3 มุมมองความท้าทาย ’เอไอ‘ บนจุดตัดด้านจริยธรรม และธรรมาภิบาล

Loading

  การบังคับใช้กฎหมายด้านเอไอเพื่อให้มีจริยธรรม และธรรมาภิบาลเป็นความท้าทายใหม่ที่เข้ามาในทุกอุตสาหกรรม และการกำกับดูแลของภาครัฐว่าจะมีทิศทางอย่างไร เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้รอบด้านทุกมิติ   ภายในงานเสวนา: AI Ethic: Trust & Transparency จัดโดย “กรุงเทพธุรกิจ”   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช.กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากของการใช้เอไอคือ สังคมมีความเป็นห่วงมากเกินไป ว่าเป็นดาบสองคม แต่ไม่รู้จักว่าจะใช้งานทางบวกอย่างไร และระวังเรื่องทางลบอย่างไร ด้านบวกหากไม่ใช่ ก็เปรียบเสมือนดาบทื่อ กลายเป็นไม่นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เลย   ส่วนเรื่องการออกกฎหมายนั้น เชื่อว่า เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และ เป็นเรื่องของการบังคับใช้มาสเตอร์แพลน ที่ย่อมต้องตามมากับพัฒนาการ การใช้เอไอนั่นคือ การใช้งานอย่างมีจริยธรรม และมีกฎหมาย ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ควบคู่กับการพัฒนาคนให้ใช้งานอย่างมีจริยธรรม ต่อไปเมื่อมีการนำเอไอมาใช้ จะเชื่อได้อย่างไร ถ้าเอไอตอบคำถามผิด จะรู้หรือมีกลไกในการตรวจสอบอย่างไร เพราะการตรวจเอไอไม่ได้ง่ายเหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทดสอบออกมาได้ว่าโปรแกรมนี้ถูกหรือไม่   “เอไอขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ข้อมูลที่หลากหลายคำตอบที่ได้ จะดีที่สุดกับองค์กรของท่านหรือไม่ หรือดีในแง่ของจริยธรรมหรือไม่ ทั้งนี้ ในระหว่างที่กฎหมายกำลังขับเคลื่อน เราต้องตอบตัวเองให้ได้ ว่าจะมีการจำกัดดูแลกลไกของมันได้อย่างไร”…

PDPC เรียก กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงข้อมูลรั่ว เคส 2.2 ล้านรายชื่อหลุดในดาร์กเว็บ

Loading

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ระบุว่า PDPC เรียกกระทรวงสาธารณสุขเข้าชี้แจงด่วน กรณีแฮกเกอร์ประกาศขายข้อมูลหน่วยงานสาธารณสุข 2.2 ล้านรายชื่อ โดย PDPC ได้ให้ศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (PDPC Eagle Eye) หรือสำนักตรวจสอบและกำกับดูแล ร่วมกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

แฮ็กเกอร์ขายข้อมูล 2.2 ล้านรายชื่อ สธ.ยืนยันไม่ใช่ข้อมูลด้านสุขภาพที่หลุดจากกระทรวง

Loading

กระทรวงสาธารณสุข แจงข่าวแฮ็กเกอร์ประกาศขายข้อมูลหน่วยงานสาธารณสุข 2.2 ล้านรายชื่อ ตรวจสอบพบเป็นข้อมูลที่ใช้ทำธุรกรรมทั่วไป ไม่ใช่ข้อมูลด้านสุขภาพที่แสดงว่ามาจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมกำชับทุกโรงพยาบาลปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สหรัฐฯ ประกาศค่าหัว หัวหน้ากลุ่มแฮ็กเกอร์ไวรัสเรียกค่าไถ่ Hive เกือบ 40 ล้าน

Loading

สหรัฐฯ เปิดศึก จ่ายค่าให้ใครก็ตามที่ส่งเบาะแสหัวหน้ากลุ่มทำ ไวรัสเรียกค่าไถ่ (ransomware) ชื่อ Hive เกือบ 40 ล้านบาท หลังกลุ่มนี้โจมตีในกว่า 80 ประเทศ เคราะห์ดีได้ FBI ช่วยป้องกันการถูกไถเงินไปได้กว่า 4.8 พันล้าน

‘วราวุธ’ขอโทษผู้สูงอายุ-ปชช. หลังข้อมูลโดนแฮ็ก เร่งสาวต้นตอคนผิด-เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

นายวราวุธ​ ศิลปอาชา รมว.พม. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีแฮ็กเกอร์ต่างประเทศประกาศขายข้อมูลในเว็บไซต์ อ้างเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้จากกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นำใช้ในทางมิชอบ

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท