สรุปไทม์ไลน์จากต้นจนจบ ความขัดแย้งเครมลิน-แวกเนอร์ สู่การก่อกบฏและถอนกำลังของพริโกซิน

Loading

  เยฟกินี พริโกซิน ผู้นำกลุ่มทหารรับจ้างแวกเนอร์ ที่ปรากฏเป็นข่าวและครองพื้นที่สื่อทั่วโลกในช่วง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา เคยเป็นผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์ของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย มาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะถูกตั้งข้อหากบฏ หลังจากเขาประกาศสั่งทหารรับจ้างที่กำลังปักหลักต่อสู้กับยูเครนให้เคลื่อนพลสู่มอสโก   ก่อนหน้านี้ พริโกซินหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ปูตินโดยตรงมาโดยตลอด แม้เขาใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือโจมตีกองทัพของรัสเซีย โดยกล่าวหาว่าผู้นำกองทัพเป็นกบฏ และกล่าวโทษกองทัพรัสเซียที่ไม่สามารถจัดหาอาวุธกระสุนและเสบียงให้กลุ่มนักรบแวกเนอร์ได้อย่างเพียงพอ   แต่ในช่วงสองวันที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่เขาออกมาโจมตีเหตุผลของปูตินในการรุกรานยูเครน จากนั้นความตึงเครียดเพิ่มขึ้น หลังพริโกซินส่งกองกำลังแวกเนอร์เข้ายึดเมืองรอสตอฟออนดอน ทางตอนใต้ของรัสเซีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางทหาร พร้อมสั่งให้กลุ่มนักรบของเขาเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กรุงมอสโก ส่งผลให้ปูตินตอบโต้โดยสั่งระดมทหารรัสเซียเพื่อปราบปรามการเคลื่อนไหวของพริโกซินที่ถูกตราหน้าว่าเป็นการก่อกบฏติดอาวุธ   และนี่คือจุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับพริโกซิน ซึ่งขมวดปมนำไปสู่เหตุการณ์ตึงเครียดในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ก่อนคลี่คลายได้หวุดหวิด   ธันวาคม 2016   สหรัฐอเมริกาประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อบุคคลและนิติบุคคลของรัสเซีย 15 ราย หนึ่งในนั้นรวมถึง เยฟกินี พริโกซิน จากการที่เขาทำธุรกิจในไครเมีย ซึ่งเป็นดินแดนของยูเครนที่รัสเซียผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอย่างผิดกฎหมายในปี 2014 และมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน กระทรวงการคลังสหรัฐฯ มุ่งเป้าแซงก์ชันไปที่นักธุรกิจซึ่งเป็นบุคคลใกล้ชิดกับปูติน หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ช่วยเหลือรัสเซียทำลายเสถียรภาพของยูเครน   กุมภาพันธ์ 2018…

โยนบาปกันไปมา! สื่อสหรัฐฯ เผยทีมสืบสวนเยอรมนีพบโปแลนด์เกี่ยวข้องเหตุบึ้มท่อนอร์ดสตรีม

