ความสำคัญของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายต่อองค์กรยุคใหม่

Loading

  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต จะเป็นสิ่งที่นำพาความสะดวกสบายมาให้ แต่ในขณะเดียวกันก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ยิ่งต้องเจอกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้น การมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรได้ บทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่า อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคดิจิทัลอย่างไร   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย คืออะไร?   อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Network Security Device) คือ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์และวิธีการทำงานที่แตกต่างกันไป   ประเภทของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยเครือข่ายที่ควรรู้จัก   – ไฟร์วอลล์ (Firewall) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเข้า-ออกของข้อมูลระหว่างเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลภายในถูกโจรกรรมหรือเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   – ระบบตรวจจับและป้องกันภัยคุกคาม (Intrusion Detection and Prevention System: IDPS) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น ไวรัส มัลแวร์ การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS) เป็นต้น   – ระบบป้องกันไวรัส…

นักคณิตศาสตร์ฯ จับมือ กูรูวงการ Security แนะเคล็ดลับทำยังไงไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล

Loading

วันที่ 8 พ.ย.2566 – จากกรณีเกิดประเด็นร้อนภายหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้แถลงผลจับกุม นายพศิน (สงวนนามสกุล) นายหน้าประกันโดยมีพฤติกรรมลักลอบนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปขายให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ ส่งผลทำให้ลูกค้าอาจได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว

หลักการกำกับดูแลความมั่นคงแห่งชาติและความท้าทายสำคัญในยุคดิจิทัลของจีน

Loading

นายเฉิน อี้ซิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของจีน ได้เขียนบทความเกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลความมั่นคงแห่งชาติและความท้าทายสำคัญในยุคดิจิทัลของจีน เผยแพร่ในนิตยสาร China Cyberspace ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์สเปซของจีน เมื่อ 27 ก.ย.66

‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…

10 เทรนด์เทคโนโลยีองค์กรรัฐไฮเทค ปี 2566

Loading

    การ์ทเนอร์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญต่อภาครัฐ ประจำปี 2566 กระตุ้นผู้บริหารไอที (CIO) ใช้ทุกเทรนด์ปรับองค์กรรัฐให้ทันสมัย (Modernization) มีข้อมูลเชิงลึก (Insights) และเปลี่ยนผ่านให้ทันโลก (Transformation) ระบุทั้ง 10 แนวโน้มเป็นแนวทางให้ผู้นำองค์กรภาคสาธารณะเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (หรือ Post-Digital Government) และมุ่งที่เป้าหมายของภารกิจทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง   นายอาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ผู้บริหาร CIO ภาครัฐควรพิจารณาผลกระทบของแนวโน้มเทคโนโลยีที่มีต่อองค์กร และนำมาปรับใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อพิจารณารูปแบบการลงทุนพร้อมปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำและสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น   “ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังให้โอกาสสำคัญอีกหลายอย่างสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีภาครัฐต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่วๆ ไป ในขณะที่ยังต้องเดินหน้าปรับปรุงการส่งมอบบริการและรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่มีต่อภารกิจหลัก”   เบื้องต้น การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2568 ราว 75% ของผู้บริหาร CIO ในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัยนอกเหนือจากในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไอที ประกอบด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร การผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัปพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

‘การ์ทเนอร์’ เปิด 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ เขย่าลงทุนไอที ‘ภาครัฐ’

Loading

    การ์ทเนอร์ เผย 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐปี 2566 แนวทางที่ผู้นำองค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Government)   อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ เปิดมุมมองถึง ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น   แต่ยังให้โอกาสสำคัญสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป   พิทักษ์ ‘ซิเคียวริตี้’ องค์กร   สำหรับเทคโนโลยีที่ ซีไอโอ ภาครัฐควรพิจารณาและนำมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำ และสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     Adaptive Security : การ์ทเนอร์คาดว่า ปี 2568 ราว 75% ของซีไอโอในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัย โดยจะมีทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ เทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร   รวมไปถึงการผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…