การปรับปรุงองค์การการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ด้วย Digital Transformation ตอนที่ 1

Loading

  คำว่า “Digital transformation” ตามนิยามภาษาไทยจาก Wikipedia คือ การใช้สิ่งที่ใหม่ ที่เร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ Digital Technology เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์จาก Digital Technology เข้ามาปรับวิถีการทำงาน สมรรถนะของบุคลากร และนำไปแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่   ปัจจุบันการนำ Digital Transformation มาปรับปรุงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคธุรกิจและการตลาด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐาน รูปแบบและวัฒนธรรมภายในของกลุ่มธุรกิจและการตลาด วิธีดำเนินการ การให้บริการ ตลอดจนประเภทสินค้าในธุรกิจนั้น สำหรับการนำ Digital Transformation มาปรับประสิทธิภาพในส่วนราชการขณะนี้ คาดว่า “โอกาสที่จะเป็น” เป็นไปได้ยาก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานภายในหน่วยงานรัฐต่างมีวัฒนธรรมภายใน มีการกำกับการปฏิบัติงานด้วยระเบียบราชการและระเบียบภายในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ต่างกัน อีกทั้งหน่วยงานรัฐบางแห่งยังมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ เหล่านี้นับเป็นวิถีที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  แต่หากเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการแล้ว ในขั้นต้นก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจระหว่างทุกกลุ่มผู้บริหารภายในให้ตรงกันอย่างชัดเจนโดยปราศจากอคติที่จะก่อความสับสนให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อกลุ่มผู้บริหารระดับที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานความเข้าใจในทางเดียวกัน   สำหรับข้อที่ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนวางเป้าประสงค์ที่จะนำ Digital Transformation มาปรับใช้กับองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนนั้น ประเด็นแรก คือทำความเข้าใจกับ ความเป็นมานับแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ประเด็นที่ 2 ความสอดคล้องและรองรับกันระหว่างกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน…

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ระเบียบ ว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2563

Loading

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบวุฒิสภา ว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2563 ความว่า โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 และข้อ 13 วรรคสาม ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ประธานวุฒิสภาจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2563” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “การประชุมลับ” หมายความว่า การประชุมวุฒิสภาที่ต้องกระท าเป็นการลับตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 “เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ข้อ 4 ในการประชุมลับ ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ ก็แต่เฉพาะ (1) สมาชิกวุฒิสภา (2) รัฐมนตรี (3) ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม ให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ในครั้งใด เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุมในครั้งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสำนักมีหนังสือแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองในสังกัดของตนต่อสำนักการประชุม เพื่อรวบรวมรายชื่อดังกล่าวเสนอเลขาธิการวุฒิสภาทราบและเก็บไว้เป็นหลักฐาน บุคคลภายนอกผู้ประสงค์จะแถลงหรือชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับต่อที่ประชุมวุฒิสภา หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับและจะต้องอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ…