‘การ์ทเนอร์’ เปิด 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ เขย่าลงทุนไอที ‘ภาครัฐ’

Loading

    การ์ทเนอร์ เผย 10 ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ที่มีความสำคัญต่อกิจการภาครัฐปี 2566 แนวทางที่ผู้นำองค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมไปสู่รัฐบาลหลังยุคดิจิทัล (Post-Digital Government)   อาร์เธอร์ มิคโคลีท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ เปิดมุมมองถึง ‘เทรนด์เทคโนโลยี’ ว่า ความวุ่นวายทั่วโลกและการหยุดชะงักทางเทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่กำลังกดดันรัฐบาลให้ต้องหาทางออกเพื่อปรับสมดุลระหว่างโอกาสและความเสี่ยงทางดิจิทัลเท่านั้น   แต่ยังให้โอกาสสำคัญสำหรับเปลี่ยนแปลงรัฐบาลดิจิทัลไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งผู้บริหารไอทีต้องแสดงให้เห็นว่าการลงทุนดิจิทัลของพวกเขานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไป   พิทักษ์ ‘ซิเคียวริตี้’ องค์กร   สำหรับเทคโนโลยีที่ ซีไอโอ ภาครัฐควรพิจารณาและนำมาปรับใช้ เพื่อปรับปรุงความสามารถทางธุรกิจ บรรลุภารกิจสำคัญของผู้นำ และสร้างองค์กรรัฐที่พร้อมสำหรับอนาคตยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     Adaptive Security : การ์ทเนอร์คาดว่า ปี 2568 ราว 75% ของซีไอโอในองค์กรภาครัฐจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัย โดยจะมีทั้งเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการปฏิบัติงานต่างๆ เทคโนโลยีที่แวดล้อมภารกิจสำคัญขององค์กร   รวมไปถึงการผสานรวมข้อมูลองค์กร ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน ระบบไซเบอร์และกายภาพ…

“ล่อ – ลวง – หลอก โรแมนซ์สแกม” ปรากฎการณ์เปลี่ยวเหงายุคดิจิทัล

Loading

  ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – เสน่ห์เล่ห์กลในเชิงจิตวิทยาทำให้มีผู้ตกหลุมพราง อาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบ “โรแมนซ์สแกม (Romance Scam)” คำหวานของคนแปลกหน้าที่ทำให้ใจหวั่นไหว หลอกให้หลงหลอกโอนเงิน ลวงให้รักสุดท้ายกลายเป็นมือที่ 3 ถือเป็น “ปรากฏการณ์การณ์เปลี่ยวเหงายุคดิจิทัล” ที่น่าสนใจยิ่ง รอบสัปดาห์ที่เป็นข่าวครึกโครมกรณี ชายวัยดึกอายุ 60 ปี ทักแชทลวงเหยื่อสาว 12 ราย เน้นสาวใหญ่ แม่ม่าย ลูกติด ล่อลวงมีเพศสัมพันธ์ เลี้ยงดูแบบสามีภรรยา แต่กลับตกเป็นเมียน้อยไม่รู้ตัว ทำให้กลุ่มผู้เสียหายรวมตัวเข้าปรึกษาทนายคนดัง หวังดำเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งดูเหมือนไม่มีกฎหมายข้อใดเอาผิดได้ เพราะเป็นเรื่องความยินยอมของทั้งสองฝ่ายแต่แรก งานนี้ยิ่งไปออกรายการโหนกระแส ยิ่งเป็นข่าวเรียกเสียงฮือฮาวิจารณ์สนั่น อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฎการณ์ความเปลี่ยวเหงาของผู้คนในยุคดิจิทัล เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอ่อนไหวง่ายขึ้น และเทคนิคทางจิตวิทยาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญของอาชญากรรมไซเบอร์ในรูปแบบโรแมนซ์สแกมให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการทั้งเงินทองสนองกิเลสตัณหา งานวิจัยโครงการข้อจำกัดของกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันและปราบปรามพิศวาสอาชญากรรม (Romance Scam) และแนวทางสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันพฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหาคู่ หรือแสวงรัก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า “Romance Scam” หรือ…

‘เอ็นที’ ยก ‘5 เทรนด์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ โจมตีองค์กรยุคดิจิทัล

Loading

บริษัท เอ็นที โทรคมนาคม ในส่วนธุรกิจ เอ็นที ไซเฟ้น (NT Cyfence) ปล่อยบทวิเคราะห์ 5 เทรนด์ เกี่ยวกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและธุรกิจควรระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ วิกฤติโรคระบาดที่เป็นสาเหตุหลักให้ทั้งโลกตั้งปรับตัว การล็อกดาวน์ เวิร์คฟอร์มโฮม โซเชียลมีเดีย บล็อกเชน กลายเป็นปัจจัยที่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันและธุรกิจ ขณะที่หลายองค์กรแทบจะส่งคืนสำนักงานที่เคยเช่า แล้วย้ายมาทำงานออนไลน์กันเกือบจะ 100% แต่โลกที่ดูเหมือนจะสะดวกสบายและเชื่อมถึงกันนี้ ทุกฝีก้าวก็กลับแฝงไว้ด้วยภัยร้ายจากเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ บริษัท เอ็นที โทรคมนาคม ในส่วนธุรกิจ เอ็นที ไซเฟ้น (NT Cyfence) วิเคราะห์ 5 เทรนด์ เกี่ยวกับไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ที่ทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและธุรกิจควรระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ 1.เอไอ คือเป็นตัวแปรสำคัญของไซเบอร์ซิเคียวริตี้ อดีตที่ผ่านมา “เอไอ” หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เคยถูกนำมาใช้ตรวจจับการฉ้อโกง และพฤติกรรมอันน่าสงสัยในธุรกิจการเงินและการธนาคาร และมันก็ให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากทีเดียว ดังนั้นปีนี้ หลายฝ่ายจึงเชื่อว่า เอไอ จะกลายเป็นเทรนด์และอาวุธสำคัญที่ใช้ตอบโต้และหยุดยั้งเหตุอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้ ผลศึกษาส่วนหนึ่งจาก Capgemini บริษัทผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจากฝรั่งเศส ระบุว่ากว่า 2…