ไฟไหม้ สนง.บรรเทาทุกข์ฯ สภากาชาดไทย ไร้ผู้บาดเจ็บ
เมื่อเวลา 23.40 น. วันที่ 15 มิ.ย.67 เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
เมื่อเวลา 23.40 น. วันที่ 15 มิ.ย.67 เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
3 หน่วยงานลงนามร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยการสแกนม่านตาของบุคคลที่ไม่มีเอกสารประจำตัว ประชากรข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อการสาธารณสุขและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคได้เรียนรู้และเห็นการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องภายใต้ภารกิจการป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีเอกสารระบุตัวตน ปัญหาที่พบคือ มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่ปรากกฏในเอกสารประวัติการได้รับวัคซีน อันจะส่งผลต่อความครอบคุลมและการดูแลสุขภาพของกลุ่มประชากรดังกล่าว ปีที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค ร่วมกับ สภากาชาดไทย และ เนคเทค สวทช. จัดทำโครงการนำเทคโนโลยีการระบุตัวบุคคลด้วยใบหน้าในกลุ่มประชากรข้ามชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรข้ามชาติอาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น จังหวัดสมุทรสาคร หรือกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การระบุตัวตนของบุคคลนั้นๆ สามารถรับบริการสุขภาพที่เหมาะสมเป็นไปตามคำแนะนำทางการแพทย์ และทำให้ประวัติการรับวัคซีนมีความสมบูรณ์มากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่นำร่องใช้เทคโนโลยีระบุตัวบุคคลดังกล่าว ความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นการขยายผลการดำเนินงานจากเดิม โดยมุ่งพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีการสแกนม่านตาที่มีความเที่ยงตรงมากขึ้น กรมควบคุมโรคและหน่วยงานภาคีเครือข่ายจะดำเนินการระยะแรก ใน 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์…
Techhub insight พาไปดูการใช้งานอุปกรณ์ IOT ที่ช่วยเก็บข้อมูล แจ้งเตือนน้ำท่วม และฝุ่นมลพิษได้จริง ในพื้นที่จริงป่าต้นน้ำ ที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เห็นความสำเร็จของโทรมาตร ระบบติดตามสภาพอากาศอัตโนมัติ จึงได้เริ่มต้นทำโครงการนำร่อง ติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อให้ทราบสถานการณ์และวางแผนจัดการน้ำและอากาศได้ดีขึ้น ข้อมูลหลัก ๆ ที่ได้จากการคำนวนของโทรมาตรคือปริมาณน้ำจากป่าต้นน้ำ ความเร็วของน้ำ ปริมาณน้ำฝน ปริมาณฝุ่น PM 2.5 และค่าอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่นำไปวางแผนเตือนภัยแจ้งเตือนประชาชนโดยไม่ต้องอาศัยกำลังคนจำนวนมากในการดูแล ปัญญารัตน์ ปัญญาเกียรติสิริ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ยอมรับว่า ในช่วงที่ผ่านมามลพิษทางอากาศเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของภาคเหนือ เพราะปัจจัยหลาย ๆ อย่างหมอกควันที่เกิดจากการเผาเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นทีทางการเกษตร และความกดอากาศต่ำที่มาจากประเทศทางใกล้เคียง ทำให้ฝุ่นละอองถูกกดอยู่ในพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ทำให้หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาจะสะสมยาวนานมาก สิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ช่วยจับ PM 2.5 โดยข้อมูลที่ได้จากโทรมาตรจะถูกนำไปใช้ช่วยวางแผนจัดการในพื้นที่ไหน กำหนดช่วงเวลาเผาในโซนชุมชน วางแผนเตือนภัยแจ้งเตือนประชาชนหากปริมาณน้ำฝนที่สูงเกิน…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว