“สกมช.”เร่งตั้ง“เนชั่นแนล เซิร์ต”รับมือภัยไซเบอร์ปีหน้า

Loading

  สกมช. เร่งเพิ่มทักษะด้านไซเบอร์ให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พร้อมเร่งตั้งเนชั่นแนล เซิร์ต ให้เสร็จในปีหน้า ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ เมื่อเกิดเหตุจะสามารถตอบสนอง แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (เลขาธิการ กมช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้มีผลกระทบในวงกว้างทั่วโลก ทาง สกมช. ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องนี้ จึงมีแผนสร้างความตระหนักทั้งในส่วนของประชาชนและองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประเทศให้มีความพร้อมในการรับมือ โดยล่าสุดได้จัดการฝึกอบรมเปิดการฝึกเพื่อทดสอบขีดความสามารถทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ โดยมีองค์งานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมีเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในบุคลากรด้านนี้ของแต่ละหน่วยงาน มีความพร้อมในการรับมือภัยไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานในระดับประเทศ “โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศต้องมีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงิน สาธารณสุข ไฟฟ้า คมนาคม ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับแผนของ สกมช.ที่ได้มีเป้าหมาย พัฒนาบุคลากร ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่ต่ำกว่า 2,250 คน ในปีหน้า” พลเอก ปรัชญา กล่าวต่อว่า ในปี 65 สกมช.พยายามจะเดินหน้าพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องหลังได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 64 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรภายในด้วยการฝึกร่วมกับหน่วยงานต่างๆในแต่ละกลุ่ม รวมถึงหน่วยงานต่างระดับชาติ และจะเร่งจัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนชั่นแนล…

‘สกมช.’ จับมือ ‘เทรนด์ไมโคร’ ปั้นนักรบไซเบอร์อุดช่องโหว่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ

Loading

  เมื่อมีการใช้งานออนไลน์มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายผ่านอุปกรณ์ของตนเอง จึงกลายเป็นการเพิ่มโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือ สร้างภัยหลอกลวงต่างๆ ถึงผู้คนได้ง่าย ดังนั้นคนทุกกลุ่มจึงจำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันภัยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จึงถูกตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทว่า ปัญหาที่สำนักงานและประเทศไทยกำลังเผชิญคือบุคลากรที่จะเข้ามารับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์นั้นไม่เพียงพอ   ***ไทยขาดบุคลากรป้องกันภัยไซเบอร์หลักแสนคน ‘พล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์’ เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า เหตุผลที่บุคลากรไซเบอร์ขาดแคลนเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิครอบด้าน ดังนั้น กว่าจะสร้างบุคคลากรที่ทำงานด้านนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องใช้เวลานานและต้องมีการวางแผนระยะยาวในการสร้างบุคลากรเพื่อมาสนับสนุนการทำงานด้านนี้ของประเทศได้ ขณะที่ สกมช.เป็นสำนักงานที่มีอัตราโครงสร้างพนักงาน 480 คน แต่เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณและการสนับสนุนด้านบุคลากร ทำให้ในปัจจุบันบุคลากรของ สกมช.มีเพียง 40 คนโดยประมาณ บวกกับลูกจ้างอีกประมาณ 20 คน ทำให้สำนักงานประสบปัญหาด้านการดำเนินงาน สกมช.จึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากพันธมิตรต่างๆ ที่จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ อย่างไรก็ตาม การโจมตีทางไซเบอร์มีการขยายตัวมากขึ้นในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้การใช้งานระบบดิจิทัลมากขึ้น ทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีมองเห็นโอกาสในการคุกคามความปลอดภัยตามช่องทางเหล่านี้กันมากขึ้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ด้านซิเคียวริตี หรือความมั่นคงปลอดภัยตามหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ กันอย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องเร่งเสริมสร้างความรู้และยกระดับทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญ และมีแนวทางและกระบวนการในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ สำนักงานจึงได้มีการหารือกับบริษัท เทรนด์ไมโคร ประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับโลก…