เยอรมนีออกแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคง ชี้จีน “พยายามเปลี่ยนระเบียบโลก”

Loading

    รัฐบาลเบอร์ลินเผย “แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคง” ระบุชัดเจนเกี่ยวกับจีนว่า “พยายามสร้างระเบียบโลกใหม่”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่า รัฐบาลเยอรมนีของนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ เผยแพร่เอกสารยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงฉบับแรก มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับจีน ว่า “กำลังพยายามโดยใช้วิธีการหลากหลาย” เพื่อ “เปลี่ยนแปลงระเบียบโลกปัจจุบัน” ส่งผลให้เสถียรภาพและความปลอดภัย ทั้งระดับภูมิภาคและนานาชาติ “เผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น” ในการรักษาคุณค่าและผลประโยชน์ด้านประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน   Germany takes aim at China in first national security blueprint https://t.co/voxg4guMzb pic.twitter.com/8YGDaJd9KJ — CNA (@ChannelNewsAsia) June 14, 2023   อย่างไรก็ตาม เยอรมนียืนยันว่า จีนยังคงถือเป็น “หุ้นส่วนสำคัญ” หากปราศจากบทบาทและอิทธิพลของรัฐบาลปักกิ่ง วิกฤติการณ์และความขัดแย้งมากมายบนโลกอาจไม่สามารถคลี่คลายได้ นอกจากนี้ การรักษาและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีน ซึ่งกำลังมีการบูรณาการเข้าสู่การค้าโลก…

ความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์ของไทย” ต้องมีความเป็นอิสระ…ไม่พึ่งใคร

Loading

    เมื่อเร็วๆ นี้มีคนร้ายเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป (Hacker) โดยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวประกอบไปด้วย เลขบัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, วัน เดือน ปีเกิด, ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ และพบมีการโพสต์จำหน่ายข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลคนไทย 55 ล้านรายการ ต่อมาทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนจนทราบว่าแฮ็กเกอร์ผู้ก่อเหตุที่ใช้ชื่อ 9near นั้นเป็นจ่าทหาร จ.ส.ท.เขมรัฐ บุญช่วย ทหารสังกัดกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ล่าสุดผู้ต้องหารายนี้ได้มอบตัวต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ก่อเหตุยังไม่ได้นำข้อมูลไปขายหรือนำไปใช้ เพียงเป็นการนำมาโพสต์เพื่อสร้างกระแสในโซเชียลมีเดีย และเป็นการกระทำส่วนบุคคลเท่านั้นตามที่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ยืนยัน แต่เรื่องนี้ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญอีกบทหนึ่งสำหรับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cyber security) ของไทย     ข้อที่น่าสนใจคือ…ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเลือกตั้ง เรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์นั้นนำไปสร้างเป็นประเด็นทางการเมืองได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้อันเนื่องมาจากประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก แต่ยังมีความรู้ความเข้าใจต่อ cyber security ไม่มากพอ   ยิ่งไปกว่านั้น…ประเทศของเรายังไม่มียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่อิสระไม่ขึ้นต่อใคร ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของรัฐ และอดคิดไม่ได้ว่าการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองในประเทศหรือกลุ่มอิทธิพลนอกประเทศหรือไม่ ….ในที่สุด การก่ออาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นการกระทำส่วนบุคคลก็อาจกลายเป็นเรื่องของการก่อการร้ายทางไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางได้   การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ต้องมีความเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นต่อใคร…