เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี ขโมยข้อมูลส่วนตัวสร้างความเสียหายกับเหยื่อ

Loading

    โฆษก บช.สอท.เตือนภัย มิจฉาชีพเลียนแบบเพจตำรวจไซเบอร์ หลอกลวงแอดไลน์ อ้างช่วยเหลือคดี แต่กลับเอาข้อมูลส่วนตัวเหยื่อไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย   วันนี้ (27 มี.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย มิจฉาชีพปลอม หรือลอกเลียนแบบเพจเฟซบุ๊กของตำรวจไซเบอร์ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกลวงประชาชน อ้างสามารถช่วยเหลือติดตามคดี แต่กลับนำข้อมูลส่วนบุคคลไปก่อเหตุสร้างความเสียหาย แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ดังนี้     ได้รับรายงานจาก กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) ว่าได้ตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊กปลอมชื่อ “สืบสวน สอบสวน การป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยี” ได้นำตราสัญลักษณ์ของของหน่วยงานมาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงประชาชน ภายในเพจดังกล่าวพบมีการคัดลอกรูปภาพ ข้อความ การเเจ้งเตือนภัยออนไลน์ต่างๆ และภารกิจของตำรวจไซเบอร์ของเพจจริงมาใช้ ทำให้ประชาชนที่พบเห็นเพจดังกล่าวเชื่อว่าเป็นเพจจริง เมื่อมีประชาชนติดต่อเข้าไปทาง Facebook Messenger มิจฉาชีพจะส่งไอดีไลน์ พร้อมลิงก์เพิ่มเพื่อนซึ่งใช้บัญชีไลน์ชื่อว่า “ศูนย์ช่วยเหลือ” โทร 1567 (แท้จริงแล้วเป็นเบอร์ของศูนย์ดำรงธรรม) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ สามารถช่วยเหลือและติดตามคดีที่ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ จากนั้นจะขอข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อ เช่น ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด…

หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ หากพบแนบลิงก์ ระวังอาจเป็นมิจฉาชีพ

Loading

ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ธนาคารสามารถแยกได้ระหว่าง SMS ธนาคาร กับ SMS มิจฉาชีพแอบอ้างธนาคารได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการให้ธนาคารยกเลิกแนบลิงก์ทาง SMS และอีเมล ป้องกันสับสนระหว่างข้อความของธนาคาร และข้อความที่ส่งโดยมิจฉาชีพ   หลายธนาคารยกเลิกส่ง sms และอีเมลแบบแนบลิงก์   ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย ธ.กสิกรไทย         0-2888-8888   กด 001 ธ.กรุงไทย         0-2111-1111   กด 108 ธ.กรุงศรีอยุธยา        1572   กด 5 ธ.กรุงเทพ          1333 หรือ…

แนะ 3 ข้อ ระวังก่อนสแกนป้องกันภัย QR Code หลอกลวง

Loading

    “ดีอีเอส” เตือน ระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์มามุกใหม่ ใช้ QR Code หลอกดูดเงินให้ สแกนเพื่อรับเป็นเพื่อน แท้จริงคือ Scams วอนประชาชนตระหนัก รู้เท่าทันกลโกง และระวังก่อนสแกน   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากกรณีมีข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยการใช้ QR Code หลอกดูดเงิน โดยส่ง QR Code มาให้ร้านอาหาร แอดไลน์ แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอเหมือนถูกไวรัส เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปธนาคาร เพื่อโอนเงินออกไปบัญชีอื่นก่อน และโทรศัพท์ก็เริ่มค้าง ระบบรวนจึงรีบปิดเครื่อง   จากกรณีที่เกิดขึ้นกระทรวงดีอีเอส มีความห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงขอแจ้งเตือนว่า ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR CODE ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด ก็ต้องระวังและมีสติในการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะคนร้ายหรือมิจฉาชีพอาจจงใจใช้ QR CODE พิมพ์…

5 สิ่งควรทำ ก่อนส่งเอกสารออนไลน์

Loading

  วันที่ 16 มี.ค.66 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | Anti-Fake News Center Thailand แนะ 5 สิ่งควรทำ ก่อนส่งเอกสารออนไลน์   ว่า ปัจจุบันมิจฉาชีพได้เปลี่ยนวิธีการหลอกลวงไปอย่างคาดไม่ถึง มีการสร้างเพจร้านค้าปลอม เพจให้บริการกู้เงิน หรือในรูปแบบบริการอื่น ๆ เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะถูกหลอกล่อด้วยคำพูดต่าง ๆ เพื่อให้ส่งเอกสารประจำตัว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต หรือเอกสารอื่น ๆ เพื่อเอาไปทำนิติกรรม หรือสัญญาที่เจ้าของบัตรไม่ได้กระทำด้วยตนเอง   ดังนั้นหากจำเป็นที่จะต้องส่งเอกสารประจำตัวให้ผู้อื่นผ่านช่องทางออนไลน์ ควรจะมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยเบื้องต้น เช่น การใส่ลายน้ำ การรับรองสำเนาถูกต้อง ระบุวัตถุประสงค์ที่แน่นอน และวันที่ในการใช้บัตร ก่อนที่จะส่งเอกสารต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้ถ้าหากเป็นบัตรประชาชนให้ถ่ายเฉพาะด้านหน้าเท่านั้น     ขอบคุณ เพจ Anti-Fake News Center Thailand  …

ประกาศแล้ว! พ.ร.ก.ภัยไซเบอร์ สกัดมิจฉาชีพ เปิดโทษบัญชีม้า ปรับหนัก-จำคุกอ่วม

Loading

  ประกาศแล้ว พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์ เปิดทางหน่วยงานรัฐ-ธนาคารแลกเปลี่ยนข้อมูล สกัดยับยั้งมิจฉาชีพ “บัญชีม้า-ซิมม้า” มีโทษจำคุกปรับอ่วม   วันที่ 16 มีนาคม 2566 พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ได้ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นมาตรการที่ออกมาปราบปรามและป้องกันภัยไซเบอร์ที่นับวันยิ่งรุนแรงมากขึ้น มิจฉาชีพเกิดการหลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน   โดยมีใจความสำคัญ เช่น มาตรา 4 ให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่เปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่เกี่ยวข้องระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผ่านระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นชอบร่วมกัน   มาตรา 6 ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเองหรือได้รับข้อมูลจากระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 ว่าบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ใดถูกใช้หรืออาจถูกใช้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรมและแจ้งสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนถัดไป   พร้อมทั้งนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือกระบวนการเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลตามมาตรา 4 เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจผู้รับโอนทุกทอดทราบและระงับการทำธุรกรรมดังกล่าวไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว ไม่เกินเจ็ดวันนับแต่วันที่พบเหตุอันควรสงสัยหรือได้รับแจ้ง แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแท้จริง และแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินดำเนินการตรวจสอบ   ในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจได้รับแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่งจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา หรือเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ระงับการทำธุรกรรม…

ระวัง! กลลวงใหม่ ‘คนร้าย’ ใช้ AI ปลอมเสียง หลอกโอนเงิน

Loading

    เตือนภัย มิจฉาชีพคิดกลโกงใหม่ ใช้ AI ปลอมเสียงเป็นคนคุ้นเคยหลอกยืมเงิน ระวังสกิลการโกงใหม่ ก่อนไหวตัวไม่ทัน     ในปัจจุบัน มีมิจฉาชีพเกิดขึ้นอยู่หลายรูปแบบ และหากพูดถึงมิจฉาชีพยอดฮิตที่หลาย ๆ คนต้องตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้งนั้น คือ “แก็งคอลเซ็นเตอร์”   ต้องบอกเลยว่า มิจฉาชีพในปัจจุบันนั้น มีการพัฒนาทั้งเรื่องของการพูดคุยและสกิลการโกง ที่ทำเอาผู้เสียหายต้องเสียทรัพย์มหาศาลไปหลายคนแล้ว     ล่าสุดมีเครื่องมือ AI ที่ถูกพัฒนาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้หลากหลาย แต่ด้วยความสามารถที่มากล้น ก็ย่อมมีความกังวลว่าจะถูกนำไปใช้งานในทางผิดได้ แน่นอนว่าล่าสุดพบนักหลอกลวงออนไลน์ นำ AI มาปลอมแปลงเสียง เพื่อหลอกเหยื่อให้โอนเงินช่วยเหลือ   โดยเกิดขึ้นกับสามีภรรยาชาวแคนาดาวัย 70 ปีคู่หนึ่ง รับโทรศัพท์ที่คิดว่าเป็นหลายชายโทรมา โดยในสายเผยว่าตนเองกำลังติดคุก และต้องการเงินประกันตัวด่วน ด้วยความร้อนรน สามีภรรยาคู่นี้จึงถอนเงินถึง 3,000 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 1 แสนบาทมารอไว้ แต่เคราะห์ดีที่ยังไม่ทันได้โอน     หลังกำลังจะถอนเงินจำนวนเดียวกันนี้ออกจากอีกธนาคารหนึ่ง ก็ได้ผู้จัดการของธนาคารเตือนก่อนว่า พวกเขากำลังถูกหลอกลวง…