Loading

    คณะสืบสวนเยอรมนีที่กำลังดำเนินการตรวจสอบหลักฐาน บ่งชี้ว่าทีมลอบก่อวินาศกรรมชุดหนึ่งใช้โปแลนด์เป็นฐานปฏิบัติการ ในการวางระเบิดสร้างความเสียหายแก่ท่อลำเลียงนอร์ดสตรีมในทะเลบอลติก เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน ตามรายงานของวอลล์สตรีท เจอร์นัล สื่อมวลชนสหรัฐฯ เมื่อวันเสาร์ (10 มิ.ย.)   ทีมสืบสวนได้ทำการปะติดปะต่อเส้นทางการเดินเรือเป็นเวลา 2 สัปดาห์ของเรือยอชต์ “อันโดรเมดา” ความยาว 50 ฟุต ซึ่งต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเหตุลอบก่อวินาศกรรมท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 และ 2 ตามรายงานของวอลล์สตรีท เจอร์นัล   วอลล์สตรีท เจอร์นัล อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดการสืบสวน บ่งชี้ว่า ลูกเรือที่ลอบก่อวินาศกรรมได้วางระเบิดท่อลำเลียงนอร์ดสตรีมใต้ทะเลลึก ก่อนล่องเรือต่อในเส้นทางที่มุ่งหน้าสู่โปแลนด์ พร้อมระบุเยอรมนีกำลังพยายามเปรียบเทียบตัวอย่างดีเอ็นเอที่พบบนเรือกับ “ทหารยูเครนอย่างน้อยๆ 1 นาย”   รอยเตอร์สอบถามในเรื่องนี้ไปยังสำนักงานตำรวจสืบสวนกลางของเยอรมนี และโฆษกรัฐบาลโปแลนด์ แต่ยังไม่ได้รับคำตอบกลับมา อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของโปแลนด์รายหนึ่งอ้างชี้ว่ารายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับนี้เป็นผลลัพธ์ของโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย   “รัสเซียใช้ข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนงำชาวโปแลนด์และชาวยูเครน ในการทำลายท่อลำเลียงนอร์ดสตรีม 1 และ 2 ซึ่งนำเสนอซ้ำๆ ในสื่อมวลชน เป็นเครื่องมือครอบงำอย่างไม่ลดละ ในการสร้างความคิดฝังใจหรือข้อสันนิษฐานในหมู่ผู้รับข่าวสารว่าวอร์ซอและเคียฟอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์นี้” สตานิสลอว์ ซารีน…

ยูเครนผวา! เสี่ยงภัยคุกคาม จากทุ่นระเบิด ไหลตามกระแสน้ำ หลังเขื่อนแตก

Loading

พื้นที่ชุมชนในแคว้นเคอร์ซอน ทางตอนใต้ของยูเครน จมอยู่ใต้น้ำ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน หลังเกิดเหตุเขื่อนแตก ในวันก่อนหน้า (รอยเตอร์)   ยูเครนผวา! เสี่ยงภัยคุกคาม จากทุ่นระเบิด ไหลตามกระแสน้ำ หลังเขื่อนแตก   สำนักข่าวเอเอฟพีและบีบีซีรายงานว่า คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ(ไอซีอาร์ซี) ออกมาร้องเตือนเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนว่า ความเสียหายของเขื่อนคอคอฟกา หนึ่งในเขื่อนใหญ่ที่สุดในประเทศยูเครนนั้น จะก่อผลหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อการค้นหาเก็บกู้ทุ่นระเบิดในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุเขื่อนแตกดังกล่าวในยูเครน   อีริก ทอลเลฟเซน หัวหน้าหน่วยการปนเปื้อนทางอาวุธของไอซีอาร์ซี กล่าวแสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบจากเหตุเขื่อนคาคอฟกาแตก ที่มีต่อปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดในยูเครน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สงคราม โดยกล่าวว่า เรารู้ว่าสิ่งอันตรายอยู่ที่ไหน แต่ตอนนี้เราไม่รู้แล้ว นี่เป็นข้อห่วงกังวลหลัก เพราะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่ แต่ยังรวมถึงทุกคนที่เข้ามาช่วยเหลือด้วย โดยทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและทุ่นระเบิดต่อต้านรถถัง เช่น ทีเอ็ม-57 อาจหลุดลอยไปกับกระแสน้ำไปในที่ที่เราไม่รู้   ด้านนาตาลิยา ฮูเมเนียค โฆษกกองบัญชาการภูมิภาคใต้ของยูเครน กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ยูเครนว่า ทุ่นระเบิดต่อต้านทหารราบ ในพื้นที่ยึดครองของรัสเซีย ได้หลุดลอยไป ซึ่งกลายเป็นทุ่นระเบิดลอยน้ำแล้ว   เอเอฟพี   ก่อนหน้านี้ในวันที่ 6…

(ชมคลิป) เขื่อนใหญ่ในเคียร์ซอนแตกน้ำทะลักท่วมเมือง ยูเครน-รัสเซียต่างกล่าวหากันเป็นตัวการระเบิดทำลาย

Loading

    เขื่อนโนวาคาคอฟกา ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ในแคว้นเคียร์ซอนทางภาคใต้ยูเครนที่รัสเซียยึดครองอยู่ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ส่งไปยังคาบสมุทรไครเมียและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหญ่ที่สุดในยุโรป ถูกระเบิดเสียหายยับเยินในวันอังคาร (6 มิ.ย.) ทำให้มวลน้ำมหาศาลทะลักเข้าท่วมเมืองที่อยู่ใกล้เคียง ตลอดจนพื้นที่ซึ่งอยู่ตอนล่างลงมา ประชาชนจำนวนมากต้องเร่งอพยพหลบภัย ทางด้านประมุขยูเครนกล่าวหารัสเซียเป็นผู้ระเบิดเขื่อนจากด้านใน ขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมหมีขาวตอบโต้ว่าเคียฟคือตัวการก่อเหตุ โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเคลื่อนย้ายกำลังทหารเพื่อปฏิบัติการเล่นงานกองกำลังรัสเซีย       เขื่อนโนวาคาคอฟกา มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย โดยเป็นแหล่งน้ำหลักซึ่งจัดส่งน้ำให้แก่คาบสมุทรไครเมีย ตลอดจนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ซาโปริซเซีย ที่เวลานี้ต่างอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เหนือเขื่อนนี้ก็เป็นหนึ่งในลักษณะหลักทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ภาคใต้ของยูเครน โดยมีความยาว 240 กิโลเมตร และกว้าง 23 กิโลเมตร   การระเบิดเขื่อนแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำดนิโปร ที่ปัจจุบันกลายเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ยึดครองของกองกำลังมอสโกกับของฝ่ายเคียฟ ในบริเวณภาคใต้ของยูเครน ทำให้เกิดภัยพิบัติด้านมนุษยธรรมครั้งใหม่ในจุดศูนย์กลางของเขตสงคราม และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่แนวรบ ขณะที่ยูเครนกำลังเตรียมพร้อมเปิดปฏิบัติการตอบโต้ครั้งใหญ่ที่รอคอยมานานเพื่อชิงดินแดนที่ถูกยึดไปคืนจากรัสเซีย   เขื่อนโนวาคาคอฟกาอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียตั้งแต่ช่วงต้นของสงคราม แม้กองทัพยูเครนชิงดินแดนด้านเหนือของแม่น้ำดนิโปรได้ตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม และต่างฝ่ายกล่าวหากันมาตลอดว่า อีกฝ่ายวางแผนทำลายเขื่อน   ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ที่เรียกประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติของยูเครน เพื่อหารือเกี่ยวกับ “อาชญากรรมสงคราม” ของรัสเซียครั้งนี้ โพสต์บนแอปเทเลแกรมเมื่อวันอังคารว่า การทำลายเขื่อนโรงไฟฟ้าพลังน้ำคาคอฟกาของผู้ก่อการร้ายรัสเซีย ตอกย้ำว่า รัสเซียจำเป็นต้องถูกขับไล่พ้นจากดินแดนยูเครน   ผู้นำเคียฟอ้างว่า รัสเซียระเบิดโครงสร้างภายในเขื่อน…

ยูเครนรับเอี่ยวเหตุระเบิด “สะพานไครเมีย” ในปี 2022

Loading

  สำนักข่าวซินหัว รายงานเมื่อ 28 พ.ค. ว่า วันเสาร์ (27 พ.ค.) หน่วยงานความมั่นคงยูเครน (SSU) ยอมรับว่ามีการดำเนิน “มาตรการบางอย่าง” ที่เชื่อมโยงกับเหตุระเบิดบนสะพานไครเมียเมื่อเดือนตุลาคม 2022   วาซิล มาลุค หัวหน้าหน่วยงานฯ ระบุว่ายูเครนดำเนินมาตรการบางอย่างตามกฎหมายของประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีการทำสงคราม โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าสะพานไครเมียเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่ต้องตัดขาดจากฝ่ายศัตรู ทว่าขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะเปิดเผยรายละเอียดของ “ปฏิบัติการพิเศษ” ต่อสาธารณชน   อนึ่ง เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2022 เกิดเหตุระเบิดรุนแรงที่สะพานไครเมีย ความยาว 19 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยทางคู่ขนานสำหรับยานยนต์และรถไฟเหนือช่องแคบเคิร์ช โดยรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดบนสะพานฯ ทำให้ถังน้ำมันบนรถไฟ 7 ถัง ที่มุ่งหน้าสู่คาบสมุทรไครเมียเกิดไฟลุกไหม้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และสะพานพังทลายบางส่วน     (แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนเดินผ่านอาคารที่พังเสียหายในเมืองมารีอูปอล วันที่ 18 ก.พ. 2023)…

รัสเซียโจมตีใส่สถานพยาบาลในดนีโปร เซเลนสกีชี้ สิ่งนี้สะท้อนความชั่วร้ายอย่างเด่นชัด

Loading

    เจ้าหน้าที่ทางการยูเครนเผยถึงเหตุการณ์กองทัพรัสเซียยิงขีปนาวุธโจมตีในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองดนีโปรของยูเครน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 30 ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเพียงเด็กอายุ 3-6 ปีเท่านั้น ด้านประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน ชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความชั่วร้ายของรัสเซียอย่างเด่นชัด   ผู้นำยูเครนระบุว่า “ชาวรัสเซียได้ลงมือก่อการร้ายอีกครั้ง เพื่อยืนยันสถานะของการเป็นนักสู้ที่ต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวพันกับมนุษยธรรมและความซื่อสัตย์”   ด้าน เซอร์ฮีย์ ไลสัก ผู้แทนยูเครนที่รับผิดชอบและดูแลความสงบเรียบร้อยในภูมิภาคดังกล่าว ระบุว่า เมื่อช่วงคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (25 พฤษภาคม) ตามเวลาท้องถิ่น เป็นค่ำคืนที่ยากลำบากของชาวยูเครนในเมืองดนีโปร มีเสียงระเบิดดังเกิดขึ้น ดนีโปรได้รับความเสียหายอย่างหนักในค่ำคืนนั้น   ทางการยูเครนชี้ว่า ในค่ำคืนดังกล่าวกองกำลังยูเครนยิงสกัดกั้นขีปนาวุธได้มากถึง 17 ลูก และตรวจพบว่ามีโดรนมากกว่า 31 ลำบินข้ามมาจากฟากฝั่งของรัสเซีย   ขณะที่ในเขตพื้นที่ของรัสเซียเองก็ได้รับความเสียหายบางส่วนจากการโต้กลับของกองกำลังยูเครนเช่นเดียวกัน แรงระเบิดจากโดรนของยูเครนสร้างความเสียหายให้กับอาคารที่พักอาศัยในเมืองครัสโนดาร์ของรัสเซียไม่น้อย แต่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญหลายแห่งไม่ได้รับความเสียหาย อีกทั้งไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด   การสู้รบระหว่างกองทัพรัสเซียและกองกำลังยูเครนในหลายพื้นที่แถบภูมิภาคดอนบาส หรือทางตะวันออกของยูเครน โดยเฉพาะที่เมืองบัคมุต ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้สงครามรัสเซีย-ยูเครนในครั้งนี้จะสู้รบกันมานานกว่า 1 ปี…