟบีไอออกโรงเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการโพสต์ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนโซเชียลมีเดีย เนื่องจากมีแก๊งมิจฉาชีพจ้องขโมยภาพถ่ายหรือวิดีโอแล้วนำไปดัดแปลงให้เป็นคอนเทนต์อนาจารเพื่อเรียกร้องเงินทอง   เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2566 สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐหรือเอฟบีไอได้ออกแถลงการณ์แจ้งเตือนเกี่ยวกับแก๊งมิจฉาชีพซึ่งมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีเอไอเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการนำภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอของตัวบุคคลไปเข้าโปรแกรม ‘ดีพเฟค’ และสร้างภาพถ่ายหรือวิดีโอที่มีเนื้อหาเข้าข่ายอนาจาร แล้วนำไปข่มขู่หรือเรียกเงินจากเจ้าของใบหน้า   กระบวนการตัดต่อและดัดแปลงภาพเพื่อก่ออาชญากรรมนี้เป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากอาชญากรมักนำภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่คนทั่วไปโพสต์ลงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมาใช้ และตัดเฉพาะส่วนที่เป็นใบหน้า จากกนั้นก็ใช้เทคโนโลยีเอไอแปลงให้เป็นภาพถ่ายอนาจาร   ทางเอฟบีไอ แจ้งว่า ได้รับรายงานจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการดัดแปลงภาพโป๊เปลือยเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งเหยื่อที่ยังเป็นผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่โดนนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม   หลังจากที่ดัดแปลงภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอให้ออกมาในเชิงอนาจารแล้ว แก๊งมิจฉาชีพก็จะนำคอนเทนต์เหล่านี้ไปเผยแพร่อย่างเปิดเผยผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์อนาจาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อก่อกวน สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจแก่เหยื่อ ซึ่งมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า Sextortion   ด้วยเหตุนี้ ทางเอฟบีไอจึงได้ออกคำเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการโพสต์ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอส่วนตัวลงในสื่อออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการดัดแปลงภาพหรือวิดีโอโป๊เปลือย   นอกจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับความอับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียง เดือดร้อนรำคาญใจแล้ว ยังอาจจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเพื่อแลกกับการยุติการเผยแพร่ภาพดัดแปลงเหล่านี้ ซึ่งสุดท้ายก็อาจกำจัดได้ไม่หมด และทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำอีกในระยะยาว   เอฟบีไอแถลงว่า ตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา หน่วยงานพบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อในกรณีที่เข้าข่าย Sextortion มากขึ้น จากการที่ภาพถ่าย หรือวิดีโอของบุคคลเหล่านี้ที่โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย ถูกนำไปดัดแปลงให้เป็นคอนเทนต์อนาจารด้วยเทคโนโลยีดีพเฟค   แก๊งมิจฉาชีพมักจะข่มขู่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ…

กรมประชาฯ เจอดี มิจฉาชีพทำเพจปลอม “ข่าวจริงประเทศไทย” ล้วงตับชาวเน็ต

Loading

  ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งความเอาผิดกับคนที่ทำเพจปลอมเลียนแบบ ทักแชตแล้วอ้างศูนย์ดำรงธรรม ให้ส่งข้อมูลไปที่ไอดีไลน์และลิงก์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ   เมื่อ 3 มิ.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ หลังจากที่มีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อเลียนแบบว่า “ข่าวจริงประเทศไทย” สร้างขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ติดตาม 379 คน   สำหรับพฤติกรรมของเพจเลียนแบบก็คือ เมื่อเข้าไปที่กล่องข้อความแล้วพิมพ์ข้อความ จะมีข้อความอัตโนมัติ ระบุว่า “สวัสดีครับ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีออนไลน์ สามารถแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม Line : … (ขอสงวนไอดีไลน์) คลิก : … (ขอสงวนลิงก์) ส่งหลักฐานประวัติการสนทนาและสลิปที่ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการสืบสวนขยายผลดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้นะครับ” ซึ่งเป็นไอดีไลน์ปลอม   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายมักจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากคลิกลิงก์หรือแอดไลน์…

ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ แค่คลิกเดียวเกลี้ยงทั้งบัญชี

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ หรือเครื่องจําลองสถานีฐาน ที่แก๊งมิจฉาชีพนำมาใช้หลอกเหยื่อ แค่พลาดคลิกลิ้งก์แค่ครั้งเดียวเงินของเราก็เกลี้ยงทั้งบัญชี   เรื่องราวที่น่าหวั่นวิตกนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากมีผู้เสียหาย ตกเป็นเหยื่อจากขบวนการส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นธนาคารกสิกรไทย หลอกดูดเงินผู้เสียหาย ซึ่งขบวนการดังกล่าว กําลังแพร่ระบาดอย่างมาก ค่าความเสียหายรวมกว่า 175 ล้านบาท   โดยคนร้ายจะนําเครื่องจําลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถแล้วขับออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากรถแล่นผ่านไปทางใด ก็จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แล้วส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน กรมสรรพากร การไฟฟ้า     ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวถูกใช้ที่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้านและส่งสัญญาณในประเทศไทย ทำให้ไทยใช้มาตรการควบคุมสัญญาณให้อยู่ในรัศมีวงจำกัด มิจฉาชีพจึงต้องนำเข้าเครื่องนี้เข้ามาในประเทศโดยตรงแทน หากใครหลงเชื่อและกดลิงก์ก็จะถูกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เครื่องโทรศัพท์นั้นติดตั้งแอปพลิเคชันประเภท Mobile Banking   ล่าสุดตำรวจสามารถจับกุมตัว นายสุขสันต์ อายุ 40…

AIS ผสานตำรวจไซเบอร์-กสทช. ให้ข้อมูลจับกุมมิจฉาชีพหลอกลวงผ่าน SMS

Loading

    กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ร่วมกับทีมวิศวกร AIS เข้าตรวจค้นจับกุมกลุ่มขบวนการส่งข้อความสั้น (SMS) ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน หลอกดูดเงินผู้เสียหาย   นายวรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า จากกรณีปัญหามิจฉาชีพละเมิดการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชน ได้สร้างความเดือดร้อน รำคาญ ไปจนถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันเกิดเพิ่มขึ้นตามลำดับ   ที่ผ่านมา นอกเหนือจากการพัฒนาดิจิทัลเซอร์วิสเพื่อช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ เช่น AIS Secure Net Google Family Link ที่สามารถดูแลการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้อยู่บนความปลอดภัยจากสแปม ฟิชชิ่ง ไวรัสแล้ว เรายังได้ร่วมทำงานกับภาครัฐผ่านบริการสายด่วน 1185 AIS Spam Report Center ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา   “มิจฉาชีพมีการพลิกแพลงรูปแบบการละเมิดเพิ่มเติมขึ้น อย่างกรณีการส่ง…