Reuters ร่วมมือ Canon สาธิตการยืนยันภาพข่าวจริง เซ็นลายเซ็นทันทีที่บันทึกภาพ ส่งข้อมูลขึ้นบล็อคเชน

Loading

สำนักข่าว Reuters ร่วมมือกับ Canon ผู้ผลิตกล้อง ภายใต้กลุ่ม Content Authenticity Initiative (CAI) ที่ส่งเสริมความน่าเชื่อถือของภาพข่าว สาธิตระบบยืนยันภาพถ่ายว่าถ่ายโดยไม่มีการดัดแปลงจริง

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…

e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

Loading

  เมื่อโลกเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการจัดกลยุทธ์ระบบสารสนเทศแบบองค์รวมที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสมและรองรับการให้บริการต่อประชาชนและหน่วยงานภายนอกได้ในอนาคต   สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานมีการทำงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง” และมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน e-Signature เป็นวงกว้างในหน่วยงานของภาครัฐ     บทบาทของ e-Signature ในหน่วยงานภาครัฐ   หน่วยงานรัฐเป็นองค์กรที่ใช้งานเอกสารกระดาษเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ มีลำดับขั้นของกระบวนการทำงาน การอนุมัติงานที่ซับซ้อน ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจัดการเอกสาร และต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดเก็บงานเอกสารโดยเฉพาะ แต่เมื่อจะเรียกใช้งานข้อมูลที่จัดเก็บไว้กลับต้องใช้เวลาในการค้นหา หากเราสามารถย่นระยะเวลาในส่วนนี้ลงไปได้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมหาศาล และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดบริการออนไลน์รูปแบบใหม่ๆ ของภาครัฐ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและภาคประชาชนได้อย่างตรงจุดด้วย   การนำ e-Signature มาใช้จะช่วยให้ระบบงานนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษอีกต่อไป เพราะเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะได้รับการรับรองทางกฎหมายเสมือนเป็นเอกสารกระดาษทั่วไป     เอกสารประเภทไหนควรใช้ e-signature แบบใด   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานในหน่วยงานภาครัฐถูกจำแนกออกเป็น 6 ชนิด ตามข้อ 10 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ…

การใช้ e-Signature ในประเทศไทย

Loading

  ปัจจุบัน กฎหมายรองรับ e-Signature ทำหน้าที่เหมือนลายเซ็นบนกระดาษ แต่เมื่อเป็นเรื่องใหม่จึงจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่า e-Signature นั้นมีหน้าที่อะไรอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถระบุได้สองประการที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ   ประการแรก ต้องระบุตัวตนเจ้าของ e-Signature ได้ เพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้   ประการที่สอง ทำให้เกิดหลักฐานการแสดงเจตนาของเจ้าของลายเซ็นเกี่ยวกับเอกสารที่ได้เซ็นไว้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การอนุมัติ เห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ การรับรองหรือยืนยันความถูกต้อง การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ และการเป็นพยานให้กับการลงลายชื่อของผู้อื่น     e-Signature ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย   กฎหมายไม่ได้ระบุให้ e-Signature มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดกว้างให้มีความครอบคลุมภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วข้างต้น และเพื่อรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานมีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ แต่เพื่อให้เป็น e-Signature ที่สมบูรณ์และได้รับการรับรองด้วยกฎหมายแล้วนั้น e-Signature จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้   1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นคือใคร…