ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ แค่คลิกเดียวเกลี้ยงทั้งบัญชี

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ หรือเครื่องจําลองสถานีฐาน ที่แก๊งมิจฉาชีพนำมาใช้หลอกเหยื่อ แค่พลาดคลิกลิ้งก์แค่ครั้งเดียวเงินของเราก็เกลี้ยงทั้งบัญชี   เรื่องราวที่น่าหวั่นวิตกนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากมีผู้เสียหาย ตกเป็นเหยื่อจากขบวนการส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นธนาคารกสิกรไทย หลอกดูดเงินผู้เสียหาย ซึ่งขบวนการดังกล่าว กําลังแพร่ระบาดอย่างมาก ค่าความเสียหายรวมกว่า 175 ล้านบาท   โดยคนร้ายจะนําเครื่องจําลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถแล้วขับออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากรถแล่นผ่านไปทางใด ก็จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แล้วส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน กรมสรรพากร การไฟฟ้า     ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวถูกใช้ที่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้านและส่งสัญญาณในประเทศไทย ทำให้ไทยใช้มาตรการควบคุมสัญญาณให้อยู่ในรัศมีวงจำกัด มิจฉาชีพจึงต้องนำเข้าเครื่องนี้เข้ามาในประเทศโดยตรงแทน หากใครหลงเชื่อและกดลิงก์ก็จะถูกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เครื่องโทรศัพท์นั้นติดตั้งแอปพลิเคชันประเภท Mobile Banking   ล่าสุดตำรวจสามารถจับกุมตัว นายสุขสันต์ อายุ 40…

Phishing-as-a-Service มุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้งาน ‘ไมโครซอฟท์’

Loading

  Phishing-as-a-Service เป็นเซอร์วิสที่ถือได้ว่าโหดเหี้ยมมากตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้   วันนี้ผมอยากให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับ “Greatness” Phishing-as-a-Service (PhaaS) แพลตฟอร์มใหม่ที่สามารถสร้างไฟล์แนบลิงก์และทำเพจปลอมเพื่อเชื่อมต่อไปยังระบบ login ของ Microsoft 365   โดยมีการออกแบบเพจให้เหมาะกับธุรกิจของผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 มีการตรวจพบแคมเปญฟิชชิ่งหลายรายการที่ใช้ PhaaS ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือน ธ.ค. 2565 และ เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา   กลุ่มเป้าหมายหลัก ๆ คือ โรงงาน ธุรกิจด้านสุขภาพ และบริษัทด้านเทคโนโลยีในแถบสหรัฐ สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้ และแคนาดา แต่ที่น่าสนใจคือ มากกว่า 50% ของเป้าหมายทั้งหมดอยู่ที่สหรัฐ   มีการเปิดเผยจากนักวิจัยเกี่ยวกับ PhaaS ว่าต้องมีการปรับใช้และกำหนดค่า phishing kit ด้วยคีย์ API ที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ขั้นสูงของเซอร์วิสได้ง่ายขึ้น   โดยฟิชชิ่งคิตและ API จะทำงานเป็น proxy ไปยังระบบตรวจสอบความถูกต้องของ…

AIS ผสานตำรวจไซเบอร์-กสทช. ให้ข้อมูลจับกุมมิจฉาชีพหลอกลวงผ่าน SMS

Loading

    กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ร่วมกับทีมวิศวกร AIS เข้าตรวจค้นจับกุมกลุ่มขบวนการส่งข้อความสั้น (SMS) ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน หลอกดูดเงินผู้เสียหาย   นายวรุณเทพ วัชราภรณ์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า จากกรณีปัญหามิจฉาชีพละเมิดการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชน ได้สร้างความเดือดร้อน รำคาญ ไปจนถึงความเสียหายต่อทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งปัจจุบันเกิดเพิ่มขึ้นตามลำดับ   ที่ผ่านมา นอกเหนือจากการพัฒนาดิจิทัลเซอร์วิสเพื่อช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ เช่น AIS Secure Net Google Family Link ที่สามารถดูแลการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้อยู่บนความปลอดภัยจากสแปม ฟิชชิ่ง ไวรัสแล้ว เรายังได้ร่วมทำงานกับภาครัฐผ่านบริการสายด่วน 1185 AIS Spam Report Center ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา   “มิจฉาชีพมีการพลิกแพลงรูปแบบการละเมิดเพิ่มเติมขึ้น อย่างกรณีการส่ง…

ลิงก์มรณะที่แอบอ้างเป็นเบอร์ธนาคาร: ภัยร้ายที่อาจพังชีวิตคุณ

Loading

    เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียรายหนึ่งเผยว่าสูญเงินหลายแสนบาทออกไปจากบัญชีธนาคารจนเกลี้ยง หลังจากกดเข้าไปยังลิงก์ใน SMS ที่ดูเหมือนมาจากเบอร์โทรศัพท์ของธนาคาร   ความน่ากลัวอยู่ที่ลิงก์นี้ถูกส่งมาจากเบอร์โทรศัพท์เดียวกับที่ธนาคารแห่งนี้เคยส่ง SMS แจ้งเตือนการทำธุรกรรมก่อนหน้านี้     จากภาพจะเห็นได้ว่าลิงก์ปริศนาถูกส่งมาจากเบอร์โทรศัพท์ที่ธนาคารแห่งนี้ใช้แจ้งเตือนเมื่อมีความเคลื่อนไหวของบัญชี เงินเข้า-ออก   เมื่อข้อมูลนี้แพร่หลายออกไป ก็มีลูกค้าจำนวนมากของธนาคารแห่งเดียวกันออกมาส่งเสียงสะท้อนว่าก็พบ SMS ในลักษณะคล้ายกัน **ฝาก #เตือนภัย ค่าา** ทุกคนใครใช้ #Kbank ต้องแวะอ่านน้า >มิจฉาชีพมาในรูปแบบใหม่ คือส่งข้อความมาจาก Kbank ที่เป็น sms รายงานเงินเข้า – เงินออก บัญชีของเราโดยตรง ใครกดเข้าลิ้งไป จะโดนดูดเงินออกจากบัญชีหมดเลยน้า pic.twitter.com/YUnrnub8Iy — Nujeab (@nujeab_alisa) April 21, 2023   หน้าตาของ SMS ที่ส่งมายังลูกค้าเหมือนกันหมด คือเป็นการเตือนว่ามีผู้เข้าใช้งานบัญชีแอปของธนาคารดังกล่าวจากอุปกรณ์อื่น แม้ว่าผู้รับ SMS บางรายจะไม่ได้มีแอปของธนาคารด้วยซ้ำ  …

ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่

Loading

  โฆษก บช.สอท. เตือนภัยอย่าหลงกลมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดูดเงินออกจากบัญชีได้อย่างง่ายดาย   วันนี้ (4 ก.พ.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัย กรณีมิจฉาชีพส่งลิงก์ให้ประชาชน หลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันหน่วยงานของรัฐ อ้างโครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ ดังนี้   ที่ผ่านมา บช.สอท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ออกมาแจ้งเตือนประชาชนอยู่บ่อยครั้ง กรณีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยังประชาชน หลอกลวงให้เพิ่มเพื่อนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แล้วส่งลิงก์ให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของกรมสรรพากรปลอม ซึ่งแฝงมากับมัลแวร์ (Malware) หรือโปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้โทรศัพท์ของเหยื่อทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูล หรือเปิดช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อได้ รวมไปถึงหลอกลวงให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ตั้งรหัส PIN จำนวน 6 หลัก โดยประชาชนส่วนใหญ่มักจะใช้ชุดเลขรหัสเดียวกันกับรหัสแอปพลิเคชันของธนาคาร ทำให้มิจฉาชีพนำรหัสดังกล่าวไปใช้โอนเงินออกจากบัญชีของเหยื่อได้อย่างง่ายดาย   ทั้งนี้มิจฉาชีพมักจะอ้างว่าเพื่อเป็นการตรวจสอบรายได้ของท่าน หรือเป็นการแจ้งเตือนให้ชำระภาษี หรือให้ทำการยกเลิกเสียภาษีจากโครงการของรัฐบาล หรืออ้างว่าเป็นการขอใช้โครงการคนละครึ่งเฟสใหม่ หรืออ้างว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้เสียภาษีย้อนหลังได้…

มัลแวร์เล่นใหญ่ ปลอมเป็นโปรแกรมยอดฮิต หลอกคนกดดูลิงก์ปลอม

Loading

  ตอนนี้มีการตรวจพบแคมเปญการโจมตีขนาดใหญ่ที่ใช้ชื่อโดเมนปลอมมากถึง 1,300 โดเมน ซึ่งจะหลอกตัวเองเป็นเว็บไซต์ที่ให้โหลดโปรแกรมยอดนิมยม อย่าง AnyDesk ,MSI Afterburner, 7-ZIP, Blender, Dashlane, Slack, VLC, OBS, Audacity , โปรแกรมขายสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งโปรแกรมอื่น ๆ   สำหรับ AnyDesk เป็นโปรแกรมที่ถูกปลอมโดเมนเนมเยอะมากที่สุด เป็นโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกลที่นิยมใช้ใน Windows, Linux และ macOS ซึ่งใช้โดยผู้คนนับล้านทั่วโลกและส่วนใหญ่จะเป็นแผนกไอทีของแต่ละบริษัทครับ   เมื่อดาวน์โหลดไปติดตั้งในเครื่อง แทนที่จะเป็นโปรแกรมที่เราโหลดมา จะเป็นการติดตั้งมัลแวร์ลงในเครื่องแทน จากนั้นมัลแวร์จะทำการขโมยประวัติเบราว์เซอร์ของเหยื่อ ขโมยข้อมูลประจำตัวของบัญชี รหัสผ่านที่บันทึกไว้ ข้อมูลกระเป๋าเงินดิจิตอล ข้อมูลธนาคาร และข้อมูลสำคัญอื่นๆ จากนั้นข้อมูลนี้จะถูกส่งกลับไปยังแฮกเกอร์ ซึ่งสามารถใช้ข้อมูลนี้ไปใช้สร้างแคมเปญการโจมตีอื่น ๆ หรือขายในตลาดมืดครับ   จริง ๆ มีหลายโดเมนที่ถูกปิดไปแล้ว แต่บางโดเมนยังเปิดใช้งานอยู่ เช่นโปรแกรม Audacity ซึ่งยังมีลิงก์ปลอมให้โหลด แถมยังซื้อโฆษณา Google Ads…