เพราะยูเครนเกือบสิ้นชาติ หน่วยรบพิเศษ SSO จึงถือกำเนิดขึ้น

Loading

    ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ยูเครนเพิ่งจะมีหน่วยรบพิเศษในปี 2016 หรือเพียง 2 ปีหลังจากเกิดการรุกรานครั้งแรกของรัสเซียเมื่อปี 2014   1. ย้อนกลับไปในปี 2014 ในตอนต้นของวิกฤตไครเมียและสงครามในดอนบัส หลังการแทรกแซงของรัสเซียครังแรก รัฐสภาของยูเครนต้องพบกับความจริงที่น่าตกใจว่ากองกำลังของพวกเขามีทหารราบที่พร้อมรบเพียง 6,000 นาย เมื่อเทียบกับกองทหารประมาณ 20,000 นายที่ประจำการอยู่ที่ฐานทัพรัสเซียในแหลมไครเมียเพียงแห่งเดียว 2. ในช่วงเวลานั้น ยูเครนยังมีหน่วยปฏิบัติการจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจนานาชาติ เช่น Operation Atalanta (ปฏิบัติการทางทหารต่อต้านการโจรสลัดในทะเลนอกจะงอยแอฟริกาและในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก), ISAF (เป็นภารกิจทางทหารข้ามชาติในอัฟกานิสถานระหว่างปี 2001 ถึง 2014), Kosovo Force (กองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างประเทศที่นำโดยนาโตในโคโซโว) และกองกำลังกว่า 200 นายประจำภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในคองโก   3. ทั้งหมดนี้เป็นการส่งทหารระดับหัวกะทิไปช่วย “ชาติพันธมิตร” โดยเฉพาะชาติตะวันตก/นาโต ในปฏิบัติการต่างๆ เพื่อระงับความขัดแย้งในประเทศที่สาม นี่หมายความว่ากองทหารที่มีประสบการณ์และฝึกฝนมาอย่างดีที่สุดของยูเครนถูกส่งไปนอกประเทศและไม่พร้อมใช้งานและมีกำลังคนไม่เพียงพอที่จะมีหน่วยรบพิเศษเพื่อป้องกันอธิปไตยของชาติตนเองในช่วงเวลาคับขัน   4. รัฐบาลยูเครนจึงต้องเริ่มกระบวนการระดมพลและการสร้างกองกำลังสำรองในทันที เช่น National Guard of…

รัสเซีย ยูเครน : การโจมตีทางไซเบอร์ 3 รูปแบบของรัสเซียที่โลกตะวันตกหวั่นเกรงมากที่สุด

Loading

  ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เรียกร้องให้บริษัทเอกชนและองค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐฯ “ล็อกประตูดิจิทัล” ให้แน่นหนา โดยอ้างข้อมูลข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียกำลังวางแผนโจมตีทางไซเบอร์ต่อสหรัฐฯ   หน่วยงานรัฐทางด้านไซเบอร์ของสหราชอาณาจักรก็สนับสนุนข้อเรียกร้องของทำเนียบขาวที่ให้ “เพิ่มความระมัดระวังด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์” แม้ว่าจะไม่ได้แสดงหลักฐานยืนยันว่ารัสเซียกำลังวางแผนจะโจมตีก็ตาม   ที่ผ่านมารัสเซียมักระบุถึงข้อกล่าวหาลักษณะนี้ว่าเกิดขึ้นจาก “ความเกลียดกลัวรัสเซีย”   อย่างไรก็ตาม รัสเซียถือเป็นมหาอำนาจทางไซเบอร์ที่มีทั้งเครื่องมือและแฮกเกอร์ที่มีความสามารถในการโจมตีทางไซเบอร์ที่จะสร้างความวุ่นวาย และอาจก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงได้   แม้ยูเครนจะยังไม่ประสบปัญหาร้ายแรงจากการโจมตีทางไซเบอร์ของรัสเซีย แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างหวั่นวิตกว่ารัสเซียอาจมุ่งเป้าไปเล่นงานชาติพันธมิตรของยูเครนแทน   เจน เอลลิส จากบริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ Rapid7 กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “คำเตือนของประธานาธิบดีไบเดน ดูเหมือนจะมีเหตุผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชาติตะวันตกเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย การที่แฮกเกอร์ยังคงเข้าร่วมการต่อสู้ และการที่การทำสงครามในยูเครนดูเหมือนจะไม่คืบหน้าตามแผน”   บีบีซีรวบรวมการโจมตีทางไซเบอร์ 3 รูปแบบของรัสเซีย ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญตะวันตกหวั่นเกรงมากที่สุด     BlackEnergy – มุ่งเป้าโจมตีระบบสาธารณูปโภคสำคัญ ยูเครนมักถูกเปรียบเป็น “สนามเด็กเล่น” ของแฮกเกอร์รัสเซีย ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีเพื่อทดสอบเทคนิคหรือเครื่องมือต่าง ๆ   เมื่อปี 2015 ระบบเครือข่ายการจ่ายไฟฟ้าของยูเครนประสบภาวะชะงักงันหลังมีการโจมตีทางไซเบอร์โดยใช้มัลแวร์ที่เรียกว่า BlackEnergy ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าราว…

ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Loading

ปืนใหญ่อัตตาจร (เอพี)  ส่องอาวุธที่ใช้ในสงครามรัสเซีย-ยูเครน   การรุกรานยูเครนของรัสเซียเป็นความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดในทวีปยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัสเซียทำการโจมตีหลายเมืองทั่วประเทศยูเครน ซึ่งมีทั้งการยิงขีปนาวุธ การโจมตีทางอากาศ การทิ้งระเบิดและการยิงปืนใหญ่ ส่งผลให้มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และนี่คืออาวุธบางส่วนที่ใช้ในสงครามนี้   เครื่องบินรบและขีปนาวุธต่างๆ   ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์   ขีปนาวุธอิซคานเดอร์   ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง   เครื่องยิงขีปนาวุธอิซคานเดอร์     กองทัพรัสเซียมีการใช้ขีปนาวุธหลายชนิด หนึ่งในขีปนาวุธที่รัสเซียใช้คือ “ขีปนาวุธร่อนคาลิเบอร์” อาวุธที่มีความแม่นยำ ซึ่งกองทัพรัสเซียใช้โจมตีสถานที่ราชการ และฐานทัพทหารหลายแห่งในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน และเมืองคาร์คีฟ เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ หลายครั้งอาคารเหล่านี้อยู่ใกล้กับย่านที่อยู่อาศัย จึงทำให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ขีปนาวุธดังกล่าวถูกติดตั้งบนเครื่องบินรบของรัสเซียด้วย เพื่อใช้โจมตีโครงสร้างพื้นฐานทางทหาร   อีกหนึ่งขีปนาวุธที่รัสเซียใช้เพื่อให้โจมตีเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ คือ “ขีปนาวุธอิซคานเดอร์” ซึ่งมีพิสัยไกลถึง 500 กิโลเมตร และขีปนาวุธนี้มีหัวรบที่ทรงพลังกว่ามากกว่าขีปนาวุธชนิดอื่น ซึ่งสามารถทำลายอาคารขนาดใหญ่ และอาคารที่มีการป้องกันเป็นอย่างดีได้ ทั้งนี้มีรายงานว่าขีปนาวุธอิสคานเดอร์บางลูกถูกยิงจากประเทศเบลารุส พันธมิตรของรัสเซีย ที่เป็นเหมือนพื้นที่เตรียมการสำหรับการบุกยูเครนของรัสเซีย    …

เริ่มแล้ว เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ยูเครนใช้ยืนยันผู้เสียชีวิต

Loading

  เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงกลาโหมของยูเครนได้เริ่มใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าของ Clearview AI แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ที่บริษัทสตาร์ทอัพของสหรัฐฯ ได้เสนอเข้ามา มีประโยชน์ที่จะช่วยเปิดเผยหน้าผู้จู่โจมชาวรัสเซีย ต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด และระบุชื่อผู้เสียชีวิตได้โดยไม่ต้องเช็คไอดี   แผนดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นหลังจากรัสเซียบุกยูเครนและผู้บริหารระดับสูงของ Clearview Hoan Ton-That ส่งจดหมายถึง Kyiv เพื่อให้ความช่วยเหลือ   ผู้ก่อตั้ง Clearview บอกกับสื่อว่า บริษัทมีฐานข้อมูลรูปของชาวรัสเซียมากกว่า 2 พันล้านภาพ ซึ่งได้มาจากบริการโซเชียลมีเดียของรัสเซีย VKontakte จากฐานข้อมูลทั้งหมดกว่าหนึ่งหมื่นล้านภาพ โดยฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถช่วยให้ยูเครน ระบุผู้เสียชีวิตได้ง่ายกว่าการพยายามจับคู่ลายนิ้วมือและทำงานได้แม้ว่าใบหน้าจะเสียหาย   นอกจากนี้ Clearview สามารถใช้เพื่อรวมตัวผู้ลี้ภัยที่ต้องแยกจากครอบครัวของพวกเขา สามารถระบุตัวทหารชาวรัสเซียที่อาจแอบแฝงเข้ามา และช่วยรัฐบาลยูเครนต่อสู้กับข้อมูลที่ผิด     ที่มาข้อมูล     https://www.reuters.com/technology/exclusive-ukraine-has-started-using-clearview-ais-facial-recognition-during-war-2022-03-13/       ——————————————————————————————————————————————- ที่มา : Techhub / วันที่เผยแพร่ 21 มี.ค.65 Link :…

