นักวิเคราะห์ชี้พวกบริษัทผลิตอาวุธสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์ระยะยาวจากสงครามยูเครน

Loading

บรรดาบริษัทผู้ผลิตอาวุธสหรัฐฯ ไม่ได้ทำเงินโดยตรงจากอาวุธหลายพันชิ้นที่ส่งไปยังยูเครน ทั้งขีปนาวุธ โดรน และอาวุธอื่นๆ แต่พวกเขาเตรียมกอบโกยผลกำไรในระยะยาว ผ่านการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ประเทศต่างๆ ที่กระตือรือร้นเสริมแสนยานุภาพป้องกันตนเองรับมือรัสเซีย เหมือนกับประเทศตะวันตกอื่นๆ สหรัฐฯ เปิดคลังแสงของตนเอง ส่งมอบอาวุธต่างๆ แก่ยูเครน ยกตัวอย่างเช่น จรวดที่ยิงด้วยการประทับบ่า สติงเจอร์และเจฟลิน อาวุธเหล่านี้เรย์เธียน เทคโนโลยีส์ และล็อคฮีด-มาร์ติน ที่ได้จ่ายเงินกันมานานแล้ว ดังนั้น ผลประกอบการไตรมาสแรกของบริษัทเหล่านี้ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า จึงยังไม่น่าเติบโตขึ้นอย่างโดดเด่น อันเนื่องจากการเร่งรีบส่งมอบอาวุธแก่ยูเครน เพื่อนำไปต่อสู้สกัดการรุกรานของยูเครน อย่างไรก็ตาม ในอนาคตคลังแสงของกองทัพสหรัฐฯ จำเป็นต้องเติมเต็มเหล่าอาวุธที่ขาดหายไปจากการส่งมอบให้แก่เคียฟ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานโดยอ้างโฆษกกระทวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่า เพนตากอนมีแผนใช้เงิน 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจุดประสงค์นี้ ในร่างงบประมาณฉบับหนึ่งที่ผ่านความเห็นชอบเมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขีปนาวุธต่อต้านรถถังเจฟลิน ผลิตภายใต้กิจการร่วมค้าระหว่างล็อคฮีด กับเรย์เธียน ส่วนขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานสติงเจอร์ของเรย์เธียน เคยถูกระงับการผลิตก่อนหน้านี้ จนกระทั่งเพนตากอนมีคำสั่งซื้ออาวุธดังกล่าว 340 ล้านดอลลาร์ในช่วงฤดูร้อนปีก่อน “เรากำลังสำรวจทางเลือกต่างๆ ในการเติมเต็มคลังแสงของสหรัฐฯ ให้เร็วขึ้น และทดแทนคลังแสงที่หมดลงของพันธมิตรและคู่หู” โฆษกกล่าว “เราจะต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูฐานอุตสาหกรรม เพื่อให้กลับมาผลิตได้อีกรอบ” “ถ้ามีการส่งมอบสติงเจอร์ 1,000 ลูก และเจฟลิน 1,000…

สงครามยูเครนกับตลาดซื้อขายอาวุธ

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ **************************************** สงครามและการสู้รบที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นเรื่องความขัดแย้งในผลประโยชน์และความมั่นคงของประเทศคู่กรณีที่ไม่สามารถตกลงทางการทูตได้ จึงนำไปสู่การสู้รบ เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กำลังสู้รบกันอยู่ในขณะนี้ คำถามคือ อุตสาหกรรมและตลาดการซื้อขายอาวุธเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามครั้งนี้หรือไม่ อย่างไร ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ รวมถึงสงครามในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลกับประเทศในกลุ่มอาหรับ สหรัฐฯ กับอิรัก ซีเรีย ปากีสถาน ส่วนหนึ่งที่เปิดเผยคือความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ตกลงกันทางการทูตไม่ได้ จึงนำไปสู่สงคราม แต่ตลาดการซื้อขายอาวุธสงครามก็คึกคักและทำเงินได้มากทีเดียว แม้ว่า ประเทศต่างๆ ต้องมีการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยตามห้วงเวลา แต่นั่นก็ไม่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธและตลาดซื้อขายอาวุธคึกคักและทำกำไรให้เท่ากับเมื่อเกิดการสู้รบหรือสงคราม ยิ่งสงครามขยายใหญ่โต ความสูญเสียอาวุธก็เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต้องมีการทดแทนและสำรอง อุตสาหกรรมอาวุธจะทำกำไรได้มากเมื่อมีความตึงเครียดระหว่างประเทศ เกิดการเผชิญหน้าทางทหารและการสู้รบ สงคราม เพราะคู่กรณีต้องใช้อาวุธที่ทันสมัยเหนือคู่สงคราม ประเทศผู้ผลิตอาวุธขายจะทำกำไรได้มาก หุ้นสูงขึ้น คนถือหุ้นได้กำไรชนิดนับเงินกันไม่ไหว สถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในสวีเดน (SIPRI) รายงานเมื่อปี 2564 ว่า ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (2559-2563) ตลาดซื้อขายอาวุธขยายมากที่สุดหลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ส่งออกอาวุธมากที่สุดถึงร้อยละ 47 ในตลาดซื้อขายอาวุธของโลก ฝรั่งเศสส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 และเยอรมนีส่งออกเพิ่มร้อยละ 21 รัสเซียและจีนก็ส่งออกอาวุธได้เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยแย่งตลาดสหรัฐฯ มาได้ในส่วนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลางเป็นตลาดอาวุธที่ใหญ่ที่สุด เพราะมีการสู้รบตลอดมาโดยพื้นฐานระหว่างอิสราเอลกับประเทศอาหรับเพื่อนบ้าน…