‘ข่าวปลอม’ Fake news พุ่งไม่หยุด!! ประเด็น ‘สุขภาพ-โควิด’ บิดเบือนสูงสุด

Loading

    “ดีอีเอส”จับตา“ข่าวปลอม”สุขภาพพุ่งไม่หยุด ทั้งเส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด   เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบ ข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ…

บูรณาการงานโฆษก ต้านข่าวปลอม

Loading

    ทำเนียบรัฐบาล 10 เม.ย.-โฆษกรัฐบาลประชุมคณะกรรมการโฆษกกระทรวง ย้ำกรอบแนวทางหลักการประชาสัมพันธ์ ให้ความสำคัญการบริหารประเด็นข้อมูลข่าวสาร บูรณาการการทำงาน ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อประโยชน์ประชาชน   นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโฆษกกระทรวง ครั้งที่ 1/2566 โดยมีโฆษกกระทรวง ผู้แทนและตัวแทนจาก 20 กระทรวงและหน่วยงาน เข้าร่วมการประชุม โดยนายอนุชา แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงแผนปฏิบัติการด้านการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางหลักในการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ เพื่อกำหนดเรื่องสื่อสารที่สำคัญให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างถูกต้อง แม่นยำ รวมทั้งใช้ในการบริหารประเด็นข้อมูลข่าวสารและต่อต้านข่าวปลอม (Fake News) โดยสามารถโหลดแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้จากเว็บไซต์ของกรมประชาสัมพันธ์ รวมทั้งแจ้งต่อที่ประชุมถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4 (25 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2565) ซึ่งยังได้จัดพิมพ์รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลฯ ในรูปแบบ e-book อีกด้วย   “ประเด็นที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ การปฏิบัติการสารสนเทศต่อต้านข่าวปลอม (Fake…

เผยขั้นตอนการตรวจสอบ “หมายเรียก” จริงหรือของปลอม เช็คยังไง

Loading

    เผยขั้นตอนการตรวจสอบ “หมายเรียก” หมายที่ท่านได้มานั้นเป็นของจริงหรือของปลอม เช็ค 5 ข้อง่ายๆ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมีคำตอบ   จากกรณีที่ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ออกมาเปิดเผยว่า ถ้าคุณต้องเจอ “หมายเรียก” แต่ไม่แน่ใจว่าจริงหรือหมายเรียกปลอม วันนี้ศูนย์ฯ มีขั้นตอนการตรวจสอบว่าหมายเรียกที่ท่านได้รับเป็นของจริงหรือของปลอม เช็ค 5 ข้อง่ายๆ ดังต่อไปนี้   1. ตั้งสติ ไม่ต้องตกใจ เพราะหมายเรียกนั้นเป็นแค่การเรียกท่านไปพบพนักงานสอบสวน ยังไม่ได้หมายความว่าท่านเป็นผู้ต้องหา (ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหา) แต่ถึงแม้ว่าท่านจะได้รับหมายเรียกในฐานะผู้ต้องหา ท่านก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธข้อกล่าวหาได้ เมื่อไปพบพนักงานสอบสวน   2. ตรวจสอบหมายเรียกที่อยู่ในมือท่านว่ามีรายละเอียดครบถ้วนตามนี้หรือไม่   – สถานที่ออกหมาย – วันที่ที่ออกหมาย – ชื่อและที่อยู่ของพนักงานสอบสวนที่ออกหมาย – สาเหตุที่เรียกไปพบ – สถานที่และวันเวลาที่นัดหมายให้ไปพบ – ลายมือชื่อพร้อมตำแหน่งของพนักงานสอบสวน     3. เพื่อให้มั่นใจว่า พนักงานสอบสวนที่อยู่ในหมายเรียกนั้นเป็นตำรวจจริง ให้ท่านติดต่อไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เช่น…

ไขข้อสงสัย รับสายมิจฉาชีพ คุยเกิน 3 นาที โดนแฮ็กข้อมูลจริงไหม

Loading

    ไขข้อสงสัย หลังมีคลิปเสียงมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคาร หากคุยเกิน 3 นาที จะโดนแฮ็กข้อมูลเพื่อไปเปิดบัญชี จริงหรือไม่   วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ Anti-Fake News Center Thailand โพสต์ข้อความว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่องมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารแห่งหนึ่ง โทรหาประชาชน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และธนาคารกสิกรไทย พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   กรณีที่ปรากฏคลิปเสียงมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคาร โดยอ้างว่าหากผู้เสียหายคุยกับมิจฉาชีพ เกิน 3 นาที จะโดนแฮ็กข้อมูล เพื่อเอาไปทำบัญชีม้านั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และธนาคารกสิกรไทย ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบันมีการหลอกลวงแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารพูดคุยกับผู้เสียหายผ่านทาง Call Center ซึ่งหากผู้ใช้งานหลงเชื่อหรือให้ข้อมูลทางธุรกรรมด้านการเงินกับมิจฉาชีพผ่านทางโทรศัพท์โดยในระยะเวลา 3 นาที อาจจะเป็นการพูดคุยข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้ผู้ใช้งานคล้อยตามแต่ไม่สามารถแฮ็กข้อมูลได้ เพียงแค่หลอกเอาข้อมูลหรือให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรม ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ อีกทั้งทางธนาคารกสิกรก็ไม่มีนโยบายใช้เบอร์ส่วนตัวโทรหาประชาชนก่อน และสำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกสิกรไทย ธนาคารจะต้องมีการยืนยันข้อมูลและพิสูจน์ตัวตนจากผู้เปิดบัญชีโดยตรง หากมีบุคคลอื่นทราบข้อมูลเจ้าของบัญชีแต่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง จะไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารได้…

ข่าวปลอม! กรมการจัดหางาน รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services

Loading

  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ตรวจสอบกรณีที่มีการระบุว่า กรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services เป็นข้อมูลเท็จ   เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย Anti-Fake News Center Thailand ระบุว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏเกี่ยวกับประเด็นเรื่องกรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   จากกรณีที่มีผู้โพสต์ข้อมูลโดยระบุว่า กรมการจัดหางานสนับสนุนคนว่างงานให้มีงานทำ รับสมัครงานผ่านเพจ GRS Global Services ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าภาพและข้อความที่มีการเผยแพร่ทางเพจ Facebook ดังกล่าว เป็นการใช้ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงแรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อความดังกล่าวไม่ได้มาจากส่วนราชการของกระทรวงแรงงาน หากพบเห็นข้อความดังกล่าวโปรดอย่าหลงเชื่อ เพราะมิจฉาชีพอาจมีการขอข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในทางมิชอบ   ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารของกรมการจัดหางานได้ที่เว็บไซต์กรมการจัด doe.go.th และผู้ที่ต้องการมีงานทำ สามารถใช้บริการผ่านเว็บไชต์ ไทยมีงานทำ.doe.go.th หรือทาง…

“ดีอีเอส” ปั้นเครือข่ายช่วยงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม

Loading

  ดีอีเอสเปิดเวทีกิจกรรมสร้างการรับรู้ รับมือกับข่าวปลอม ภาคตะวันออก โฟกัสการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม สร้างเครือข่ายคนทำงานช่วยขับเคลื่อนภารกิจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม   นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส ได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ภาคตะวันออก ซึ่งกิจกรรมนี้ ได้มีการจัดต่อเนื่องทุกปี ครอบคลุม 4 ภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภาคประชาสังคม และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานขับเคลื่อนการตรวจสอบเฝ้าระวังการเผยแพร่ข้อมูลเนื้อหา และข่าวสารบิดเบือนที่เผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต   “จากบริบทในปัจจุบัน ที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโซเชียลอย่างกว้างขวาง ทำให้บางกลุ่มนำไปเป็นช่องทางบิดเบือนและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นข่าวปลอม หรือทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน การทำงานร่วมกับเครือข่ายจึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยเป็นหูเป็นตา และหากหากพบว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น พนันออนไลน์ ลามกอนาจาร หมิ่นสถาบัน ละเมิดลิขสิทธิ์ และเข้าข่ายผิดกฎหมายอาหารและยา กระทรวงดีอีเอสจะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายเป็นผู้ยื่นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปิดกั้นหรือลบข้อมูล”   สำหรับประชาชน หากพบเบาะแสหรือปัญหาเกี่ยวกับการหลอกลวงออนไลน์ และภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถแจ้งมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 1212 หรือสายด่วน 1441 ของตำรวจไซเบอร์ และสามารถแจ้งความออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี www.thaipoliceonline.com   สำหรับกิจกรรมสร้างการรับรู้ฯ ในปีนี้…