ยูเครนเตือนปชช.หาที่หลบภัย หลังพบสารแอมโมเนียรั่วไหล

Loading

    ยูเครนเตือนปชช.หาที่หลบภัย หลังพบสารแอมโมเนียรั่วไหล   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ประชาชนในเมืองโนโวเซลิตเซีย ทางตอนเหนือของยูเครน ต้องเร่งหาที่หลบภัยโดยด่วน หลังจากมีรายงานว่า มีสารแอมโมเนียรั่วไหลจากโรงงานในพื้นที่ ขณะที่การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงดำเนินต่อไป   นายดมีโตร ซีวิตสกี ผู้ว่าการแคว้นซูมี กล่าวว่า พบสารแอมโมเนียรั่วไหลที่โรงงานซูมีคิมพรอมซึ่งเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีหลายชนิด ส่งผลให้พื้นที่ 2.5 กิโลเมตรโดยรอบโรงงานได้รับผลกระทบ   อย่างไรก็ตามขอบเขตที่ได้รับผลกระทบและสาเหตุของเหตุการณ์นี้ยังไม่ชัดเจน แต่ประชาชนในพื้นที่ควรหาที่หลบภัยในชั้นใต้ดินหรือชั้นที่ต่ำลงมาเพื่อหลีกเลี่ยงสารเคมีที่รั่วไหล   นายซีวิตสกีได้กล่าวผ่านเทเลแกรมว่า “แอมโมเนียนั้นเบากว่าอากาศ ดังนั้นควรอยู่ในหลุมหลบภัย ชั้นใต้ดินและชั้นที่ต่ำลงมา” และขณะนี้เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้อยู่ในที่เกิดเหตุแล้ว และบริเวณนั้นมีลมแรงจึงส่งผลให้เมืองที่อยู่ใกล้เคียงเมืองซูมี ซึ่งก่อนเกิดสงครามมีประชากรราว 250,000 คน ไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายในทันที   ทั้งนี้เมืองซูมีอยู่ห่างจากกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนไปทางตะวันออกราว 350 กิโลเมตร ซึ่งเผชิญกับการสู้รบที่หนักหน่วงมาตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา     ——————————————————————————————————————————————- ที่มา :    มติชนออนไลน์         …

ยูเครนกับสงครามนิวเคลียร์

Loading

    มีคำถามมาว่า สงครามในยูเครนมีโอกาสจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ และไม่น่าจะพัฒนาไปสู่สงครามนิวเคลียร์เพราะประเทศคู่ขัดแย้ง คือ ยูเครนไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ ส่วนรัสเซียซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ชั้นแนวหน้าก็คงมีความยับยั้งช่างใจ สหรัฐและสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศนิวเคลียร์ก็คงไม่กล้านำมาใช้   แม้แต่รัสเซีย คู่ขัดแย้งโดยตรงกับยูเครน ซึ่งได้ประกาศเตรียมพร้อมทางนิวเคลียร์เต็มที่ ก็ประกาศเชิงป้องปรามเท่านั้น ในเชิงปรามสหรัฐว่าอย่าแม้แต่จะคิดใช้นิวเคลียร์ทีเดียวนะ ใครเริ่มต้นใช้ก็ตายกันทั้งโลก   อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธในเชิง “ป้องปราม” มากกว่า เพราะผู้นำประเทศนิวเคลียร์ต่างรู้ดีว่าหากนำมาใช้ก็ตายกันทั้งโลก คนที่มีคำสั่งให้ใช้ก็ตายด้วย ไม่เฉพาะตัวเองตายเท่านั้น ครอบครัวก็ตายด้วย ตายแล้วคงตกนรกขุมลึกที่สุดไม่ได้ผุดได้เกิด   จากสถิติของสถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์แห่งกรุงสต็อคโฮล์ม เปิดเผยว่า ในปี 2563 ห้าประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์คือ สหรัฐ รัสเซีย สหราชอาณาจักร์ ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ มีหัวรบนิวเคลียร์รวมกัน 13,400 หัวรบ ซึ่งประจำการพร้อมที่จะใช้ทันที 3,720 หัวรบ และสำรองพร้อมใช้อีกประมาณ 1,800 หัวรบ   มากพอที่จะทำให้โลกทั้งใบพินาศ สิ่งที่มีชีวิตตายหมด ถ้าไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต…