วิเคราะห์คำสั่งยกระดับนิวเคลียร์ของปูติน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงจะเกิด ‘สงครามนุก’ หรือไม่

Loading

(ภาพจากแฟ้ม) ยานเครื่องยิงขีปนาวุธทิ้งตัวพิสัยข้ามทวีป (ICBM) ของรัสเซีย ขณะออกมาร่วมสวนสนามของกองทัพ ในวาระครบรอบ 71 ปีชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จตุรัสแดงในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2016 “ปูติน” ขู่เป็นนัยจะทำให้สงครามยูเครนกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ เป็นการบีบให้ “ไบเดน”ต้องชั่งใจกับทางเลือกต่างๆ ซึ่งรวมถึงควรที่จะยกระดับการเตรียมพร้อมของกองกำลังนิวเคลียร์ของอเมริกาบ้างหรือไม่ จุดเปลี่ยนของเรื่องนี้เกิดขึ้นทั้งที่เมื่อไม่ถึงปีที่แล้ โจ ไบเดน และวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีอเมริกาและรัสเซียตามลำดับ เพิ่งออกคำแถลงในการประชุมสุดยอดที่เจนีวาที่ดูเหมือนตีความได้ว่า ทั้งคู่เห็นตรงกันว่า สงครามนิวเคลียร์คืออนุสรณ์ของสงครามเย็นเท่านั้น เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) ปูตินสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงดำเนินการเพื่อให้กองกำลังด้านนิวเคลียร์ของรัสเซีย เข้าสู่ “กฎเกณฑ์พิเศษของการปฏิบัติหน้าที่สู้รบ (special regime of combat duty) อย่างไรก็ดี ไม่มีความชัดเจนว่า คำสั่งนี้ทำให้สถานะกองกำลังนิวเคลียร์ของรัสเซียต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ปัจจุบัน ขีปนาวุธข้ามทวีป (ไอซีบีเอ็ม) ของรัสเซียอยู่ในโหมดเตรียมพร้อมระดับสูงตลอดเวลาเช่นเดียวกับอเมริกา อีกทั้งยังเชื่อว่า ขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่ติดตั้งในเรือดำน้ำทั้งของมอสโกและวอชิงตันอยู่ในโหมดเตรียมพร้อมระดับสูงตลอดเวลาเช่นเดียวกัน ปูตินบ่งชี้ว่า การสั่งเตรียมพร้อมครั้งนี้ ก็เพื่อตอบโต้มาตรการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจของอเมริกาและชาติตะวันตกอื่นๆ ที่ประกาศออกมาในช่วงวันสองวันนี้เพื่อลงโทษรัสเซียสำหรับการบุกยูเครน รวมทั้งถ้อยแถลงก้าวร้าวต่อรัสเซียที่ปูตินไม่ได้อธิบายเพิ่มเติม คำประกาศของปูตินคล้ายๆ…