คำถามนี้ “ดี” พี่ตอบให้: ความน่าเชื่อถือของ e-Signature และการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

กลับมาอีกครั้งกับคำถามที่ทุกคนต้องถาม ! “e-Signature” คำดี คำเดิม !!   ถึงแม้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะบอกชัดเจนว่า การเซ็นด้วยลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีผลทางกฎหมายเทียบเท่ากับลายเซ็นลงบนกระดาษ… แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ ว่ามันน่าเชื่อถือจริงๆ หรือเปล่า ? ต้องเป็นข้อมูลแบบไหน / ลายเซ็นอิเล็กทรอนิก์แบบไหนกันนะ ถึงจะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ ?? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจของทุกคนกันค่ะ   1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้หรือไม่ ? ตอบ : ได้ ตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 11 วรรคแรก ระบุไว้ว่า “ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน ในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์… ”   แต่การที่ศาลจะเชื่อถือในพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือความพยายามหลักฐาน โดยศาลอาจพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น การสร้าง การเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น ศาลอาจพิจารณาถึงความครบถ้วน…

คำถามนี้ดีพี่ตอบให้! รวมคำถามฮิต e-Signature / Digital Signature

Loading

1. “รูปลายเซ็น ตัด แปะ” ลงในไฟล์ PDF และส่งทางอีเมลถือเป็น e-Signature หรือไม่ ? ตอบ : ก่อนอื่นต้องมาทบทวนความหมายของ e-Signature กันก่อน เนื่องจาก e-Signature หรือ ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ถูกสร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น   ดังนั้น จากคำถามข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า รูปลายเซ็นที่ตัดแปะลงในไฟล์ PDF สามารถเป็น e-Signature ตามมาตรา 9 ของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งจะเรียกกันว่า “e-Signature แบบทั่วไป” นั่นเอง โดย e-signature ดังกล่าวตามกฎหมายจะต้องระบุองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้ ดังนี้ 1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นลายเซ็นคือใคร 2. สามารถระบุเจตนาตามข้อความที่เซ็นได้ ว่าเป็นการเซ็นเพื่ออะไร…

การใช้ e-Signature ในประเทศไทย

Loading

  ปัจจุบัน กฎหมายรองรับ e-Signature ทำหน้าที่เหมือนลายเซ็นบนกระดาษ แต่เมื่อเป็นเรื่องใหม่จึงจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่า e-Signature นั้นมีหน้าที่อะไรอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถระบุได้สองประการที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ   ประการแรก ต้องระบุตัวตนเจ้าของ e-Signature ได้ เพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้   ประการที่สอง ทำให้เกิดหลักฐานการแสดงเจตนาของเจ้าของลายเซ็นเกี่ยวกับเอกสารที่ได้เซ็นไว้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การอนุมัติ เห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ การรับรองหรือยืนยันความถูกต้อง การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ และการเป็นพยานให้กับการลงลายชื่อของผู้อื่น     e-Signature ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย   กฎหมายไม่ได้ระบุให้ e-Signature มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดกว้างให้มีความครอบคลุมภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วข้างต้น และเพื่อรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานมีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ แต่เพื่อให้เป็น e-Signature ที่สมบูรณ์และได้รับการรับรองด้วยกฎหมายแล้วนั้น e-Signature จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้   1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นคือใคร…

การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจหลักการความปลอดภัย

Loading

  การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจหลักการความปลอดภัยเพื่อยกระดับการทำงานที่มีประสิทธิภาพ   เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันมีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวกในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมที่เร็ว ง่าย และสะดวก เพราะมีระบบรองรับการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาอำนวยความสะดวกหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับการระบุตัวตนแบบดิจิทัลได้เลย ไม่ต้องไปสำนักงานเพื่อเซ็นสำเนายืนยันตัวตนให้เสียเวลาอีกต่อไป ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน หรือจะ work from home ในยุคโควิด-19 ก็สามารถทำธุรกรรมแบบไม่ต้องกังวลอีกต่อไป     e-Signature คืออะไร   หากตอบแบบง่ายๆ ก็คือการนำเอาคำว่า Electronic มารวมกับ Signature กลายเป็นการลงลายมือชื่อที่ยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ลายมือชื่อเท่านั้น จะเป็นตัวอักษร อักขระ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ก็ได้ สาระสำคัญคือต้องทำหน้าที่ระบุตัวตนบุคคลที่เป็นเจ้าของลายมือชื่อและเจ้าของลายมือชื่อจะต้องยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเซ็นข้อตกลงในการสมัครสินเชื่อ เป็นต้น   ข้อดีของ e-Signature ที่เหนือกว่าการเซ็นด้วยปากกาแบบดั้งเดิมก็คือ มันสามารถเซ็นที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องพึ่งพากระดาษปากกา ไม่ต้องเดินทางไปทำธุรกรรมถึงสำนักงาน หรือใช้บริการเมสเซนเจอร์ส่งเอกสารกลับไป-กลับมา แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะลดการใช้ทรัพยากร และที่สำคัญ ในปัจจุบัน e-Signature นั้นมีผลผูกพันตามกฎหมายอีกด้วย    …

เซ็นเอกสาร ‘ออนไลน์’ วันนี้ เชื่อถือได้เหมือน ‘ออฟไลน์’

Loading

  ไขข้อข้องใจ การเซ็นเอกสาร “ออนไลน์” ในปัจจุบันนั้นเชื่อถือได้เหมือน “ออฟไลน์” และลักษณะแบบไหนบ้างถึงจะเรียกว่าเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์? หลายคนคงคุ้นเคยกับการเซ็นสำเนาถูกต้องและลงลายมือบนหน้ากระดาษ โดยเฉพาะเอกสารสำคัญๆ อย่างสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารทั้งของภาครัฐเองหรือเอกชนก็ตามยังมีการลงลายมือชื่อกำกับเพื่อยืนยันตัวตนอยู่เสมอ แต่ความคุ้นเคยเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของ Digital signature ที่วันนี้มีกฎหมายมารองรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ความหมายของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นก็คือ สิ่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูป เส้นการเขียนต่างๆ รวมไปถึงรูปภาพ เสียง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นมาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถยืนยันความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นได้ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่น การเข้าใช้บริการ อินเทอร์เน็ต แบงกิ้ง หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้สามารถใช้วิธีลายนิ้วมือล็อกอิน ทดแทนการใช้พาสเวิร์ดแบบเดิมๆ ซึ่งลายนิ้วมือนี้ถือเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน คำขยายของตัวกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าจริงๆ แล้ว ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีแบบไหนบ้าง แบบที่หนึ่ง “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป” เช่น อาจเป็นการใช้รูป การกดปุ่ม ok การวางลายเซ็นลงไปในเอกสาร ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะนี้ เมื่อใดก็ตามที่เกิดการร้องเรียนเกิดขึ้น หรือมีเหตุการณ์ที่ต้องมีการยืนยัน คนที่ลงลายมือนั้น จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้ว่านี่เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตนเอง…